บทสัมภาษณ์ 6x6
กับ ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น

6x6 interview with Tyrell Haberkorn

Written By

ซอย สควอด | soi squad

Translated by

ซอย สควอด | soi squad

[*สำนวนแปลไทยโดย มุกดาภา ยั่งยืนภราดร]

ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2020 เป็นต้นมา ข้อเรียกร้องทางการเมืองของคนรุ่นใหม่และความฝักใฝ่ในประชาธิปไตยที่เคยถูกฝังกลบไปของกลุ่มขบวนการความขัดแย้งในอดีตยังคงปะทุก้องกังวานบนท้องถนนในประเทศไทย ในฐานะนักเขียนและนักวิชาการที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความรุนแรงของรัฐ รวมถึงวัฒนธรรมการเมืองในประเทศไทยที่เผชิญหน้ากับขั้วความไม่ลงรอยแบ่งฝักแบ่งฝ่ายมาตั้งแต่สิ้นสุดยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปี 1932 ไทเรล ฮาเบอร์คอร์นมองงานแปลเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกอดเก็บบันทึกเรื่องราวที่โดนกลบฝังจนลืมเลือน รวมถึงเป็นการโอบรับภาษาและท่าทีของสุ้มเสียงใหม่ๆ ซึ่งผุดพรายขึ้นจากการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อปะทะกับมวลแรงกดทับที่พยายามปิดปากเราให้บื้อใบ้ หนึ่งในชิ้นงานของไทเรลที่หลายคน (อย่างน้อยก็พวกเราทีมงานซอยสควอด) ตั้งตาคอยด้วยใจระทึก คืองานแปลบันทึกเรื่องราวระหว่างติดคุกด้วยข้อหาคดีทางการเมืองอย่าง มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ ของภรณ์ทิพย์ มั่นคง

ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น เป็นอาจารย์ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาที่ภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เธอเขียนหนังสือ Revolution Interrupted: Farmers, Students, Law and Violence [การปฏิวัติที่ถูกตัดตอน: ชาวนา, นักศึกษา, กฏหมายและความรุนแรงในภาคเหนือของไทย] ในปี 2011 และ In Plain Sight: Impunity and Human Rights in Thailand [กระจ่างแจ้งแยงตา: นิรโทษกรรมกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย] ในปี 2018 ส่วนตอนนี้ ไทเรลกำลังทำงานเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจินตกรรมทางการเมืองอันถอนรากถอนโคนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทย ผ่านเรื่องราวชีวิตของสุพจน์ ด่านตระกูล นักโทษคดีการเมืองผู้เห็นต่าง และนักวิชาการอิสระที่เคลื่อนไหวในช่วงทศวรรษ 1950-2000

1

1. คุณลงมือ ‘กระทำการแปล’ ครั้งแรกเมื่อไหร่?

งานแรกที่เคยได้ลงมือแปลคือบันทึกเรื่องราวความเป็นความตายของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่โดนลอบสังหารหรือถูกทำให้สูญหายในช่วงปี 2001-2004 ตีพิมพ์ลงในนิตยสารฟ้าเดียวกัน ตอนนั้นฉันอยู่เชียงใหม่ กำลังเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเหตุลอบสังหารเหล่านักกิจกรรมชาวนาในช่วงปี 1974-1975 เพื่อนในสายงานสิทธิมนุษยชนแนะนำให้ฉันลองศึกษาเกี่ยวกับเสียงสะท้อนจากเหตุความรุนแรงที่มีบันทึกไว้ ณ ช่วงนั้น ก็เลยได้มาหยิบจับแปลเรื่องเล่าเหล่านี้ รวมถึงเขียนบทวิเคราะห์เรื่องความรุนแรงขนาดย่อร่วมกับเพื่อนๆ แล้วส่งไปให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ด้วยข้อกำหนดทางด้านเอกสารของรายงาน ฉันต้องสรุปย่อเนื้อหาแต่ละเรื่องของแต่ละนักกิจกรรมให้อยู่ภายใน 2-3 ประโยค จากที่ก่อนหน้านี้เขียนไว้ราว 2-3 หน้าต่อคน เรื่องราวแบบเต็มๆ นั้นไม่เคยได้รับการเผยแพร่ที่ไหนเลย ทุกวันนี้การเผยแพร่ข้อมูลพวกนี้ผ่านช่องทางออนไลน์กลายเป็นของที่ทำได้ง่ายๆ แต่ในสมัยนั้น การจะหาแหล่งตีพิมพ์เอกสารอย่างเป็นกิจจะลักษณะนั้นยุ่งยากทีเดียว แต่ฉันคิดว่านั่นแหละคือจุดเริ่มต้นของงานด้านการแปลของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือจุดเริ่มต้นของการควบรวมงานแปลเข้ากับกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง

2

2. คุณคิดว่ากิจกรรมต่างๆ หรือความสนใจที่มีต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่งอิทธิพลต่อการเสพหรือการแปลวรรณกรรมไทยร่วมสมัยของตัวเองหรือเปล่า? หรือจะเป็นในทางกลับกันก็ได้?

ในการทำงานวิชาการและงานกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บรรดาคำถามหรือข้อสงสัยที่ฉันมีล้วนนำไปสู่การเลือกอ่านหรือแปลงานชิ้นหนึ่งๆ ทุกวันนี้ ในฐานะคนทำงานวิจัยและสอนเกี่ยวกับความรุนแรงและอำนาจการกดปราบของภาครัฐ สิ่งที่ฉันให้ความสำคัญหลักๆ เลยคือการที่ตัวเองได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจดจำ-จดบันทึกเรื่องราวของอะไรต่อมิอะไรที่รัฐพยายามกลบฝังให้คนลืม ฉันคิดว่าความสนใจสำหรับงานแปลก็เป็นแบบเดียวกัน ส่วนใหญ่ฉันทำงานแปลร่วมกับประชาไท เผยแพร่เรื่องราวของนักโทษทางการเมือง อย่างเรื่องของคุณธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ที่โดนโทษขังคุกจากคดีมาตรา 112 ไปจนถึงงานแปลชิ้นบทความของนักวิชาการทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย แล้วก็มีแปลถ้อยแถลงกับแถลงการณ์ทางการเมือง ซึ่งส่วนตัวคิดว่าเป็นงานแปลลักษณะที่ตัวเองโปรดปรานทีเดียว ที่ชอบการแปลบรรดาข้อเขียนแถลงการณ์ ข้อเรียกร้อง หรือสุ้มเสียงที่ตะโกนกู่ก้องออกมาพวกนี้ก็เพราะว่ามันเป็นงานเขียนที่เปี่ยมไปด้วยพลังความกระฉับกระเฉงและจินตนาการ ยามที่เปล่งเสียงตราหน้าความอยุติธรรม ยามที่ค่อยๆ ก่อร่างภาพความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ใครต่อใครล้วนปรารถนา คนเขียนกำลังเฝ้าฝันถึงรูปร่างหน้าตาของสังคมรูปแบบใหม่ เพราะฉะนั้นการได้แปลงานเหล่านี้เลยให้ความรู้สึกเหมือนกับตัวเองกำลังยืนจ่อฟังสุ้มเสียงของถ้อยแถลงอยู่ตรงหน้าประตูทีเดียว

3

3. ในฐานะนักวิชาการ คุณมองการศึกษาหรือวิชาเกี่ยวกับงานแปลว่าเป็นแบบไหนบ้าง? มีทฤษฎีหรือกรอบการแปลไหนที่คุณถือว่ายึดไว้เป็นสรณะ กระทั่งหยิบยืมมาใช้บ้างมั้ย?

จริงๆ แล้วฉันมาสนใจงานแปลในฐานะนักอ่าน/นักกิจกรรม มากกว่าในฐานะนักวิชาการ หมายถึงว่าฉันเลือกแปลงานที่ตัวเองสนใจอยากตั้งใจอ่านให้ลึกอย่างจริงจัง หรือไม่ก็งานที่คิดว่าเร่งด่วนจำเป็นกับสภาพสังคมหรือการเมือง ณ ตอนนั้นๆ สิ่งที่ฉันยึดถือในการทำงานแปล ไม่ว่าจะเป็นในฐานะนักอ่าน/นักเขียน/นักกิจกรรม/นักแปล คือการอ่านแก้ทวน ทวน ทวน แล้วก็ทวน! แรงบันดาลใจของฉันส่วนใหญ่มาจากงานเขียนหลายชิ้นของ จิ่งห์ ถิ มิงห์ ห่า (Trinh Thi Minh-ha) กับบทท้วงติงที่เธอเขียนในหนังสือ Woman, Native, Other: Writing Postcoloniality and Feminism [ผู้หญิง, ชนพื้นเมือง, ความเป็นอื่น: งานเขียนหลังอาณานิคมและสตรีนิยม] ที่ว่า ‘แล้วจากนี้เธอจะเอายังไงต่อ? หรือฉันควรต้องเอายังไงต่อ? นักเขียนผู้หญิง [อย่างฉัน] ต้องเอายังไงกันแน่กับชีวิต? คำตอบก็คือ คุณมองหาสุ้มเสียง คุ้ยค้นคำศัพท์และประโยคต่างๆ ออกมา พูดอะไรบางอย่างออกไป หรือจะพูดสักอย่างหรือไม่สักอย่างเลยก็ได้ ผูกแล้วก็คลายเงื่อน อ่านแล้วก็รื้อการอ่านนั้น โละรูปแบบต่างๆ ทิ้งไป พินิจพิเคราะห์ความเคยชินในงานเขียนของตัวเอง แล้วลองตัดสินใจดูว่าวิธีเขียนแบบนั้นมันสื่อถึงการปลดแอกหรือการกดทับมากกว่ากัน เขย่าไวยากรณ์ ทุบปรัมปราต่างๆ ทิ้ง ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองปราชัยก็ไม่เป็นไร ไถลตัวไปต่อเถอะ มองหาเส้นทางใหม่ๆ ของภาษา มันน่าตื่นเต้นมั้ยล่ะ? ช็อคสุดๆ ไปเลยหรือเปล่า? แล้วคุณมีทางเลือกหรือไม่มีกันแน่?’ จริงๆ แล้วในบทนี้ จิ่งห์ ถิ มิงห์ ห่า เขียนถึงการวิพากษ์ภาพยนตร์ แต่ทุกวันนี้คำถามเหล่านี้ก็สำคัญมากสำหรับนักแปลอย่างไม่อาจมองข้ามได้เช่นกัน

4

4. ผู้คนมักคิดว่างานเขียน/งานแปลเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างสันโดษ แต่จริงๆ แล้วหลายครั้งงานแปลเกิดขึ้นในบริบทของความร่วมแรงร่วมใจจากหลายฝ่าย บางครั้งก็ถึงขั้นประสานพลังกันถอนรากถอนโคนทีเดียว คุณมองลักษณะความร่วมมือในงานเขียน งานแปล หรืองานบรรณาธิการวรรณกรรมไทยของตัวเองทั้งในอดีตและปัจจุบันว่าสำคัญแบบไหนอย่างไร โดยเฉพาะความเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางการเมืองที่ตัวเองก็เคลื่อนไหวอยู่ด้วย?

ช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคมปี 2020 ฉันร่วมจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปเกี่ยวกับการแปลและการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งนักศึกษาปริญญาโทจากทั่วโลกและบรรดาเพื่อนๆ ที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงวิชาการมาร่วมงาน ความตั้งใจก็คือ เราแบ่งตารางเวลาของบทสนทนาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ ความท้าทาย การเมืองและปฏิบัติการของการแปลออกเป็นช่วงๆ แล้วสอดแทรกแง่มุมของการแปลในเชิงวิชาการเข้าไปด้วยกิจกรรมการอ่านและวิพากษ์ตัวบทแปลที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นคนแปลขึ้นคร่าวๆ พอจัดแบบนี้ ทิศทางของกิจกรรมก็จะเป็นเหมือนการได้ตกตะกอนย้อนคิดเกี่ยวกับทั้งความเร่งด่วนและความสนุกสนานในการแปล รวมถึงเป็นโอกาสให้แต่ละคนได้เรียนรู้ว่าอะไรทำให้งานชิ้นหนึ่งๆ ถือเป็นงานแปลที่ ‘ดี’ [ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นคำถามที่มีคำตอบหลากหลายออกไปมาก] ผลตอบรับที่ได้นั้นน่าประทับใจมาก เรามีคนมาเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 30 คนจากทั่วทุกมุมโลก เวิร์คช็อปนี้จัดขึ้นออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชันซูม (Zoom) ตารางจัดเสวนาแบ่งออกเป็น 5 รอบ รอบละ 2 ชั่วโมง แล้วก็มีกิจกรรมรูปแบบเปิดอีก 2 ชั่วโมง ซึ่งให้โอกาสผู้ร่วมงานได้อ่านงานแปลของตัวเองให้คนอื่นฟังตามความสมัครใจ

กลายเป็นว่าในกิจกรรมนี้ ทุกคนร่วมแบ่งปันความหงุดหงิดเหนื่อยหน่ายใจที่เกิดขึ้นกับตำแหน่งแห่งที่ของงานวิชาการภาษาอังกฤษ ซึ่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันแรกสุด ฉันอธิบายให้ทุกคนฟังถึงเหตุผลที่อยากจัดงานนี้ขึ้นมา นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่างานวิชาการด้านเอเชียอาคเนย์น้ำดีหลายชิ้นนั้นไม่ได้เผยแพร่ในภาษาอังกฤษเลย ส่วนใหญ่มักเป็นงานในภาษาไทย พม่า อินโดนีเซีย เวียดนาม เขมร ลาว มาเลย์ ฯลฯ แต่ในโลกวิชาการงานภาษาอังกฤษเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมืองในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ คนมักมองว่าการแปลคือกิจกรรมที่ถือว่าด้อยค่ากว่า ไม่มีความเป็นวิชาการเท่า เหมือนกับเป็นแค่การโรยหน้าของตกแต่งประดับประดาลงบนก้อนเค้กของงานวิชาการที่ ‘เรียล’ กว่า ถึงกระนั้น ความเป็นจริงแล้วการแปลถือเป็นส่วนสำคัญของการจุดประกายบนสนทนาที่พาดข้ามไปในหลายภาษา ซึ่งคุณลักษณะนี้ก็เป็นอะไรที่จำเป็นมากๆ ต่อกระบวนการเลาะรื้อรากอาณานิคมที่แฝงฝังอยู่ในโลกวิชาการที่เกิดขึ้นอยู่ในทุกวันนี้

สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้น ผู้ร่วมงานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยสักแดงเดียว แล้วก็ไม่ได้มีหน่วยกิตอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะด้วยหรอก แต่ข้อบังคับเดียวคือทุกคนจะต้องเข้าร่วมทุกๆ รอบเสวนาโดยไม่มีข้อยกเว้น ผู้ร่วมงานแต่ละคนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มวิพากษ์งาน การเข้าร่วมกิจกรรมในทุกๆ อาทิตย์จึงสำคัญ เพราะพวกเขาแต่ละคนจะได้รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับงานแปลของตนจากผู้ร่วมงานคนอื่น จริงๆ ก็เป็นรูปแบบที่ประสบความสำเร็จ [เป็นส่วนใหญ่] ทีเดียว เว้นแต่ว่าอาจจะมีบางคนที่โผล่มาแค่ตอนที่เป็นงานของตัวเอง แต่ไม่ได้ไปช่วยออกความเห็นหรือวิจารณ์งานของคนอื่น อย่างไรเสีย ฉันคิดว่าในช่วงเวลาของโรคระบาดแบบนี้ บรรยากาศในกิจกรรมเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจและความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทุกคนจากแต่ละไทม์โซนมาเจอะเจอหน้ากันทุกๆ สองสัปดาห์ ลองเล่นไปกับความคิดใหม่ๆ ขณะที่ก็สร้างความท้าทายให้แก่กันและกันไปด้วย

ฉันได้คุยกับภรณ์ทิพย์ มั่นคง ผ่านไลน์เยอะมาก ช่วงที่ต้องกักตัวในหน้าร้อนเป็นช่วงที่ฉันไม่ได้สอนหนังสือ เลยใช้เวลาแปลหนังสือ มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ อาทิตย์ละ 6 วัน วันละ 20 หน้า จนได้ตัวบทแปลฉบับคร่าวๆ (คร่าวมากๆ) ออกมาในที่สุด ตารางการทำงานช่วงนั้นของฉันคือ ในวันหนึ่งๆ หลังจากแปลเสร็จ 20 หน้า ฉันถึงจะเอาเวลาไปทำอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ อ่านบทกวี แปลงานชิ้นอื่นๆ เขียนอะไรต่อมิอะไร ไปเดินเล่นหรือวิ่งออกกำลังกาย อบคุกกี้ ทำงานเย็บปักถักร้อย ฯลฯ การแปล 20 หน้านี้บางทีก็ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง บางทีก็ใช้เวลาเป็นวัน หรือบางครั้งฉันก็หยุดแปลทั้งที่ทำได้ไม่ถึง 20 หน้าดี แต่ที่แน่ๆ คือ การแปลหนังสือเล่มนี้ช่วงประคับประคองสติฉันในช่วงเวลาเอาแน่เอานอนไม่ได้หลายเดือนนั้น แล้วความต่อเนื่องของคืนวันก็ได้ก่อร่างช่วงเวลาบางขณะที่ฉันจะได้ยินเสียงภรณ์ทิพย์กำลังพูดภาษาอังกฤษ สิ่งที่ฉันจะสื่อคือ สำหรับหนังสือเล่มนี้ภรณ์ทิพย์เล่นล้อไปกับภาษา เธอสร้างชุดคำศัพท์และรูปแบบประโยคขึ้นมาเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อภาษาไทยในปัจจุบันล้มเหลวที่จะทำหน้าที่เป็นภาชนะสำหรับสื่อสาร [ในสิ่งที่ภรณ์ทิพย์ต้องการ] นั่นทำให้หนังสือเล่มนี้ทั้งยากและสนุกสนานไปในคราเดียวกัน เธอเป็นทั้งวัยรุ่นห้าวเป้งและคุณยายผู้เฉียบแหลม เป็นคนอายุน้อยที่เข้าคุกเป็นครั้งแรก แล้วก็เป็นนักธุรกิจสาวเจ้าปัญญา ไม่มีพจนานุกรมเล่มไหนที่ช่วยให้นักแปลผู้หลงทางสับสนงงงวยสืบค้นคำที่ต้องการได้ เพราะงั้นฉันเลยเขียนไปหาภรณ์ทิพย์โดยตรงเพื่อถามความหมายของคำต่างๆ เราพูดคุยสรวลเสเฮฮาและถกเถียงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของความหมายมากมาย จากนั้นพอค่อยๆ นั่งตรวจทานและปรับแก้ร่างต้นฉบับงานแปลอันสะเปะสะปะของตัวเอง ฉันก็ค่อยๆ ได้ยินเสียงภรณ์ทิพย์พูดเป็นภาษาอังกฤษอย่างเข้าปากมากขึ้นมากขึ้น ฉันคิดว่าการทวนและตรวจทานงานแปล ไม่ว่าจะอ่านผ่านหนาจอ บนกระดาษ หรืออ่านออกเสียงซ้ำไปซ้ำมานั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก

5

5. คุณคิดว่าอะไรคือความท้าทายและ/หรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นกับวรรณกรรมแปลภาษาต่างๆ ในโลกของสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ?

เมื่อกวาดตามองว่างานแบบไหนถูกแปลออกมาเป็นภาษาอังกฤษบ้าง ฉันคิดว่าเราจะเห็นความไม่เท่าเทียมอยู่มหาศาลบานเบอะทีเดียว ส่วนใหญ่งานที่ถูกหยิบมาแปลมักมาจากต้นฉบับในภาษายุโรป ก็คือครองตลาดนำมาก่อนเลย ในขณะที่ถ้าเป็นงานแปลจากเอเชีย ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นวรรณกรรมจากทางเอเชียตะวันออก แล้วปลายทางของงานเหล่านี้ก็คือตลาดวรรณกรรมในอเมริกาเหนือและยุโรปเป็นหลัก แต่ตอนนี้ฉันคิดว่าทิศทางของตลาดวรรณกรรมในสหราชอาณาจักรหรือในสหรัฐอเมริกาเองก็ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว อาจะช้าหน่อย แต่เราก็เริ่มเห็นอะไรแปลกตา อย่างงานจากสำนักพิมพ์ทิลเต็ด แอกซิส (Tilted Axis Press) หรือโครงการวรรณกรรมข้ามโพ้นแปซิฟิก (Transpacific Literary Project) ที่เกิดขึ้นจากกิจกรมของกลุ่มนักเขียนเอเชียน-อเมริกัน แต่กลุ่มงานที่ฉันสนใจเป็นพิเศษ รวมถึงเป็นกลุ่มที่คิดว่าทั้งมีศักยภาพรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ และเป็นงานของการปลดแอกในตัวมันเอง คือบรรดาโปรเจคท์แปลและเผยแพร่ผลงานในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ที่กำลังเติบโตนี่แหละ อย่างกลุ่ม AJAR ในเวียดนาม ซีรี่ส์งานวรรณกรรม Unrepressed [เปลื้องปลดการกดขี่] ในอินโดนิเซีย หรือแม้แต่งานของซอยเองก็ด้วย

6

6. มีหนังสือเล่มไหนบ้างที่คุณมักกลับมาเปิดอ่านอยู่บ่อยครั้ง หรือมีนักเขียนคนไหนบ้างที่จุดประกายให้คุณได้เรียนรู้อะไรต่อมิอะไรเพื่อเอามาปรับใช้กับงานเขียน/งานแปล?

หนังสือสองเล่มที่ฉันมีไว้ทั้งในบ้านที่เมดิสันกับที่กรุงเทพฯ คือ Roget’s Thesaurus [พจนานุกรมรวมคำพ้องของโรชีย์] ฉบับที่มีร่องเปิดข้างหนังสือเพื่อง่ายต่อการสืบค้น เป็นตัวช่วยสำคัญที่สุดที่ฉันใช้เพื่อแปลงานเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนอีกเล่มคือ Collected Poems [รวมบทกวีคัดสรร] ของเอเดรียน ริช (Adrienne Rich) ที่สอนฉันเกี่ยวกับทีท่าการยักย้ายถ่ายเทในพื้นที่ของภาษา นอกจากสองเล่มนี้ก็มีหนังสือเล่มอื่นๆ ที่วางอยู่บนโต๊ะทำงานฉัน เป็นเหมือนกับแรงบันดาลใจในบางช่วงของชีวิต จากนั้นเมื่อฉันอ่านจบมันก็จะเคลื่อนตัวขึ้นไปอยู่บนตู้หนังสือ อย่างตอนนี้ ฉันกำลังอ่าน Wayward Lives, Beautiful Experiments: Intimate Histories of Riotous Black Girls, Troublesome Women, and Queer Radicals [ทิฐิในชีวิตและการทดลองอันบรรจิตบรรจง: ประวัติศาสตร์ส่วนตัวลึกซึ้งของเด็กสาวผิวดำแสนโกลาหล, หญิงสาวเจ้าปัญหา และเควียร์ผู้ถอนรากถอนโคน] ของไซดีญา ฮาร์ตแมน (Saidiya Hartman) เป็นหนังสือต้นแบบของจินตนาการและความกล้าหาญที่เผยขึ้นผ่านการเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่ถูกปิดลบกลบทับมาตลอด ส่วนอีกเล่มที่กำลังอ่านอยู่เหมือนกันคือ Moon Fevers [ตื่นใจในจันทรา] รวมกวีของญ๋า เทวียน (Nhã Thuyên) ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยเคทลิน รีส (Kaitlin Rees) บทบันทึกการทำงานของทั้งสองคนเป็นอะไรที่หลักแหลมมาก ในขณะที่ตัวบทกวีเองก็ดึงดูดความสนใจอย่างร้ายกาจ

Since late 2020, the democratic demands of the new generation and the half-buried dreams of previous dissidents are still ringing across the streets of Thailand. As someone who writes and researches about state violence and dissident cultural politics in Thailand from 1932 to present, Tyrell Haberkorn sees translation as part of her activism to archive stories that would have been forcibly forgotten or erased, and to embrace new languages and forms of speech that arise out of the attempts to be suppressed. One of her most recent and highly anticipated project (at least for us, soi squad) is the English translation of Prontip Mankhong’s prison memoir, All They Could Do To Us [มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ]. 

Tyrell Haberkorn is Professor of Southeast Asian Studies at the Department of Asian Languages and Cultures at the University of Wisconsin. She is the author of Revolution Interrupted: Farmers, Students, Law and Violence (2011) and In Plain Sight: Impunity and Human Rights in Thailand (2018), and is currently writing about the history of radical imagination for a more democratic future in Thailand through the life of Supot Dantrakul, a political prisoner, dissident, and organic intellectual active between the 1950s and the 2000s.

1

1. What was your first act of translation? 

A collection of stories of the lives and deaths of human rights defenders assassinated and disappeared between 2001 and 2004 originally published by Fa Diew Kan. In 2005, I was living in Chiang Mai and doing dissertation research about assassinations of farmer activists in 1974-1975. A human rights colleague urged me to get involved with documenting resonant violence happening at the time. So, I translated the stories and then worked with colleagues to write a short analysis of the violence as a submission to the UN Human Rights Council. The maximum word count for the report meant that I had to summarize each story of life and death to 2-3 sentences, rather than the original length of 2-3 pages. The stories in their full form were never published. Today, it would be very easy to disseminate them electronically, but at the time, finding print publication seemed difficult. But that was the beginning of translation for me — and especially the beginning of work combining translation and activism.

2

2. How does your interest and practice in Southeast Asia as a region influence your reading and translation of contemporary Thai literature, or vice versa?

The questions I bring to intellectual and activist work in and about Southeast Asia inform what I choose to read and translate. In my day job as a person who researches and teaches about state violence and repression, my primary concern is being part of documenting the accounts that those in power would prefer were forgotten or erased. As a translator, my interest is resonant. A lot of the translation that I have done has been in collaboration with Prachatai, and has included writing from political prisoners, beginning with Thanthawut Taweeworodomskul, arrested in 2010 and then prosecuted and imprisoned for violation of Article 112; short, public-facing essays by intellectuals inside and outside the university; and perhaps my favorite genre to translate, political declarations and statements. What makes manifestos, lists of demands, and other shouts in written form my favorite kind of work to translate is that they are so full of verve and imagination. In condemning injustice and articulating what change is desired and necessary, the authors are dreaming up a new society. Translating this kind of writing, then, is a chance to listen at the door.

3

3. As an academic, how do you envision scholarly work in translation to be like? Are there any translation theories or approaches that you identify with, or even prescribe to? 

I come to translation first as a reader and an activist, rather than as an academic. What I mean is that I choose to translate writing that I am interested in reading closely or that I think is politically and socially urgent. The primary approach that I identify with as a reader/writer/activist/translator is to revise and revise and revise and revise! As inspiration, I return to Trinh Thi Minh-ha’s writing a lot, and her admonition in Woman, Native, Other: Writing Postcoloniality and Feminism that: ‘So where do you go from here?  Where do I go?  And where does a committed woman writer go? Finding a voice, searching for words and sentences: say some thing, one thing or no thing; tie/untie, read/unread, discard their forms; scrutinize the grammatical habits of your writing, and decide for yourself whether they free or repress. Shake syntax, smash the myths and, if you lose, slide on, unearth some new linguistic paths. Do you surprise? Do you shock? Do you have a choice?’ She is writing in the context of film criticism, but the questions are urgent for translators as well.

4

4. People often think that writing/translating is a solitary activity, but there are many instances where collaborative translation happens and, sometimes, radically. In what ways do you see your past and ongoing collaborations in co-translating, co-writing, co-editing of Thai literature as integral to your engagement with the political issues in Thailand?

Between September-November 2020, I coordinated a workshop, PUBLIC/SCHOLARSHIP: A Workshop on Translation and Southeast Asian Studies, mostly peopled by graduate students from around the world with a few colleagues from outside the university walls joining as well. The premise of the workshop was that we would divide our time between conversation about the possibilities, challenges, politics and practicalities of translation and combining scholarship and translation through five sets of shared readings and critiquing draft translations by workshop members. It was intended to be at once a collective reflecting on the urgency and joy of translation and a chance for each person to develop a sense of what constitutes a ‘good’ translation [there are so many different approaches to this question]. The response was overwhelming — over 30 people joined from around the world.  And so, via Zoom, we had a series of five two-hour meetings and one two-hour public event, where those who wished to do so read their work aloud. 

The workshop came out of a series of frustrations with the place of translation in intellectual work in English about history and politics in Southeast Asia. On the first day of the workshop, I explained that the reason why I wanted to organize it is because the most exciting and important intellectual work in Southeast Asian Studies is not happening in English — it is happening in Thai, Burmese, Indonesian, Vietnamese, Khmer, Lao, Malay, etc. Within English-language academic production about history and politics in Southeast Asia, translation is so often cast as secondary/not scholarship/icing on the cake of ‘real’ scholarship. And yet translation is necessary as part of having a multilingual conversation, which in turn is necessary as part of ongoing processes of decolonization of scholarship.

The workshop was free and there were no credits given — the only requirement was that everyone who joined had to commit to being present for all of the meetings, barring emergencies. Each person was a member of a critique group — so joining each week was essential so that each person would receive feedback from all of the others in their group. This format [mostly] worked, with only a handful of people who showed up when their work was being discussed but did not do so for colleagues. Particularly in the time of the pandemic, the workshop felt full of inspiration and generosity: we gathered every two weeks, from different time zones, to try out ideas and challenge one another. 

With Prontip Mankhong, we chat a lot on LINE. A lot. During the long pandemic summer in North America, when I was not teaching and it was safest to be at home, I finished a full rough (very rough) draft of All They Could Do To Us [มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ] by translating 20 pages/day, 6 days/week. Once I finished the 20 pages, then I could do whatever else I wanted with the day — read poetry or fiction, translate something else, write something else, go for a walk or run, bake cookies, sew, etc. Sometimes it took a few hours, sometimes it took all day, sometimes I stopped after finishing fewer pages. But this work kept me sane over the long months of uncertainty. And the sheer continuity of the days created moments when I would hear fragments of Prontip’s voice in English. Let me explain what I mean: what is so difficult and joyful about this book is that Prontip plays with language, and creates her own words and sentence structure when the existing Thai language fails. She is at once a spunky teenager and a wise granny, a young person entering prison for the first time and a savvy businesswoman. There is no dictionary that can help the lost or confused translator. So I write to Prontip and ask her what she means and we laugh and argue about the possibilities. As I begin to revise the first messy draft, I am very, very slowly hearing more of her voice in English. Revision — including on the screen, on paper, reading out loud, over and over again — is essential.

5

5. Can you share your views on some of the challenges and/or obstacles in the English-speaking publishing world for translated literature?

There is a tremendous inequality within the frame of what is translated into English. European languages overwhelmingly dominate. Within the sphere of translation from Asian languages into English, East Asian languages dominate and the center of publication still remains North America and Europe. This is beginning to change in the UK and the US, ever so slowly, especially with the work of Tilted Axis Press and the Transpacific Literary Project of the Asian American Writers Workshop. What I find far more compelling, and potentially generative and liberatory, are the translation and publishing projects that exist and are emerging within Southeast Asia, such as AJAR in Vietnam, InterSastra’s Unrepressed series in Indonesia, and soi itself. 

6

6. Can you name any book(s) that you always revisit or author(s) you have learned a lot from as a writer/translator?

There are two books that I have at home in both Madison and Bangkok: the thumb-indexed version of Roget’s Thesaurus, the most essential tool for a translator into English, and Adrienne Rich’s Collected Poems, which teach me about language and moving through and with it. Then other books sit on my desk as inspiration for certain periods of time before finding their way to a bookshelf. For now, Saidiya Hartman’s Wayward Lives, Beautiful Experiments: Intimate Histories of Riotous Black Girls, Troublesome Women, and Queer Radicals, because she models such imagination and daring in her writing of histories silenced until now, and Moon Fevers, by Nhã Thuyên, translated from the Vietnamese by Kaitlin Rees, because the note on their collaboration is so acute and the poems so compelling. 

ซอย สควอด |
soi squad

ซอย | soi or ‘soi squad’ accounts the practices of writing, translating, and publishing for its transformative power in giving an access to knowledge. This stance has driven us to explore these practices through multiple facets.

ซอย | soi or ‘soi squad’ accounts the practices of writing, translating, and publishing for its transformative power in giving an access to knowledge. This stance has driven us to explore these practices through multiple facets.