เว้นไว้ให้ความพัลวัน

Leaving Spaces for the Unruly

Written By

วิรุฬห์วรรณ พิทักษ์ทอง | Wirunwan V. Pitaktong

Translated by

วิรุฬห์วรรณ พิทักษ์ทอง | Wirunwan V. Pitaktong

“เอามือทาบหน้าเลยได้มั้ย?​ แล้วกดลงไป…แบบหนักๆ”

ฉันหลงทางอยู่ในห้องสมุดคำศัพท์แห่งร่างกายในขณะที่ฉันพยายามสรรหาคำมาอธิบายให้ชายตรงหน้าที่แทบจะไม่รู้จักกันว่า ‘ฉันอยากถูกสัมผัสอย่างไร?’

เมื่อได้ยินคำสั่งของฉันแล้ว เขาก็ยกฝ่ามือทั้งสองขึ้นอย่างลังเลแล้วกดหน้าฉันใหม่อีกครั้งด้วยแรงที่มากขึ้น รอบนี้เขาฟังคำสั่งฉันอย่างดี เขากดหน้าฉันอย่างหนักหน่วงจนฉันต้องฝืนไว้ไม่ให้ล้ม เราทั้งสองเข้าร่วมเวิร์กชอปที่เรียกว่า ‘การปฏิบัติโซมาติก’ หรือ ‘Somatic practice’ ที่ตัวฉันเองก็ไม่เคยได้ยินหรือรู้มาก่อนว่าคืออะไร แต่ที่รู้ ๆ คือที่นั่นเองฉันก็นั่งประจันหน้ากับชายเกือบแปลกหน้าคนนี้พร้อมมือชุ่มเหงื่อของเขาทาบบนหน้าเปียกๆ ของฉัน

ในช่วงแรกผู้ดำเนินเวิร์กชอปให้เราพูดอธิบายว่าอยากถูกสัมผัสอย่างไร และช่วงต่อมาก็ให้ใช้เฉพาะร่างกายใบ้ความต้องการนั้นๆ ตลอดเวิร์กชอปจึงประกอบไปด้วยการสัมผัสแบบไม่ค่อยเต็มใจและสีหน้าที่ทั้งงงและฉงน ตอนแรกฉันระวังตัวมากเพราะฉันเคยได้ยินและเรียนรู้มาว่าตามทฤษฎีแล้วสัมผัสสามารถ ‘กระตุก’ รื้อฟื้นความทรงจำเกี่ยวกับการขัดขืนทางร่างกายที่รุนแรงที่ฉันประสบมา พูดตรง ๆ คือฉันกลัวว่าฉันจะนึกถึงตอนที่ฉันถูกข่มขืน ฉันพูดคำนี้ออกมากได้อย่างเฉยเมยไม่ใช่เพราะมันเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่เพราะเมื่อเวลาผ่านไปฉันก็ย่อยและตกตะกอนไอ้ก้อนไหมที่พันกันยุ่งเหยิงนี้แล้วแปะป้ายให้มันว่านี่สินะคือการถูกข่มขืน คำคำนี้กลายเป็นเพียงคำอธิบายเหตุการณ์ที่ครั้งหนึ่งเคยฝังใจและทำร้าย แต่ตอนนี้ฉันมองเจ้าก้อนนี้อยู่ห่างๆ มันก็ยังยุ่งเหยิงเหมือนเดิมแต่สำหรับฉันมันช่างห่างเหินและตายด้านไปแล้วในความรู้สึก

‘ฉันอยากถูกสัมผัสอย่างไร?’ คำถามนี้ดังก้องอยู่ในหูเพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีใครแม้กระทั่งแฟนเก่าที่จะถามคำถามนี้ แต่คงเพราะไม่เคยถูกถามนี่แหละเลยสามารถตอบคำถามตรงกันข้ามได้ว่าฉันไม่อยากถูกสัมผัสอย่างไร ฉันยังจำได้ว่าในขณะที่สายตาของฉันไล่ตามเส้นขอบแผนที่ที่แขวนอยู่บนผนังข้างหลังเขา ฉันก็เฝ้ามองกายหยาบของตัวเองและของเขาสัมพันธ์กันใต้ชื่อที่เขาประกาศว่าคือความรัก ฉันจำได้เพียงริมฝีปากที่ไม่ยอมพรากออกจากกันและฉันก็ได้แต่ยืนมองและมอง ถ้าสัมผัสไม่เคยก่อให้เกิดความพอใจ คำถามที่ถามคงไม่ใช่ ‘ฉันอยากถูกสัมผัสอย่างไร?’ แต่เป็น ‘ฉันจะชอบ/ฉันจะสามารถชอบการถูกสัมผัสได้อย่างไร?’

ฉันคุ้นชินกับการเฝ้ามองร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้า มันเป็นเพียงภาชนะใส่อวัยวะที่มีจุดประสงค์ในการดำรงอยู่และบรรจุแก่นนามธรรมอะไรบางอย่างที่นักปรัชญาเขียนหนังสือถึงอยู่ไม่รู้จบ ฉันตอบคำถามที่ว่าไม่ได้คงเพราะนี่เป็นครั้งแรกที่ฉันต้องมองร่างกายนี้มากไปกว่าก้อนเนื้อหนัง ขณะที่เวิร์กชอปดำเนินต่อไปด้วยบทสนทนา ฉันก็แอบเกลี่ย หยิก บิด จับ ขยำ ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ลองดูซิว่าแบบไหนที่ชอบแต่ก็ยังไม่รู้ จำไม่ค่อยได้แล้วตอนนั้นพูดว่าอะไร จำได้แค่ว่ารู้สึกปกติดีแล้วรู้ตัวอีกทีร่างกายก็สั่นขึ้นมาแล้วน้ำตาก็ไหล ฉันหายใจเข้าลึกๆ เพื่อควบคุมมันแต่ก็ยังสะอื้นไม่หยุด ไหล่ก็โยกเท้าก็เกร็ง เหมือนที่ฉันไม่รู้จะตอบว่าอยากถูกสัมผัสอย่างไร ในตอนนั้นเองฉันก็ไม่รู้ว่าต้องหยุดร่างกายยังไง ในชั่วขณะนั้นมันควบคุมไม่ได้ มันเกเร มันพัลวัน

ภาพโดย วิรุฬห์วรรณ พิทักษ์ทอง

***

หลายเดือนต่อมา ฉันบินไปหาแฟนเก่าคนนั้นที่เป็นทั้งคนรักเก่าและ ‘ผู้กระทำ’ นี่เป็นการพบกันครั้งแรกหลังจากที่ปีก่อนเราตกลงจะไม่ติดต่อกันเพื่อให้ต่างคนต่างรักษาตัวเองและรักษาความเป็นเพื่อนที่เหลืออยู่น้อยนิด

เราเจอกันครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาตอนฉันไปเรียนมหาวิทยาลัย ตอนที่เราตัดสินใจพบกันอีกครั้ง ฉันได้ย้ายกลับมาอยู่กรุงเทพฯ​ และเขาก็ย้ายไปอีกประเทศเพื่อทำงาน ในช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาหลังจากฉันได้เข้าร่วมโครงการ ‘ห้องเรียนนักเล่าเรื่อง’ และทำงานเป็นนักเล่าเรื่องในนิทรรศการ Ghost:2561 ช่วงนั้นฉันได้เห็นเสี้ยวของ ‘โลกศิลปะ’ ได้เห็นศิลปะในสื่อหลากหลายรูปแบบ ความเป็นไปได้ในการทดลองทางความคิด และแน่นอนการเมืองของมัน ตอนที่เราพบกันอีกครั้งฉันกำลังลาออกจากการเป็นพนักงานเต็มเวลาของบริษัทหนึ่งมาเป็นพนักงานไม่เต็มเวลาเพื่อหาเวลามาสำรวจโลกใหม่นี้มากขึ้น ในสองวันสั้นๆ ที่เราเจอกัน เราพยายามรวบสรุปทุกอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่หายไป ตั้งแต่ความเป็นอยู่ของครอบครัว ข่าวซุบซิบของเพื่อนๆ งานใหม่ เมืองใหม่ ไปจนถึงคนรักใหม่ เบื้องหลังคำถามเหล่านี้เป็นความพยายามอย่างน้อยก็ของฉันที่จะรื้อความเข้าใจความสัมพันธ์ของเราสองคนเพราะนี่เป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ฉันเห็นเขาเป็นเขา เป็นคนคนหนึ่ง เป็นเพื่อน ไม่ใช่แค่คนที่ขืนใจคนนั้น

***

เขาเคยเป็นทุกอย่างในชีวิต เป็นทั้งคนรัก เพื่อนสนิท คนร้าย ศัตรู กระสอบทราย ลูก ฯลฯ เขาไม่เคยลงมือกับฉันอย่างนั้นหรอก แต่ความรุนแรงมันมีหลายร่าง มันสิงอยู่ในความเงียบที่ถูกยัดเยียดมาให้ มันสิงอยู่ในอากาศ​ อย่าว่าแต่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น (ที่ตอนหลังมาเรียนรู้ว่าคนอื่นเขาเรียกว่า trauma หรือความหลังฝังใจ) ตอนนั้นฉันไม่สามารถพูด เรียก หรืออธิบายมันเลยด้วยซ้ำ

จนกระทั่งนักบำบัดที่นั่งฟังความสับสนของฉันมานานโยนคำถามมาให้ว่าเคยคิดบ้างไหมว่าความสัมพันธ์นี้มัน ‘แฟร์’ มั้ย แต่ความแฟร์ของสิ่งที่วัดตวงไม่ได้มันอยู่ที่ไหน?​ คำถามนั้นมันทำให้ฉันเอะใจและเริ่มฟังบทสนทนาเกี่ยวกับความยุติธรรมโดยเฉพาะเรื่องสิทธิสตรีที่มันล่องลอยอยู่ในมหาวิทยาลัยลิเบอรัลอาร์ตที่ฉันศึกษาอยู่ ตอนนั้นเองที่ฉันค่อย ๆ เรียนรู้และนั่งศึกษาชุดคำศัพท์เกี่ยวกับความรุนแรง พอมีคำไว้แปะป้ายทุกความสับสน อารมณ์ ตัวละคร และเหตุการณ์แล้วฉันก็รู้สึกราวกับได้สางก้อนไหมที่พันกัน ชุดคำศัพท์เหล่านี้ทำให้เกิดความชัดเจน ฉันรู้สึกราวกับได้พบ ‘บ้าน’ ใหม่และแต่นั้นฉันก็พิงใจในภาษาใหม่นี้

ความเดือดดาลแทรกตัวแล้วเข้ามาแทนที่ความสับสน ฉันโมโหการข่มขืน การถูกข่มขืน คนคนนั้น ระบบ และความเงียบ ความเดือดดาลคือความกล้าหาญ การกบฎ การรู้สึกมีชีวิตอยู่ การได้โกรธและต่อต้านตัวเขากลายเป็นตัวตนและการเรียกร้องความยุติธรรมทั้งจากผู้กระทำและระบบที่หล่อหลอมตัวเขากลายเป็นจุดมุ่งหมายในชีวิต ฉันเลยเข้าร่วมมันทุกอย่างตั้งแต่ประท้วงเรียกร้องสิทธิ เข้าร่วมทุกงานอภิปรายเกี่ยวกับความรุนแรงในมหาลัยฯ​ นั่งเทียนศึกษาภาษาใหม่แล้วก็มุ่งมั่นที่จะสอนคนอื่นโดยเฉพาะผู้ชาย

ฉันเสาะหาเรื่องราวที่คล้ายกันจากทั้งคนรอบตัวในความเป็นจริงและตัวละครในเรื่องแต่ง ฉันจำฉากหนึ่งในนิยายเรื่อง The Brief Wondrous Life of Oscar Wao เขียนโดยจูโน่ ดิแอซ​ (Junot Diaz) ได้แม่น ในฉากนั้นเบลี (Beli) แม่ของพระเอกถูกซ้อมและทิ้งไว้ในป่า

ไม่ต่างจากซูเปอร์แมนในตอนอัศวินคืนรังที่สูบพลังงานโฟโตนิคจากทั้งผืนป่าเพื่อให้อยู่รอดการทำลายล้างของจรวดโคลด์บริงเงอร์ เบลีของเราก็เหมือนกัน เธอกลั่นความโกรธทั้งหมดกลายเป็นพลังในการอยู่รอด พูดง่าย ๆ คือ coraje ของเธอช่วยชีวิตเธอไว้ เหมือนกับไฟเจิดจ้าในตัวเธอ เหมือนดวงอาทิตย์ เธอฟื้นขึ้นมาอีกครั้งใต้แสงจันทร์ที่ทารุณ​ หญิงสาวบอบช้ำท่ามกลางลำต้นอ้อยหักพัง ความเจ็บปวดแปลบไปทั่วร่างแต่เธอยังไม่ตาย เธอยังไม่ตาย

เทียบกับเบลีแล้วความเจ็บปวดของฉันมันเล็กน้อย แต่ย่อหน้านี้เต็มไปด้วยประกายที่จุด ‘ไฟเจิดจ้า’ ในตัวฉันเอง coraje ของเธอได้ช่วยชีวิตฉันไว้ด้วยเหมือนกัน ฉันแปลคำว่า coraje ในภาษาสเปนว่าเป็นความรู้สึกที่ผสมระหว่างความกล้าหาญและความเดือดดาล และใช้คำนั้นนิยามการมีชีวิตอยู่ของตัวเอง

ถึงแม้ว่าเขาจะขอโทษเป็นพันๆ ครั้ง และสำนึกผิดในสิ่งที่ทำลงไปด้วยความจริงใจ สำหรับฉันเขาก็ยังเป็น ‘ผู้กระทำ’ คนนั้น ครั้งหนึ่งฉันตะโกนใส่เขาว่า ‘เธอไม่มีวันรู้หรอกว่าการถูกข่มขืนมันรู้สึกยังไง’ และวันนั้นเองฉันก็ได้รู้ว่าเขารู้ เขาก็เคยถูกข่มขืนไม่ต่างกัน ก่อนการระเบิดครั้งนั้นฉันคือเหยื่อเขาคือผู้กระทำ แต่ตอนนี้เราทั้งคู่ล้วนเป็นเหยื่อในจักรวาลแห่งความรุนแรง ในแวบนั้นฉันรู้สึกเห็นใจเขาแต่ก็ไม่สามารถละทิ้งความโกรธที่เป็นตัวตนของฉันได้ ฉันพลิกพจนานุกรมคำศัพท์ที่อุตส่าห์ร่ำเรียนมาแต่ก็ไม่พบไวยากรณ์ที่มองหา อะไรคือความแฟร์?​ เสียงของนักบำบัดวิ่งเข้ามาในหู​ ก้อนไหมที่ฉันอุตส่าห์สางและจัดระเบียบไว้เรียบร้อยกลับมาท้าทายด้วยเส้นใยที่มีชีวิตของมันเอง ความหมายที่เคยเข้าใจไม่ตรงกับคำศัพท์อีกต่อไป ฉันกลับมาไร้ภาษาอีกครั้ง

***

หลังรับปริญญาเสร็จฉันก็ย้ายกลับกรุงเทพฯ ที่ที่เรียกว่าบ้าน

หลายปีในต่างประเทศฉันก็เปลี่ยนไปมากแต่บางทีก็ลืมไปว่าคนอื่นก็เปลี่ยนไปด้วยเหมือนกัน เมื่อฉันหายไปบ้านก็มีชีวิตใหม่ของมัน การกลับมาของฉันก็เหมือนเป็นการกลับมาทำความรู้จักใหม่ ต่างคนต่างเป็นตัวประหลาดซึ่งกันและกัน

ที่นี่ไม่มีบทสทนาเกี่ยวกับ ‘ความยุติธรรม’ ที่ฉันคุ้นเคย ป๊าก็เป็นผู้ชายรุ่นเบบี้บูมเมอร์ที่มีมเอามาล้อ บางครั้งก็เอามาด่าเล่น ไม่มีใครที่บ้านสนใจอยากจะคุยเรื่อง ‘เฟมินิสม์’ ที่ฉันสนใจหนักหนา ที่นี่ไม่มีการประท้วง ไม่มีความเดือดดาลหรือเศร้าโศก บ้านเคยเป็นสถานที่แห่งความสบายใจและความสบายใจก็มักผูกอยู่กับความคุ้นเคย แต่กรุงเทพฯ​ หน้าตาก็ไม่เหมือนเดิม การเมืองก็ฟังไม่รู้เรื่อง ครอบครัวก็กลายเป็นคนแปลกหน้า ในความหมายนี้กรุงเทพฯ ก็ไม่ใช่บ้านอีกต่อไป

“ไม่อยากอยู่ที่นี่แล้วอะ” ฉันบ่นให้แม่ฟัง

“ไมอะ”

“ไม่มีใครเข้าใจหนูเลย เหมือนคุยกันคนละภาษา”

“ก็เรียนใหม่ละกัน ไม่รู้ดิ”

แม่คงไม่ได้คิดอะไรมาก ตอบส่งๆ ไปเพื่อตัดบทลูกสาวที่แม่บ่นบ่อยๆ ว่ากลายเป็น ‘เด็กนอก’ แต่แม่ก็พูดไม่ผิด

***

นิตยสาร เดอะนิวยอร์กเกอร์ (The New Yorker) ตีพิมพ์บทความชื่อ ‘The Silence: The Legacy of Childhood Trauma’ (‘ความเงียบ: ซากของความหลังฝังใจในวัยเด็ก’) เขียนโดยจูโน่ ดิแอซ ผู้สร้างตัวละครโปรด ‘เบลี’ ในบทความนี้จูโนพูดถึง ‘หน้ากาก’ ที่เขาสร้างขึ้นเป็นเกราะที่ปกป้องเขาจากประสบการณ์การถูกข่มขืนตอนเป็นเด็ก เขาเล่าถึงหนทางการต่อสู้กับความหลังและหน้ากากนั้นผ่านหลายความสัมพันธ์ที่จบลงเพราะความผิดพลาดของตัวเขาเอง ไม่ว่าจะเป็นการนอกใจหรือการข่มเหงคนรัก บทความนี้ทำให้เกิดการถกกันอย่างดุเดือดในโลกออนไลน์ ขณะที่หลายคนออกมาชื่นชมจูโนในความกล้าที่จะออกมายอมรับว่าเป็นเหยื่อของการคุกคามทางเพศทั้งๆ ที่เป็นผู้ชาย แต่หลายคนโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงออกมาชี้ปัญหาในประเด็นความสัมพันธ์ที่เป็นพิษระหว่างจูโนและคนรักเก่าที่ผ่านมา

เรื่องของจูโนมันคุ้นหูเหลือเกิน เขาเป็นทั้งเหยื่อแล้วก็ผู้กระทำที่ขับเคลื่อนวงจรอุบาทว์ ฉันเห็นใจจูโน่แต่ก็เห็นใจคนรักเก่าของเขาที่เป็นเหยื่อซ้ำสองเหมือนฉัน เหมือนเบลี แต่การเห็นใจผู้กระทำที่ตัวตนฉันบอกว่าต้องต่อต้านเปรียบราวกับเป็นการทรยศตัวเอง

แต่ซาร่า อาเหม็ด ก็ได้เตือนใจฉันไว้ว่า

การครอบครองความมั่นใจแบบเฟมินิสต์ไม่ว่าจะเป็นการกลายเป็นเด็กสาวหรือผู้หญิง ‘แบบนั้น’ แบบที่ผิด แบบที่แย่ แบบที่ออกความเห็น ที่สลักชื่อตัวเอง หรือที่ลงถนนประท้วงเป็นสิ่งจำเป็นต่อขบวนการเฟมินิสม์ แต่แน่นอนว่าการเป็นผู้หญิงแบบผิด ๆ ไม่ได้ทำให้เราเป็นฝ่ายถูก ความอยุติธรรมเกิดขึ้นได้และเกิดขึ้นมาตลอดด้วยฝีมือของคนที่คิดว่าตัวเองผิดแผกไปจากคนอื่นนี่แหละ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือเฟมินิสต์ ‘ผิด ๆ’ ก็ตามแต่ เพียงเพราะเราดิ้นรนเพื่อความยุติธรรมไม่ได้หมายความว่าเราจะเป็นผู้เที่ยงธรรมเสมอ เราต้องหยุดเพื่อตั้งคำถาม สั่นคลอนมุมมองของตัวเองด้วยความเคลือบแคลง โน้มไหวเมื่อเรามั่นใจหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะว่าเรามั่นใจ ขบวนการเฟมินิสม์ที่เต็มไปด้วยความมั่นใจจนเป็นความจองหองได้ทำร้ายเราเองมามากพอแล้ว

เราต้องรู้จักล้มด้วยความมั่นคงในเฟมินิสม์ ดังที่เราต้องทำ

ในการเรียกร้อง #metoo ฉันเรียกร้องความยุติธรรมด้วยการต่อต้านเขา แต่การต่อต้านอะไรบางอย่างด้วยการจัดวางตัวเองให้เป็นสิ่งตรงกันข้ามกลับกลายเป็นการกักขังตัวเองในตำแหน่งที่ตายตัว ฉันมีทางเลือกเพียงสองทางเท่านั้นคือจะคงตัวตนที่โกรธเกลียดหรือจะเห็นใจคนที่ทำร้ายเรา แต่ในการคงตัวตนนั้นไว้ถึงแม้ฉันจะสามารถชี้หาผู้รับผิดชอบในสถานการณ์นี้ได้แต่ภาษาที่แบ่งขั้วเช่นนี้ก็ยัดเยียดความเป็นเหยื่อให้ฉันไปโดยปริยาย รูปแบบภาษานี้ไม่เหลือช่องว่างให้กับอะไรที่ไม่ลงร่องลงรอยหรือเกร็ดของความละเอียดอ่อน ตำแหน่งแห่งที่จึงดูดกลืนตัวตนทั้งมวลจนไม่เหลือพื้นที่ให้ตั้งคำถาม สงสัย โน้มไหว หรือจินตนาการ

วาทกรรมแบบขั้วตรงข้ามทำให้ #metoo กลายเป็นการสังเวยผู้ชาย การทำลายล้างอีกฝ่ายให้ราบคาบ แต่ในตรรกะนี้ถ้าเขา (ทั้งแฟนเก่าและจูโน) ไม่ใช่แค่ผู้กระทำแต่ก็เป็นเหยื่อด้วย ฉันจะเมินประสบการณ์การเป็นเหยื่อของเขาได้อย่างไร? ทำอย่างนั้นฉันไม่ได้กลายเป็นผู้กระทำไปโดยปริยายเหรอ? เราติดกับอยู่ในเขาวงกตของวาทกรรมภาษานี้

ฉันก็เคยเป็นผู้หญิง ‘แบบผิดๆ แบบที่แย่’ ฉันไม่กลัวที่จะว่ากล่าวเขา ประกาศกร้าว ออกความเห็น เดินประท้วง​ ฯลฯ​ การเป็น ‘พวกผิดๆ’ ไม่ได้ผิดอะไรแต่มันก็ไม่ได้ถูกเสมอเหมือนกัน การเป็นขั้วตรงข้ามฉันต้องปักหมุดไว้ที่อีกฝั่ง ฉันก็ยังให้พลังต่ออำนาจที่ยังสามารถกะเกณฑ์ได้ว่าเราเป็นอะไรได้บ้าง แทนที่การต่อต้านจะเป็นการกบฏแต่มันกลับกลายเป็นการย้ำลำดับขั้นของระบบที่ยังสามารถกำหนดและควบคุม สุดท้ายแล้วฉันก็เป็นเพียงกระจกสะท้อนอำนาจ

คำพูดของแม่ยังค้างคาอยู่ในใจตลอด จริงๆ แล้ว ‘ไม่มีใครเข้าใจหนู’ หมายถึงฉันเองก็ไม่ (พยายาม) เข้าใจคนอื่น เราพูดกันคนละภาษาจริงๆ ในการตามหาบ้านที่ให้ความสบายใจและคุ้นเคยฉันเงี่ยหูฟังแต่เสียงกระซิบของภาษาที่ฉันพูดได้คล่องปาก ทั้งภาษาอังกฤษในความหมายตรงตัวของคำว่าภาษา และภาษาของการเรียกร้องสิทธิที่ฉันคุ้นเคย ภาษากำหนดคำโดดๆ มาเพื่อเป็นตัวแทนความคิดที่ซับซ้อน แต่ในคำหนึ่งคำมีสิ่งที่ไม่ได้ถูกพูดถึงหรือที่ไม่สามารถเข้าใจหรือถ่ายทอดได้อีกมากมาย ‘ไม่มีใครเข้าใจหนูเลย’ เป็นคำพูดที่ผิด จริงๆ แล้วตัวฉันเองนั่นแหละที่ไม่สังเกตเห็นช่องว่าง รอยแยก และความเป็นไปได้ในภาษาที่ฉันไม่รู้จัก

แน่นอนว่าเราต้องมีคำใดคำหนึ่งหรือป้ายอะไรบางอย่างเพื่อสื่อสาร แต่ไม่ว่าระบบ การกดขี่ ความเท่าเทียม หรือความสัมพันธ์ล้วนแล้วแต่มีความซับซ้อน มันเป็นก้อนไหมที่พันกัน ขณะที่เราใช้คำโดดเหล่านั้นเพื่อสื่อสารก็ตระหนักว่าจะไม่มองข้ามความพัลวันของก้อนไหมนั้นเพียงเพื่อจะประโลมความกลัวความไม่รู้ของเราเอง ว่าจะไม่ปักหลักยึดมั่นกับภาษาและยังคงดิ้นรนหาและดิ้นรนในพื้นที่ระหว่างกลางที่อนุญาตให้เกิดรอยแยกและความไม่แน่นอนอันนำไปสู่ความเป็นไปได้ในการจินตนาการ ‘บ้าน’ จึงอาจไม่ใช่ความสบายใจในความคุ้นเคย แต่เป็นความสามารถหรือความยินยอมที่จะยืนหยัดและเบ่งบานในความไม่รู้ ความกล้าหาญจึงอาจจะไม่ใช่การเป็น ‘พวกผิดๆ’ แต่เป็นการมีความเห็นใจสุดโต่งที่สามารถเห็นใจแม้กระทั่งคนที่ทำให้เราเดือดดาล เพื่อมองเห็นสิ่งที่เกินความเข้าใจ สิ่งที่แปลกประหลาด ไม่ลงร่องลงรอย เราต้องโอบรับความพัลวันด้วยการพร้อมที่จะ​ ‘ล้มลง ดังที่ต้องทำ’

***

การพบกันสั้นๆ ของเราประดักประเดิดเป็นบางอารมณ์ตามความคาดหมาย เราไม่ได้จับเข่าคุ้ยสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่เหตุการณ์ต้นเหตุ ความวุ่นวายที่ตามมาหรือการหยุดคุยกันกะทันหัน ฉันก็แค่เล่าความลำบากของการทำตัวเป็นผู้ใหญ่ในออฟฟิส เขาก็เล่าให้ฟังถึงมุขตลกๆ ที่นักเรียนของเขาเล่นในห้องเรียน เราก็คุยกันเรื่องธรรมดาๆ ไม่มีอะไรมาก แต่คงเป็นเพราะเราคุยกันเรื่องดาษๆ ที่ไม่มีสัญญาณของการระเบิดทางอารมณ์หรือการแข่งกันในโอลิมปิคของความเจ็บปวดที่เรามักจะแข่งกัน ฉันเลยรู้สึกสงบ ในเรื่องเล่านี้เขาก็ยังเป็นผู้กระทำคนนั้นแหละ แต่หลายปีที่ผ่านมาการมีอยู่ของฉันไม่ว่าจะในฐานะเหยื่อที่ถูกทำร้ายหรือผู้ยืนหยัดในความโกรธก็ยังคงมีชีวิตหมุนรอบตัวเขาอยู่ การที่ฉันสามารถมองเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีเรื่องราว ความทรงจำและข้อบกพร่องนอกเหนือไปจากการเป็นผู้กระทำผิดก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีเรื่องหนึ่ง แต่นี่คงเป็นครั้งแรกที่การมีอยู่ของฉันไม่ได้ผูกติดอยู่กับการมีอยู่ของเขา เขาไม่ใช่ศูนย์กลาง ฉันไม่ได้หมุนรอบใคร และในที่สุดฉันก็เป็นอิสระ

ภาพโดย วิรุฬห์วรรณ พิทักษ์ทอง

***

การบอกลาไม่เคยจะเท่เหมือนในหนังที่มีตัวเอกหน้าตาดีสองคนยืนอ้อยอิ่งแล้วมองกันอย่างอาวรณ์ เรากอดกันพอเป็นพิธี คุยกันอีกนิดหน่อย แล้วก็บอกลา

หลังจากแยกกันฉันก็ได้นั่งเงียบๆ คนเดียวที่เกทสนามบิน จู่ๆ ฉันรู้สึกถึงความตึงที่แขนทั้งสอง ปลายนิ้วที่กระตุกนิดๆ ความจั๊กกะจี๋แปลก ๆ ที่มุมปาก และความอุ่นที่ซ่านไปทั่วตัว มันไม่ใช่ความสุขแบบที่อยากจะกระโดดกรี๊ดกร๊าด แต่ฉันเดาเอาเองว่ามันคงเป็นความอิ่มเอมที่ท่วมท้นจนมันเอ่อออกมาเป็นน้ำตา ฉันได้แต่ร้องไห้ ยกมือขึ้นมาทาบหน้าแล้วกดหนักๆ เหมือนที่เคยบอกชายในเวิร์กชอปหลายเดือนก่อนคนนั้น ฉันก็ยังไม่เข้าว่าที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้คืออะไร แต่ฉันไม่พยายามจะควบคุมมันอีกแล้ว ก็ต้อนรับมันและปล่อยให้มันเป็นไป

เสร็จแล้วก็เช็ดหน้า นั่งรอเวลาด้วยใจที่พร้อมจะกลับบ้าน

“Could you just…cover my whole face? And press harder…with some commitment I mean.”

I found myself lost in the vocabulary of the body, as I coyly searched for words to describe to a near stranger—’How I would like to be touched?’

Following my instruction, he lifted his palms up with hesitance, and pressed against my face with more force. I resisted to feel the pressure that was done with the requested commitment that I began to see stars. We were part of a workshop with ‘Somatic Practice’ as the subject, something I never heard of at the time. So there I was, sitting across from a stranger, with his sweaty hands against my sweaty face.

The exercise first asked us to verbally described that preference, and the next asked us to only use our bodies to communicate. The workshop then consisted of reluctant touches and some confused and curious expressions. I was initially cautious as I heard and learnt that theoretically touches could ‘trigger’ the memory of a more violent bodily reluctance I experienced. Let’s not avoid the word, I thought I would be reminded of rape. I delivered the R word of Rape with such banality, not because it was a light matter, but because, with time, I digested and crystallized this mutinous blob and labelled it with that R word. The term only became a convenient description of an incidence that for a period of time mattered and destroyed. Now I looked at that blob from a distance. It was still disobedient, but in my feelings, it was distant; it was dead.

‘How would I like to be touched?’ The question rang in my ears because no one, not my ex-partner, ever asked me such question. But it was exactly in the absence of the question that I was able to answer the opposite, how I would not like to be touched. While my eyes traced the outline of the map hung on the wall behind him, I remembered how I watched my flesh and his engage in a proclaimed physical act of love. My lips refused to part each other, but I watched and watched. Since touch did not generate pleasure, the question was not so much ‘How would I like to be touched?’ but more so ‘How do I/How could I like being touched?’

I was used to watching my body responding to stimuli. This body had been a container that holds some functional organs and some abstract entity that philosophers write books about. The question confused me since for the first time I was asked to consider my body beyond a mass of flesh. As the workshop continued with discussions, I quietly grazed, pinched, squeezed, grabbed, jabbed parts of my body, wondering if which were how I, my body, would like to be touched. I didn’t know. I didn’t quite remember what I was saying; for one thing I was feeling fine, but I remembered how my body suddenly trembled and it cried wet tears. I inhaled deeply in an attempt to control, but my shoulders continued to heave and toes continued to clench. Just as I did not know how I would like to be touched, I did not know why I could not stop my body. In that moment, it was uncontrollable. It was unruly.

Photo by​ Wirunwan V. Pitaktong

***

A few months later, I would fly to reunite with my ex-partner, who was also the ‘abuser.’ We had cut ties a year prior as a mutual agreement so that both of us could have spaces to heal and to salvage what was left of our friendship.

We had met in the United States, where I spent my college years. At the time of our reunion, I moved back to Bangkok and he moved to another country for work. During the time that I participated in the Classroom of Storytellers’ workshops and worked as storytellers during the Ghost:2561 exhibition, I was introduced to glimpses of the ‘art world’—the manifestation of art in its different mediums and forms, the possibilities of exploration that this realm could offer, and also its undeniable inner-working politics. When I visited Him, I was in the middle of quitting my full time office job to a part time employee so that I could earn more time to explore this new territory. We spent brief two days trying to encapsulate what had happened in the time apart from how our family was doing, how he felt about the new city and job, our new romantic prospects, gossips of mutual friends, and so on. Underlying those questions were our attempts, or at least mine, to reconfigure our relationship as for the first time in years I saw Him as him, a person, a friend, not just an abuser.

***

He was everything. He was my partner, abuser, best friend, nemesis, punching bag, child, etc. He had never hit me per se, but violence manifested itself in many ways. It lived in the imposed silence; it lived in the air. I was unable to say, call, explain what had happened, let alone comprehend what I learned later to be called ‘trauma.’

It was my therapist who listened to my confusion for quite some time that suggested me to consider if this relationship was ‘fair.’ But what is fairness in something so unquantifiable? I listened to the conversations about justice, especially in feminism, that were floating and dynamic in the liberal arts college I was in, and I gradually learned and studied the vocabulary of abuse. The terms provided me clarity. By assigning names to each confusion, feeling, character, situation, they helped me grasp the entangled blob. I felt like I had finally found my ‘home,’ and from there I took solace in this newly acquired language.

Rage seeped in and replaced confusion. I was enraged at the rape, the person, the system, the silence. To be enraged is to be courageous, to be rebellious, to be alive. That was how I marked my existence, with rage and defense, a​gainst H​im. Demanding justice from the abuser, and the oppressive system that molded him, had become my mission. I participated loudly in the movements, actively joined conversations, studied the new language fiercely and was adamant in teaching others, men especially.

I sought for and found solidarity in stories in both the reality of those around me and of the fictional characters. In ​The Brief Wondrous Life of Oscar Wao​, written by Junot Diaz, I was struck by a scene in which Beli, the mother of the protagonist, was beaten and left in the jungle. The part reads:

Like Superman in Dark Knight Returns, who drained from an entire jungle the photonic energy he needed to survive Coldbringer, so did our Beli resolve out of her anger her own survival. In other words, her ​coraje saved her. Like a white light in her. Like a sun. She came to in the ferocious moonlight. A broken girl, atop broken stalks of cane. Pain everywhere but alive. Alive.

My pain was trivial compared to Beli’s, but to me this very paragraph sparkled with the magic I needed to ignite the ‘white light’ in me. Her c​oraje s​aved me, too. I adopted this Spanish word defined as both courage and rage to define how I would feel alive.

Even though he apologized a thousand times over, and repented his wrongdoings with sincerity, he was still ​the abuser. ​Once I screamed at him, “You will never know what it felt like to be raped”, and I learnt that day he knew. He was raped, too, a long time ago. Before that outburst, I was the victim, and he the abuser. But now it seemed we were both ​victims​ in this larger and more complex universe of abuse. I felt compassion towards his experience, but I struggled to reconcile this compassion and the rage I held so dear. Flipping through my hard-earned dictionary, I found no appropriate syntax. Again, what is fairness? The blob I had carefully unbraided and categorized contended me with its unrestrained strings. The terms I learned no longer matched their signified and I was once again with no language.

After graduation I moved back to Bangkok, home as I called it.

I had changed in those years abroad, but sometimes I did not register that others did too. Home continued its life with my absence, and my reappearance was a strange encounter. I felt like an alien to them, and they aliens to me.

There was no surrounding conversations about ‘justice’ as I knew it. My dad was the sort of male baby boomer memes made fun of and even hated on, and nobody was interested in talking about feminism. There was no protest, no anger, no grief. Home was a place of comfort and comfort was associated with familiarity. Bangkok with its ever-changing physical landscape, politics, and the now-foreign family was no longer a home in that sense.

“I don’t like it here”, I told my mom.

“Why?”

“No one understood me. It’s like we speak different languages”.

“Learn then. Idk.’

Her comment might have been nothing but a terse response to brush off the now-sorta-Americanized daughter who-just-came-back-from-abroad, but she wasn’t wrong.

In ‘The Silence: The Legacy of Childhood Trauma’ published in the N​ew Yorker,​ Junot Diaz, the creator of my beloved character, Beli, wrote about how he created a strong ‘mask’ to protect him from the experience being raped as a boy. However, he also mentioned how he also mistreated his ex-partners along the journey of his self-recovery. The article prompted a discussion. While some applauded him for his bravery to come out as a male victim, many, especially women, called him out for his mistreatment of past partners.

The story was all too familiar. He was a victim, but also an abuser who perpetrated the cycle. Again, I felt compassion towards him, but also towards his past partners who were hurt like me, like Beli. But having compassion for abusers whom I was supposed to be protesting against felt like a betrayal to my very self.

But in Sara Ahmed words, I was reminded that,

The acquisition of feminist confidence, to become that sort of girl or woman, the wrong sort, the bad sort, the one who speaks her mind, who writes her name, who raises her arm in protest, is necessary for a feminist movement. But of course being the wrong sort does not make us right. Much injustice can be and has been committed by those who think of themselves as the wrong sort: whether the wrong sort of women or the wrong sort of feminists. There is no guarantee that in struggling for justice we ourselves will be just. We have to hesitate, to tamper the strength of our tendencies with doubt; to waver when we are sure, or even because we are sure. A feminist movement that proceeds with too much confidence has cost us too much already.

We falter with feminist conviction. As we must.

In my #metoo demands, I rallied for justice by being against ​Him. To be against something by situating myself on the opposite transfixed me in a rigid position. I could either be enraged or be compassionate. While I was able to hold him accountable by calling him an abuser, because of the binary nature of the language, I also assigned myself a position of the victim. Such language left no room for the in-betweens or the nuances. Our whole beings were then subsumed by those specific roles, and there left no room to doubt, to question, to waver, to imagine.

With the binary narrative, the tone of my #metoo turned into the crucification of men, the obliteration of another. However, as you now know, in this line of logic he (both my ex and Junot) was not just an abuser, but also a victim. Do I completely disregard his experience as the abused? Wouldn’t that make me an abuser as well? In this language, we are trapped.

I was the ‘wrong sort, the bad sort.’ I called Him out, I spoke up, I spoke my mind, I raised my arms in protests, I took up spaces, I… etc. Being the wrong sort wasn’t wrong, but it was not always ​right either. By being the antithesis, the opposite, I still grant the dominant authority the power to dictate what I could or could not be, thereby affirming the hierarchy of the system that govern and regulate. By being the antithesis, instead of being subversive, I became, rather, a mere reflection of the other.

My mother’s comment stuck with me. What I meant by ‘No one understood me’ was that I also did not (try to) understand others. We really were speaking different languages. In search for a home, the familiar and the comfort, I sought for the whispers of languages I was already fluent in, whether that be English in the literal sense, or the ‘radical’ activism I was accustomed to. Languages assign words to capture and represent complex concepts, but behind a single word lives the incomprehensible, the things left unsaid. ‘No one understood me,’ was a false statement. In fact, I was the one who did not see the gaps, the breach, the possibilities in the languages unknown to me.

Of course, one must have some sort of words and labels in order to communicate, but the system, the oppression, fairness, relationships were intricate. They were all entangled blobs. It is important to be aware that we do not strip off the complexities in our attempt to tame the blob of its vigorous unruliness in order to appease our own anxieties; to never settle with a language so as to struggle for and in that wiggle room that allows for the cracks and the uncertainty, and hence the possibilities to imagine. Home, then, may not be the comfort of the familiar, but the capacity and willingness to persist and thrive in the unknown. Courage, then, may not be being ‘the wrong sort,’ but to have radical compassion that extends even to those that incite rage in us. To recognize the incomprehensible, the peculiar, the in-betweens, we have to embrace that unruliness in our willingness ‘to falter, as we must.’

Our brief reunion was, at times, but expectedly, awkward. We never directly addressed what had happened, from the incidents, the mess afterwards, to the abrupt break of our communication. I told him about the struggles of #adulting in my nine-to-five job, he told me about the silly jokes his students made in classes. They were indeed mundane stories, but probably exactly because they were mundane with no tint of the unpredictable outbursts or the hurt olympics we would compete with each other in, I felt a sense of calm. He was still the abuser in this story, but for a long time my existence, whether as a hurt victim or even as a rageful survivor, orbited around him. To be able to see him as a person of stories, memories, and flaws beyond just an abuser was one thing, but for the first time, I did not tie my being with his. He was no longer the center I revolved around. I was free.

Photo by​ Wirunwan V. Pitaktong

***

Goodbyes were never like movies where two handsome protagonists lingered to exchange poignant looks. We gave each other a hug, talked a bit, and bid farewell.

As we parted and I finally sat alone at the gate, I could feel the tension in my arms, the twitches at the tips of my fingers, the tickles at the corners of my lips, the warmth of my insides. It was not the kind of happiness you jumped and screamed with glee. It was, I assumed, intense joy that was so overwhelming that it distilled into tears. I cried and cried and cried. I covered my face and pressed my palms hard on my face, the way I told that stranger in the workshop months ago. I still did not understand what all of this w​as, but I no longer tried to control. I welcome it and let it be.

I wiped my face clean, and waited to board the plane, ready to go home.

วิรุฬห์วรรณ พิทักษ์ทอง |
Wirunwan V. Pitaktong

วิรุฬห์วรรณ ชอบเขียน แปล อ่านและวิจัย.

Wirunwan likes writing, translating, reading, and researching.

วิรุฬห์วรรณ ชอบเขียน แปล อ่านและวิจัย.

Wirunwan likes writing, translating, reading, and researching.