[*สำนวนแปลภาษาไทยโดย หวง เซิ่งเหว่ย]
สืบเนื่องจากสภาวะสูญญากาศของวรรณกรรมไทยในแวดวงสิ่งพิมพ์จีนตั้งแต่ทศวรรษ 1980 วรรณกรรมร่วมสมัยของไทยได้กลายเป็นประเภทหนังสือที่นักอ่านชาวจีนอาจจะไม่ได้คุ้นเคยนัก นอกจากนี้ กลไกการเซ็นเซอร์จากรัฐบาลจีนที่เคร่งครัดขึ้นตั้งแต่ยุค 2000 ทำให้ที่สำนักพิมพ์ท้องถิ่นรวมไปถึงนักแปลอยู่รอดในวงการสิ่งพิมพ์ยากขึ้นอีกด้วย ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ หวง เซิ่งเหว่ย นักแปลวรรณกรรมไทย-จีนชาวเสฉวน ร่วมแบ่งปันความสนใจของเขาในการอ่านและแปลวรรณกรรมไทย ปัญหาในอุตสาหกรรมแปลของจีน รวมไปถึงความหวังของเขาที่จะนำพาเสียงของนักเขียนไทยร่วมสมัยไปสู่ผู้อ่านรุ่นใหม่ในประเทศจีน
หวง เซิ่งเหว่ย เกิดที่มณฑลเสฉวนประเทศจีนเมื่อปี 1995 สำเร็จการศึกษาจากภาควิชาภาษาและวรรณกรรมเอเชียและแอฟริกาจากมหาวิทยาลัยการศึกษาต่างประเทศกวางตุ้งสาขาวรรณกรรมไทยร่วมสมัย งานแปลของเขากระจัดกระจายอยู่ในนิตยสาร วรรณกรรมโลก ปัจจุบัน เซิ่งเหว่ยทำงานนำเสนอแนะนำผลงานของนักเขียนไทยให้กับผู้อ่านภาษาจีน
1
1. เราลองมามองในเชิงดินแดนทางวรรณกรรม อะไรในวรรณกรรมไทยร่วมสมัยที่คุณคิดว่าสามารถทำงาน/สร้างบทสนทนาในบริบทของคุณได้?
ผมแปลเรื่องสั้นสองเรื่องโดยนักเขียนชาวไทย 2 คนในปี 2017 และ 2018 ได้แก่ “สะพานขาด” โดยกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ และ “ลูกชายคนชวา” โดยไพฑูรย์ ธัญญา “สะพานขาด” เป็นหนังสือเล่มแรกที่ผมพบในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยระหว่างมาเรียนแลกเปลี่ยนระดับปริญญาตรีในประเทศไทย ผมวางมันไม่ลงหลังจากอ่านประโยคแรกจบ ต่อมาผมได้อ่าน “Son of the Javanese” ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ แล้วรู้สึกประหลาดใจมากกับเรื่องราวภาษาไทยที่เขียนขึ้นโดยมีฉากหลังเป็นบริบทสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเป็นเรื่องที่หายากมากผมจึงใช้ความพยายามอย่างหนักในการค้นหาต้นฉบับภาษาไทย จากนั้นผมจึงแปลและส่งไปตีพิมพ์กับนิตยสารวรรณกรรมโดยไม่มีความลังเล
ผมรู้สึกโชคดีมากที่ได้พบงานสองชิ้นที่ทั้งหายากและก็เป็นผลงานที่ดีทั้งในเชิงภาษาและเทคนิค วิธีการเล่าเรื่องของ “สะพานขาด” เป็นนวัตกรรมใหม่อย่างมาก ในขณะที่ “ลูกชายคนชวา” เขียนเล่าความเป็นจริงเหมือนใช้มีดผ่าตัดแกะสลักสถานการณ์ที่น่าเศร้าของชนกลุ่มน้อยบนกระดาษ พร้อมๆ กับเล่าประเด็นของการล่าอาณานิคมอัตลักษณ์และชนชั้น ผลงานทั้งสองแสดงให้เห็นถึงมิติทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน ใน “สะพานขาด” ผู้เขียนอ้างถึงความขัดแย้งทางศาสนาและการเป็นปรปักษ์กันทางสังคมในประเทศไทยผ่านชะตากรรมของพี่น้องสองคนที่แยกทางกัน โดยที่น้องชายยังคงเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำของพี่ชายเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในช่วงสงคราม พี่ชายคิดถึงอดีตและจดจำวัยเด็กที่สวยงามของพวกเขา ผมอ่านงานนี้ซ้ำหลายครั้งในรอบสามปีต้องใช้เวลาในการแปล ผมคิดว่าความเจ็บปวดของพี่ชายไม่ได้เกิดขึ้นจากความกลัวต่อสงคราม แต่เกิดจาก “สถานการณ์ที่ไม่เป็นที่รู้จัก” หรือที่ชัดเจนกว่านั้นคือความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียการสื่อสาร ความขัดแย้งนี้เป็นอะไรที่ไม่มีวันไกล่เกลี่ยได้ หลังจากที่ได้อ่านผลงานสองชิ้นนี้ ผมเลยอยากกลับไปอ่านงานอื่นๆ ของพวกเขา รวมถึงงานของผู้เขียนคนอื่นๆ จากภาคใต้ในอนาคต ผมสนใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในพื้นที่นี้มาก โดยเฉพาะสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนต่างชาติพันธุ์และความเชื่อทางศาสนา
นักเขียนอีกคนหนึ่งที่ผมติดตามคือลาว คำหอม ผมได้ศึกษางานของเขาในวิทยานิพนธ์ของตัวเองด้วย อันที่จริงผมไม่ได้ชอบงานเขามากนักในช่วงแรก อาจเป็นเพราะประสบการณ์ท้องถิ่นในงานเขียนของเขารู้สึกห่างไกลกับผมมาก มันจึงเป็นเรื่องยากสำหรับผมที่จะพาตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกของนวนิยายที่เต็มไปด้วยทรายสีเหลือง แผ่นดินที่แตกร้าว และแสงแดดที่แผดจ้า จนกระทั่งต่อมาหลังจากผมได้ไปเยือนอีสานอีกครั้ง ฉากในนวนิยายก็ดูเหมือนจะถูกก่อร่างขึ้นมาใหม่ในความคิดของผมในช่วงนั้น การเดินทางบนรถไฟที่เชื่องช้าอย่างไม่น่าเชื่อนั้นทำให้ผมจินตนาการถึงบทกวีป่า ความหิวโหยและโรคร้ายในนวนิยายของเขา หรือแม้กระทั่งร่างกายที่เสียหายของชาวนาในพื้นที่ ในชั่วพริบตานั้นผมรู้สึกเหมือนโดนถ้อยคำของเขา “กลืนกิน” เข้าไป เมื่อกลับมากรุงเทพฯ ผมเริ่มเก็บรวบรวมผลงานอื่นๆ ของเขาและพบว่าเขามีจุดยืนที่น่าสนใจในในประวัติศาสตร์วรรณคดีไทยสมัยใหม่ ผลงานของเขาเปลี่ยนไปจากการถูกไล่ออกไปสู่การถูกแบนอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะปรากฏขึ้นอีกครั้งในฐานะหนึ่งในผลงาน “คลาสสิก” กระบวนการทั้งหมดเป็นเรื่องที่น่าทึ่งและส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากการมีส่วนร่วมของนักเขียนเอง ลาวเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่มีจุดยืนทางวรรณกรรมเกี่ยวกับการเขียนและการปฏิบัติทางการเมืองของเขา ก่อนจะลี้ภัยเขาอุทิศตนให้กับการเมืองอย่างจริงจัง แม้จะถูกเพื่อนร่วมงานเข้าใจผิดก็ตาม ในความคิดของผมเขาเป็นฆวาน รูลโฟของประเทศไทย ลาว คำหอมอยู่ในกลุ่มนักเขียนไทยตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ถึง 1980 ผลงานของพวกเขาแทบจะผูกติดกับการเมือง ช่วงนั้นงานวรรณกรรมยอดเยี่ยมไม่มีขาดแคลน ขณะนี้ผมกำลังแปลหนังสือรวมเรื่องสั้นภาษาไทย ในกระจก: วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน เรียบเรียงโดย เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน สำหรับผมแล้วเรื่องสั้นชุดนี้นำเสนอประวัติศาสตร์วรรณคดีไทยในยุคครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ได้อย่างดีเยี่ยม
ผมตั้งใจที่จะแนะนำกลุ่มนักเขียนชาวไทย ‘รุ่นใหม่’ ให้กับผู้อ่านชาวจีน ตอนนี้ผมกำลังอ่านงานของจิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท นักเขียนหลังยุค 90 ที่ผมประทับใจมาก เธอจบการศึกษาด้านวรรณคดีรัสเซีย ผมชอบ “รถไฟเที่ยงคืน” ในรวมเรื่องสั้น สิงโตนอกคอก
สุดท้ายนี้ ถ้าผมมีเวลามากพอผมก็อยากลองแปลบทละคร โดยเฉพาะละครเวทีร่วมสมัยบางเรื่องที่เขียนโดยนักเขียนรุ่นใหม่ คิดว่าบรรดานักเขียนและผลงานที่กล่าวถึงข้างต้นน่าจะเพียงพอสำหรับ ‘แผน 5 ปี’ ของผม
2
2. คุณคิดว่าอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคในการเผยแพร่วรรณกรรมไทยร่วมสมัยไปสู่สายตาผู้อ่านชาวจีน?
คำถามนี้สามารถอภิปรายได้จากสองด้าน ประการแรก แวดวงวรรณกรรมไทยยังไม่ได้ส่งเสริมตัวเองสู่โลกภายนอกมากพอ ผมจำได้ว่าในนิตยสาร ปรากฏ วินทร์ เลียววาริณบอกว่าเขาขอให้นักแปลภาษาอังกฤษแปลผลงานของเขา จากนั้นก็ขายงานแปลภาษาอังกฤษผ่านช่องทางต่างๆให้กับคนที่อยากอ่าน กระบวนการทั้งหมดทำโดยผู้เขียนคนเดียว เขาต้องการเผยแพร่ผลงานของเขาในต่างประเทศมากจนไม่ได้คิดถึงเรื่องค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามไม่ว่าผู้เขียนจะพยายามมากแค่ไหนความสามารถของเขาก็มีจำกัดอยู่มาก ในขณะเดียวกันการสนับสนุนด้านวรรณกรรมจากรัฐบาลไทยมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย ในที่นี้ผมจะพูดถึงประเทศอย่างโปแลนด์และเกาหลีใต้ รัฐพวกเขาให้การสนับสนุนการแปลวรรณกรรมและการแนะนำวัฒนธรรมวรรณกรรมของตนในต่างประเทศอย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่นกระทรวงวัฒนธรรมโปแลนด์ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่นักแปลวรรณกรรมในแต่ละประเทศและภูมิภาค ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาจึงมีการแปลและตีพิมพ์ผลงานวรรณกรรมจากสองประเทศนี้เผยแพร่ไปทั่วโลก
สำหรับสถานการณ์ในประเทศจีน อันดับแรกเลยผมคิดว่าสภาพแวดล้อมในแวดวงวรรณกรรมไม่ค่อยเคารพการทำงานของนักแปลวรรณกรรมเท่าไหร่ เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้อ่านข่าวเกี่ยวกับเหวิน เจ๋โร่ ซึ่งเป็นนักแปลวรรณกรรมญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงและขยันขันแข็งที่สุดคนหนึ่งในประเทศจีน เธอทำงานหนักแม้ว่าตอนนี้จะอายุ 90 ปีแล้วก็ตาม ผมคิดว่าสำนวนแปลหนังสือโดยผู้เขียน ยูกิโอะ มิชิมะ (Yukio Mishima) ของเธอเป็นสำนวนที่ดีที่สุดในจีน อย่างไรก็ตาม อาจเป็นเพราะอายุมากแล้ว เหวินเจียรัวจึงไม่เข้าใจตลาดที่เปลี่ยนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เธอยอมทำงานในอัตราค่าแปลที่ต่ำมาก นั่นคือ 32 หยวน (ประมาณ 150 บาท) ต่อหนึ่งพันคำจากสำนักพิมพ์ นี่แสดงให้เห็นว่านักแปลไม่สามารถจะอยู่รอดจากการทำงานนี้ ค่าตอบแทนมันไม่เหมาะสมกับแรงที่ลงไป เท่าที่ฉันรู้นักแปลส่วนใหญ่เลือกที่จะมีงานประจำและทำงานแปลบางส่วนหลังจากเลิกงานมากกว่า ในความเป็นจริงอาจารย์หลายคนในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยชื่นชอบที่จะทำงานแปล แต่เวลาของพวกเขาก็ถูกจำกัดด้วยแรงกดดันในการผลิตงานวิจัย ด้วยค่าตอบแทนและเวลาที่จำกัด นักแปลที่ยอดเยี่ยมบางคนไม่เต็มใจที่จะส่งมอบงานของพวกเขาให้กับสำนักพิมพ์ในราคาถูก เมื่อเวลาผ่านไปนักแปลบางคนอาจหันไปหาอาชีพอื่นและเลิกมีส่วนร่วมในการแปลวรรณกรรม ในทางกลับกันผู้จัดพิมพ์ต้องส่งมอบผลงานชิ้นดีๆ ให้กับนักแปลที่ไม่มีประสบการณ์ พวกเขายินดีที่จะรับเรทต่ำและผลิตงานเร็วขึ้น คุณภาพของงานแปลก็ลดลงโดยปริยาย หากสำนักพิมพ์ไม่สนใจคุณภาพของการแปลมากนัก การแปลวรรณกรรมจะกลายเป็นสาขาที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับในอนาคต และร้านหนังสือก็จะมีแต่งานไร้คุณภาพมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถตำหนิเพียงความไม่รู้สึกผิดชอบชั่วดีของสำนักพิมพ์กภายใต้กลไกการตรวจสอบที่รุนแรงขึ้นของจีน จำนวน ISBN ได้ลดลงอย่างมากและปริมาณการพิมพ์ก็ถูกจำกัดเช่นกัน ความปรารถนาที่จะอยู่รอดของสำนักพิมพ์เพิ่มขึ้นแม้ในยุคที่เกิดปรากฏการณ์ ‘การเซ็นเซอร์ตัวเอง’ อย่างรุนแรง
ประการที่สองผมคิดว่าผู้อ่านชาวจีนยังไม่รู้จักประเทศไทยมากพอ ความประทับใจของผู้คนส่วนใหญ่อาจมาจากความทรงจำการเดินทางวัดในท้องถิ่น พระพุทธรูป โรงแรม และรีสอร์ท บางคนอาจชอบภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ของไทย พวกเขาอาจจะรู้จักดาราภาพยนตร์ไทยมาบ้าง แต่ความรู้เกี่ยวกับความชอกช้ำทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยนั้นแทบไม่มีเลย ด้วยเหตุนี้จึงอาจไม่สนใจวรรณคดีไทย
โดยสรุปแล้วผมคิดว่าหากวรรณกรรมไทยเลือกที่จะตีพิมพ์ในประเทศจีนอาจต้องเผชิญกับแรงกดดัน เนื่องจาก ‘ไม่เป็นที่นิยม’ และ ‘ไม่เป็นที่คุ้นเคย’ สำนักพิมพ์จึงอาจปฏิเสธการเลือกหัวข้อวรรณกรรมไทยได้ง่าย โดยพิจารณาจากเหตุผลหลายประการเช่นยอดขายในตลาดหรือกลไกการเซ็นเซอร์จากรัฐบาล แต่ถ้าพูดถึงสภาวะสูญญากาศของวรรณคดีไทยในประเทศจีนช่วงเวลา 20 ปีตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา ผมคิดว่าเป็นไปได้ที่จะเลือกแปลงานน้ำดีที่มีความหมายก่อน ผมไม่ได้หมายถึงผลงานของนักเขียนในช่วงทศวรรษ 1980 เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลงานใหม่ๆ ที่สะท้อนถึงสถานการณ์ปัจจุบันของสังคมไทย สามารถแสดงอารมณ์ความคิดและสภาพแวดล้อมการเติบโตของคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย ผมคิดว่าผลงานดังกล่าวน่าจะโดนใจผู้อ่านชาวจีนไม่น้อย
สุดท้ายนี้ ผมหวังว่ารัฐบาลไทยหรือภาคเอกชนจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวรรณกรรม อาจจะมีการจัดการเวิร์คชอปการแปลโดยเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศอื่น ๆ ดูรูปแบบกระบวนการแปลที่แตกต่างกันเพื่อช่วยให้นักแปลทำงานได้สำเร็จ แน่นอนว่าทั้งหมดนี้เป็นเพียงความคาดหวังส่วนตัวของผมเท่านั้น
3
3. คุณมองว่าการทำงานแปลเป็นงานทางการเมืองอย่างไรได้บ้าง?
แม้ว่าตามทฤษฎีการแปลมักจะมีประโยคที่ว่า ‘นักแปลคือผู้ล่องหน’ แต่ผมคิดว่านี่เป็นความจริงแค่ในระดับตัวบทเท่านั้น ในความคิดของผม สุ้มเสียงของนักแปลมีน้ำหนักมากจริงๆ เนื่องจากงานนั้นไม่สามารถพูดในภาษาที่มันถูกเขียนขึ้นมาได้ นักแปลจึงต้องเป็นผู้อ่านที่มีความละเอียดอ่อนไหวต่อภาษาและสามารถแนะนำงานนี้ให้ผู้อื่นหรือผู้จัดพิมพ์ได้ ศักยภาพในการเผยแพร่ผลงานจึงขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์และความอ่อนไหวต่อภาษาของนักแปลเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ผมคิดว่านักแปลต้องมีจุดยืนที่แน่วแน่และเลือกที่จะร่วมมือกับสำนักพิมพ์ที่ให้ความสำคัญกับการแปลอย่างจริงจังเพื่อที่จะสามารถกำหนดชะตากรรมของงานได้
4
4. คุณจะเปรียบเปรยวิธีการแปลของคุณว่าเหมือนกับอะไร?
ในความคิดของผม ‘ความภักดี’ เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก นั่นคือการเคารพต้นฉบับ ผมคิดว่าการแปลเป็น ‘การแสดง’ แบบหนึ่ง แต่เป็นการแสดงที่มีข้อจำกัด นักเขียนนำเสนอการแสดงต่อหน้าคุณ หลังจากดูแล้วคุณสามารถสร้างมันซ้ำขึ้นมาได้ในแบบของคุณเอง ด้วยวิธีนี้การแสดงออกและการเคลื่อนไหวทุกส่วนในงานต้นฉบับจะไม่เหมือนกันทุกประการ เมื่อนักแปลกำลัง ‘แสดง’ เขาก็ได้เพิ่มความเข้าใจและการตีความของตัวนักแปลเองเข้าไปด้วย ในกระบวนการทั้งหมดสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ‘การลงทุนลงแรง’ เพื่อการจินตนาการเกี่ยวกับอารมณ์ของผู้เขียน ในความพยายามเข้าใจตัวละครในนวนิยาย และการรับรู้ภาษา ฯลฯ ทั้งหมดนี้มาจากผู้เขียน และผู้แปลไม่สามารถพูดเสียงของตัวเองทาบทับลงไปได้
โดยส่วนตัวแล้ว ผมต้องพึ่งพาความรู้สึกเป็นอย่างมาก เมื่อผมอ่านงานที่ชอบมาก ผมจะหาวิธีเดินทางไปในที่ที่นักเขียนเติบโตขึ้นมา ค้นหาถนนที่เขาชอบ อ่านหนังสือที่เขาแนะนำและเรียนรู้เกี่ยวกับนิสัยที่เค้ามีในการสร้างสรรค์งานของเขา การกระทำเหล่านี้ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการแปล แต่มันสำคัญมากสำหรับผม ผมจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้รู้สึกถึงการมีอยู่ของผู้แต่งเพื่อที่จะสืบเท้าเข้าไปในผลงานของเขาอย่างราบรื่นมากขึ้น ราวกับว่าผมได้ใกล้ชิดกับตัวละครมากขึ้น ด้วยวิธีนี้ความสัมพันธ์ระหว่างนักเขียนและนักแปลจึงเป็นเหมือนการเล่นซ่อนหา นักแปลจะรวบรวมเบาะแสเป็นเวลานาน ค้นหาเบาะแสที่ผู้เขียนได้ทิ้งไว้ เลียนแบบสไตล์การเขียนของเขาและจำลองชีวิตอื่นในโลกแห่งผลงานของเขา ผู้แปลอาจค้นพบร่องรอยของผู้เขียนได้อย่างรวดเร็ว หรืออาจไม่พบร่องรอยอะไรเลยก็ได้
5
5. การทำงานแปลของคุณได้รับอิทธิพลจากความสนใจหรือการทำงานด้านอื่นๆ ของคุณอย่างไรบ้าง?
หลังจากเรียนจบปริญญาโทผมเริ่มทำงานในบริษัทเทคโนโลยี งานประจำในแต่ละวันของผมคือการติดต่อกับลูกค้าชาวไทยและแก้ปัญหาอุปกรณ์ของพวกเขาผ่านการสั่งงานระยะไกล บางครั้งผมต้องส่งอีเมลถึงลูกค้าชาวไทยหรือแปลคู่มือผลิตภัณฑ์ให้ด้วย แม้ว่าเวลาในการอ่านนวนิยายของผมจะลดลงอย่างมาก แต่ผมก็สนุกกับการไปทำงาน ผมใช้ประโยชน์จากเวลาพักเพื่อนั่งในร้านกาแฟของบริษัทเพื่ออ่านหนังสือ กลับไปที่สำนักงานหนึ่งชั่วโมงต่อมาและนั่งเดาพล็อตที่ยังอ่านไม่ถึง หลังจากได้รับโทรศัพท์จากลูกค้าชาวไทยเป็นครั้งคราวผมก็กลับไปเพ้อฝันเกี่ยวกับนวนิยายเรื่องนี้ทันที บางครั้งผมก็ลืมเรื่องที่เพิ่งเดาไว้ในหัว เลยเริ่มจินตนาการถึงสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ผมคิดว่านี่เป็นกระบวนการหนึ่งในการเข้าใกล้ผู้เขียนราวกับว่าผมกำลังเขียนหนังสือกับเขา (หัวเราะ) ‘สถานะที่แบ่งแยก’ ค่อนข้างทำให้ผมรู้สึกหวงแหนเวลาเป็นพิเศษ เวลาที่ผมอยู่คนเดียวหลังจากเลิกงานประสิทธิภาพในการอ่านและการแปลของผมดีขึ้นมากเพราะผมรู้ว่าเวลานั้นมีค่า
นอกจากนี้ผมยังสื่อสารกับผู้สร้างหลายคนเป็นครั้งคราว เพื่อนเหล่านี้อาจไม่ได้มีส่วนร่วมในแวดวงวรรณกรรมทุกคน บางคนถ่ายภาพยนตร์และบางคนก็ทำเพลงในเวลาว่าง แต่ไม่ว่าเราจะทำงานในสาขาใดก็ตาม ผมคิดว่าเราทุกคนแบ่งปันกระบวนการขุดความรู้สึกและประสบการณ์ในการแก้ไขงาน ผมจำได้ว่าในระหว่างการฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Breakfast Room เพื่อที่จะเข้าใจภาษาถิ่น ผู้กำกับได้สลับการเปรียบเทียบคำศัพท์ของ ภาษาถิ่น-ภาษาจีนกลาง ในภาพยนตร์และอธิบายว่ายิ่งภาษาติดดินและหยาบคายมากเท่าไหร่ มันก็จะสื่อถึงประสบการณ์ร่างกายมนุษย์มากเท่านั้น สิ่งนี้ทำให้ผมนึกถึงบทสนทนาระหว่างตัวละครในผลงานของลาว คำหอม การแสดงอวัยวะในร่างกายที่เปลือยเปล่า ความกระหายและความต้องการทางเพศที่รุนแรง นี่คือบทกวีที่หยาบคาย ดังนั้นผมจึงใช้ภาษาถิ่นบางส่วนจากบ้านเกิดของผมที่เสฉวนจีนเพื่อให้เข้ากับภาษาถิ่นที่ชาวนาพูดในอีสาน สาเหตุที่ทั้งสองติดต่อกันได้เป็นเพราะผมได้พบ ‘ความหลงใหลในยุคดึกดำบรรพ์’ ที่มีอยู่ในทั้งสองภาษา
6
6. มีหนังสือหรือตัวบทอะไรบ้างที่คุณย้อนกลับไปอ่านมันบ่อยๆ หรือนักเขียนคนไหนบ้างที่คุณรู้สึกว่าคุณได้เรียนรู้เยอะในฐานะนักเขียน/นักแปล?
นักเขียนคนโปรดของผมคือหยัน เกอ (Yan Ge) เธอเป็นผู้รู้แจ้งทางวรรณกรรมของผม และเป็นนักเขียนรุ่นที่สื่อจีนเรียกกันว่านักเขียน ‘หลังยุค 80’ คนหนุ่มสาวส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนรุ่นหลังยุค 90 อย่างผม ก็มี ‘ไอดอลวรรณกรรม’ เป็นของตัวเอง พวกเราคิดว่าการเขียนเป็นสิ่งที่เจ๋ง อย่างไรก็ตามด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศทางสังคมและการเมือง สื่อพิมพ์แบบดั้งเดิมค่อยๆ สูญเสียอิทธิพลไปและมีสิ่งใหม่ๆ ดึงดูดความสนใจของผู้คนที่อายุน้อยกว่า เช่น เพลงแร็พ เกม วิดีโอบล็อก… รูปแบบของมันตระการตามากกว่า ‘ไอดอลด้านวรรณกรรม’ บางคนยอมทิ้งความตั้งใจเดิมและเปลี่ยนไปสร้างภาพยนตร์หรือเขียนบทละคร แม้ว่าพวกเขาจะยังสามารถแสดงความสามารถของตนในสาขาเหล่านี้ได้ แต่ก็ยังห่างไกลจากความตั้งใจเดิม ในสาขาใหม่มีนักเขียนเพียงไม่กี่คนที่ประสบความสำเร็จจริงๆ
หยัน เกอ เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ยังคงยืนยันที่จะเขียนนวนิยาย เธอยังคงฝ่าฝันอุปสรรคทั้งด้านรูปแบบและภาษา มีเซอร์ไพรส์ใหม่ๆ ให้เห็นอยู่เสมอในผลงานของเธอเกือบทุกเรื่อง ผมยังจำความรู้สึกที่น่าทึ่งเมื่อได้อ่านเรื่องสั้นของเธอตอนสมัยมัธยมต้นได้เสมอ เธอเขียนเกี่ยวกับการตายของนักเขียนบทภาพยนตร์ที่สิ้นหวัง เกี่ยวกับคนเลี้ยงผึ้งและคนรักของเขา เกี่ยวกับสัตวแพทย์ที่มองโลกในแง่ร้าย และเกี่ยวกับเมืองที่ค่อยๆ พังทลายลง ที่ซึ่งฝันร้ายของผู้คนจะกลายเป็นลูกโป่งสีดำ… ในตอนนั้นผมช็อคมากว่าเราสามารถเขียนนิยายแบบนี้ก็ได้ด้วยเหรอ?
หากผลงานในช่วงแรกของเธอแสดงให้เห็นถึงพรสวรรค์และจินตนาการอันน่าทึ่ง ตั้งแต่ May Queen เธอก็เริ่มสำรวจความลึกของนวนิยายเรื่องนี้อย่างมีสติและเขียนถึงบ้านเกิดของเธอ (ของเรา) ในมณฑลเสฉวนด้วยภาษาหยาบคาย นี่เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าในงานเขียนของเธอ เธอเริ่มปลีกตัวออกจากการเขียนลักษณะกวีนิพนธ์ที่สละสลวยโดยไม่รู้ตัวและใช้ภาษาที่ชัดเจนมากขึ้นในการเล่าเรื่องบ้านเกิดของเธอจากความทรงจำ สไตล์การเขียนของเธอดึงดูดให้นักเขียนรุ่นใหม่หลายคนทำตาม สิ่งที่น่าแปลกใจยิ่งกว่าคือเธอย้ายไปไอร์แลนด์ในปี 2015 และเริ่มพยายามเขียนเรื่องราวเป็นภาษาอังกฤษ โดยธรรมชาติแล้วความสำเร็จของเธอนั้นแยกออกจากประสบการณ์ชีวิตของเธอไม่ได้เลย แต่ฉันคิดว่าสิ่งที่สำคัญกว่าคือเธอเป็นคนพากเพียรและทำงานหนัก ถ้าเป็นไปได้ผมอยากจะแนะนำผลงานของเธอให้กับผู้อ่านในประเทศไทย
ผมอยากจะเอ่ยถึงนักแปลอายุน้อยที่มีอิทธิพลต่อผมมากอีกคน เธอคือ หลิน เว่ยหยุน (Wei-Yun Lin-Górecka) นักแปลวรรณกรรมโปแลนด์ชาวไต้หวัน ผมชื่นชมประสบการณ์ชีวิตของเธอทัศนคติที่มีต่องานแปลและความเป็นทั้งนักเขียนและนักแปล ในช่วงปีแรก ๆ เธอหลงรักโปแลนด์และบรูโน ชุลทซ์ (Bruno Schultz) เพราะโปสเตอร์ภาพยนตร์ จากนั้นก็เสียอาการอยู่เรื่อยมาในสายตาของผมเธอเป็นนักแปลหนังสือของชุลทซ์ที่เก่งที่สุด จากนั้นผมก็รวบรวมผลงานอื่นๆ ของเธออย่างเมามัน น่าแปลกที่เธอเขียนเรียงความและบทกวีด้วย กวีมีความอ่อนไหวต่อภาษามากที่สุด อย่างไรก็ตามนี่เป็นหัวข้อที่มักถูกถาม บรรณาธิการจะตัดสินสำนวนแปลที่ดีได้อย่างไรเมื่อพวกเขาไม่เข้าใจภาษาต้นฉบับ ในความคิดของผมหากนักแปลเป็นนักเขียนด้วยแล้วล่ะก็ สำนวนการแปลของเขาจะต้องไม่เลวร้าย
คนอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อผมคือ จินเหว่ย (Jin Wei) และ อู๋ยั่น Wu Yan พวกเขาเป็นอาจารย์สอนวรรณคดีญี่ปุ่นที่มหาวิทยาลัยในช่วงที่ผมเรียนปริญญาตรี หนังสือแปลเรื่อง Man’yo Luster คือสำนวนแปลที่ดีที่สุดของพวกเขา ทั้งสองเชื่อว่าคอลเลกชันเพลงญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดผลิตขึ้นในสมัยนารา สุนทรียภาพของเพลงญี่ปุ่นในเวลานั้นมีความเรียบง่ายและเต็มไปด้วยความงดงามแบบผู้ชาย ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะถูกนำมาแปลในรูปแบบที่หรูหราเกินไป และไม่เหมาะอย่างยิ่งที่จะแปลออกมาในรูปแบบของกวีนิพนธ์เชิงเมตริกดั้งเดิมของจีน นอกจากนี้คุณ จินเหว่ย ยังได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับตัวบทและแก้ไขข้อผิดพลาดในสำนวนแปลอื่น ๆ ในช่วงสิบปีนับตั้งแต่ที่เขาแปลเสร็จ ทัศนคติเช่นนี้หาได้ยากมากในปัจจุบัน อ้อ นอกจากนี้ตัวเขาเองยังเป็นกวีด้วยนะ
[*English and Chinese translation by Huang Shengwei]
Following the vacuum of Thai literature in the Chinese publishing scene from the 1980s, contemporary Thai literature has become an unfamiliar genre to most Chinese readers ever since. In addition, the stricter censorship laws introduced by the Chinese government since the 2000s have made it difficult, not only for local publishers, but also translators to survive. In this interview, Huang Shengwei, a translator of Thai literature into Chinese from Sichuan, China, shares his passion for reading and translating Thai literature, the problems for translators in the Chinese publishing industry, and his hopes to bring contemporary Thai voices to the new generation of China.
Huang Shengwei graduated from the Department of Asian and African Languages and Literatures of Guangdong University of Foreign Studies, majoring in Thai Modern and Contemporary Literature. His translations are scattered in the “World Literature” magazine. He is currently working on introducing Thai modern and contemporary literature to the Chinese-speaking readers.
在20世纪80年代,中国大陆曾掀起一股亚非文学译介的浪潮,其中也不乏泰国文学作品的身影。然而,自这股热潮退却之后,中国大陆的出版市场上再难见到泰国作家的作品。如今三十年过去,中国大陆也发生了很多变化,出版界开启了严厉的“自我审查”时代,各种新的政策对文学出版也相当不利。这不仅关乎到国内的写作者,它也影响到译者的生存和发展。在本次采访中,青年译者黄胜伟向我们分享他阅读的体验,他对泰国文学的看法,以及他对文学翻译的热情。他目前的梦想是接着三十年前曾译介到国内的那些作品,将之后那些年代里,出现过的一些优秀的泰国文学作品译介到国内,并着力挖掘出当代泰国文坛的“新声音”。
黄胜伟,1995年生于四川。硕士毕业于广东外语外贸大学亚非语言文学系,主修泰国现当代文学。译作散见于《世界文学》杂志。目前正致力于向华语世界介绍泰国现当代文学作品。
1
1. Let’s imagine the literary terrain: what potential conversations can contemporary Thai literature contribute or initiate in your context?
In 2017 and 2018, I translated two short stories by two Thai authors: “Broken Bridge” [สะพานขาด] by Kanokphong Songsomphan and “Son of the Javanese” [ลูกชายคนชวา] by Paitoon Tanya. “Broken Bridge” was the first book that I found in the university library during my undergraduate exchange in Thailand. I couldn’t put it down after reading the first sentence. Later, I came across the English version of “Son of the Javanese” in an English journal, and was very surprised to find a Thai story written against the backdrop of World War II. Since it was such a rare discovery, it took me a lot of time to find the original Thai text, which I then translated and sent to a literature magazine without hesitation.
I think I’m very fortunate to come across such rare and, in my opinion, good works. Both works have rich historical dimensions: while the language and narrative techniques of “Broken Bridge” are incredibly innovative, “Son of the Javanese” rewrites reality like a scalpel, carving out the tragic plight of ethnic minorities on paper, as well as issues of colonization, identity and class. In “Broken Bridge”, the author refers to the religious conflict and social antagonism in Thailand through the fate of two brothers who parted ways. As the older brother grows into an adult, and during the war, his younger brother remains with him as a fragment of his past that keeps coming back to him. Re-reading this work during the three years that I have taken to translate it, I think that the older brother’s pain does not come from the fear of war, but the fear of an ‘unknown situation’ or, more specifically, the risk of losing communication. Therefore, the conflict is irreconcilable. These short stories make me want to read more from these two authors, as well as other authors from the southern region. I’m very interested in the histories and cultures of this region, especially the living conditions of different ethnic and religious groups.
Lao Khamhom, an author I also wrote my graduation thesis on, is another author whose works I follow. In fact, at the beginning, I wasn’t so fond of his works, maybe because the local experience in his writings felt distant to me. It was difficult for me to situate myself in a world full of yellow sand, cracked land and the scorching sun. Until later, when I revisited Isan, scenes from the text were brought back to life on that incredibly slow train journey: the wild poetry, the hunger and diseases, and even the damaged bodies of local farmers. In that instant, I almost felt like I was truly ‘engulfed’ by the text. I started collecting his works when I returned to Bangkok, and discovered his very unique existence in the history of modern Thai literature. His works went from being dismissed to being officially banned, before reappearing as one of the canonical ‘classics’. The whole process is quite dramatic, and this was partly due to the author’s own involvement. Lao Khamhom was one of the few authors who had firmly established his stance on his writing and political practice. Before going into exile, he actively devoted himself to politics, despite being misunderstood by his colleagues. To me, he is the Thai Juan Rulfo. Lao is one of the politically active Thai authors from the 1960s to the 1980s: a period, in my opinion, where there was no shortage of excellent works. I am currently translating In the Mirror: Literature and Politics in Siam in the American Era, compiled by Benedict Anderson, a collection of short stories that, to me, perfectly presents the history of Thai literature in the second half of the 20th century.
I’m also trying to introduce a group of ‘new generation’ Thai authors to Chinese readers. For example, the works of post-90s author and Russian literature graduate, Jidanun Lueangpainsamut, surprised me very much, especially the short story “Midnight train” in her collection, Rebellious Lion. Authors who have attracted much attention from the European and American circles like Dan-aran Saengthong, Prabda Yoon and Uthis Haemamool are also authors that I’d like to focus on later. Finally, if I have enough time, I would also like to try translating dramas, especially contemporary stage drama written by young authors. The authors and works listed above are enough to make up my ‘Five-Year Plan’.
1. 在目前的翻译工作中,你有怎样的安排和计划?你觉得当代泰国文学中,还有什么值得译介,或者说有哪些作品能够和你建立对话?
答:提到自己的译作,我在2017年和2018年翻译了两个泰国作者的短篇小说,分别是加诺鹏·宋松潘的《断桥》和派吞·谭亚的《爪哇人之子》。我和这两篇作品有很大的缘分。《断桥》是我本科在泰国交换期间,在大学图书馆里随手翻到的第一本书,我读了第一句就爱不释手。随后,我在一个英文期刊上,先是读到了《爪哇人之子》的英译版,觉得非常惊喜,因为难得发现了一个以二战为背景的泰国故事。后来又费了很大的力气找到泰语原作,没有丝毫犹豫就翻译投稿给了《世界文学》杂志。
我觉得自己是个非常很幸运的人,因为遇到的这两篇作品都是难得一见的好作品。《断桥》的语言和叙事手法极其创新;而《爪哇人之子》虽偏重写实,却像手术刀一般,将外来族裔的悲惨处境跃然纸上,还探讨了殖民、身份和阶级的问题。两篇作品都表现出丰富的历史维度。这里,我顺便多聊聊《断桥》。我想读过这篇小说的人都能明白,作者通过两兄弟分道扬镳的命运来指涉泰国的宗教冲突和社会对立。故事中,成年后的弟弟一直存在于哥哥零碎的回忆中,哥哥在战争途中不断想起往事,不断追忆兄弟两人的美好童年。然而,在这样的温存中,他也不得不在关键时刻怀疑弟弟的身份。我在译文发表之后的三年里,多次重读了这篇作品,我认为哥哥的痛苦并不是来源于对战争的恐惧,而是对未知的恐惧,这种未知来源于失去沟通的可能,进而冲突也永远无法达成和解。值得注意的是,以上两位作者都是泰国南部人。我想,在日后我还会继续读这两位作者的作品以及南部地区的作者。我非常关注这个地区的历史和文化,非常在乎不同族裔和宗教信仰的人在该地区的生活方式和生存状态。
此外,我关注的另一个作者是佬·堪宏,他是我的毕业论文的研究对象。真正系统地阅读佬·堪宏是我上了硕士之后的事了。其实一开始我是不太喜欢的,可能因为他笔下的乡土经验离我有些遥远,我很难将自己安放到那个黄沙弥漫、土地龟裂、烈日当空的小说世界。直到后来,我去了一次东北部,所见所闻几乎和他小说里的世界一模一样。在那趟无比缓慢的火车上,我不断地想象那蛮荒的诗意,想象着字里行间的饥饿和疾病,甚至是当地农民残损的身体,我几乎是在那一瞬间觉得自己真正进入了佬·堪宏的作品中。回到曼谷之后,我才开始集中收集他的资料和其他作品,发现他在泰国现代文学史上也是一个非常独特的存在,他的作品从不受关注,到被官方封杀,再到作品重见天日,并被列入经典,整个过程颇具戏剧性。作品所遭遇的对待,也牵涉出作者自身的经历。佬·堪宏是我见过为数不多的坚定自己文学立场的人。他在作品中是什么态度,在政治实践中就是什么态度。他在流亡前积极投身革命,虽然惨遭同僚的误会,但足以见得他的真诚,他在我心中就是泰国的胡安·鲁尔福。
若以佬·堪宏为一个起点,便可以牵引出一批泰国上世纪20世纪60~80年代的作者。他们的作品虽然与政治牢牢地绑在一起,但也不乏优秀之作。我目前正在从事的翻译工作就是本尼迪克特·安德森编选的泰国小说集《在镜中》。这本小说集完美地呈现出20世纪后50年泰国文学史的面貌。
其次,我还在尝试努力介绍一批泰国文坛的“新生代”作者。目前我读到到一位让我非常惊艳的90后作者吉德蓝·仑皮萨穆,她是一位俄罗斯文学专业毕业的学生。我非常喜欢小说集《反叛的狮子》中的那篇《深夜的火车》。而备受欧美出版界关注的丹阿兰·桑托,普拉达·云和乌缇·赫玛汶等也是我之后会集中关注的作者。
最后,如果我时间充足,且不限于小说这一单一形式,我还想尝试戏剧的翻译,尤其是一些年轻的当代舞台剧的作者。以上提及的作者和作品,足够做出一个属于我个人的完整的“五年计划”了。
2
2. What do you think are the obstacles for contemporary Thai literature in reaching the readers living in your context?
This topic can be addressed in two different aspects. First of all, I don’t think that the Thai literary circle has promoted itself enough to the outside world. I remember that Win Lyovarin said in Prakod journal that he had asked an English translator to translate his works and sell it to people through various channels. This whole process was carried out by the author alone. He really wanted to distribute his works overseas so much that he didn’t even care about the costs. However, an author can only do so much to realize his ideals. At the same time, there is very little or almost no support on the literary front from the Thai government. Poland and South Korea, for example, provide considerable support for literary translation and promotion of their literary culture abroad. The Polish Ministry of Culture offers financial support to literary translators in each country and region. In the last five years, literature from these two countries has been extensively translated and promoted around the world.
As for the situation in China, I think the whole publishing environment is quite disrespectful to literary translators. For instance, I recently read about Wen Jieruo, one of the most famous and diligent translators of Japanese literature in China who is still working at the age of 90. Her translation of Yukio Mishima is also the best edition in China. However, perhaps because of her old age, she did not understand how the market changed over the years, so she agreed to work for a publishing house who pays her an ultra-low rate of 32 yuan (about 150 Baht) per thousand words. This rate is impossible for translators to survive on this job alone; the rewards are disproportionate to the work. As far as I know, most translators have full-time jobs and they translate on the side. In fact, many professors in colleges and universities like to do translations, but their time is often restricted by the pressure to produce research. With limited remuneration and time, some excellent translators are less willing to hand over their works to publishers on an underpaid basis. Over time, some translators might give up literary translation completely and turn to more rewarding career choices. This also means that publishers then have to rely on inexperienced translators, who are able to accept lower rates and operate at higher pace, thus compensating the quality of the translation. If publishers don’t care enough about the quality of translations, then literary translation will become a less respected field in the future and we can no longer expect to see quality translations in bookstores. However, the publishers’ lack of conscience cannot be blamed solely for this. Under China’s increasingly severe review process, ISBNs have been dramatically reduced and print volumes have also been capped. Publishers are desperately struggling to survive, even in an era of severe “self-censorship”.
The second aspect is that I think Chinese readers don’t know enough about Thailand. Most people’s impressions of it may come from travel memories, local temples and Buddha statues, local hotels and resorts. Some people might like Thai movies and TV dramas, they might know some Thai movie stars, but their knowledge of the historical traumas that Thailand has undergone is little to almost none. For this reason, they might not be interested in Thai literature.
In summary, I think Thai literature must face the pressures of its unpopularity among Chinese readers, the lack of demand in the market and the censorship mechanisms from the Chinese government. These are the factors that could make Chinese publishers turn away from Thai literature. Nevertheless, I think it’s possible to address the vacuum of Thai literature in China since the 1980s by translating meaningful works — by meaningful, I don’t just mean works by authors from the 1980s, but innovative works that reflect the current situation in Thai society: works that express the emotions, ideas and environment that have shaped the younger generation in Thailand. I think these works can resonate with Chinese readers.
Finally, I hope that the Thai government or the private sector will prioritise the promotion of literature. They can conduct translator’s workshops by learning from the models that exist in other countries to support translators. Of course, all this is just my personal expectation.
2. 你认为将泰国文学作品译介到中国会有哪些困难和挑战?
答:这个问题可以从两个方面谈起。首先,是泰国文学界本身对外的推广度不够。我想起在《呈现》杂志中,文·廖瓦林说他请一个英文译者翻译自己的小说,然后再将英译本通过各种渠道,出售给想要阅读的人。整个过程全是作者一个人在操持,可以看出他非常想要把自己的作品介绍给海外读者,甚至没有考虑成本问题。然而,无论作者对本人的理想倾注多么大的热情,他的一己之力非常有限。不过从这一点上就可以看出,泰国官方或政府对自己国家文学事业的扶持并不大。这里,我想再提提两个国家,波兰和韩国。这两个国家对文学译介的扶持相当大,波兰文化部甚至还可以给予每个国家和地区文学译者资助。这两个国家的文学作品近五年来在世界各国的译介和推广都做得非常成功。
其次,我再来说说中国的情况。第一,我觉得整个大的出版环境对文学译者是有点不尊重的。举个我最近看到的例子,国内最有名的日本文学译者之一文洁若,她非常勤奋,在90高龄之际都笔耕不辍,她译的三岛由纪夫也是我认为国内目前翻译得最好的。然而,或许是因为年纪大,老人家不懂这些年的行情,她居然可以接受出版社开出的32块每千字的超低价格。从这个事情中,足见译者的生存是多么困难,他们的工作和回报多么不成正比。据我了解,当代大部分青年译者都有一份正式的工作,在下班和休息之余做一些翻译。而在高校的老师,其实有很多是喜欢做翻译的。但受困于科研压力,他们的时间也非常有限。所以,一方面由于报酬和时间的限制,部分优秀的译者并不愿意以一种“贱卖”的方式将自己的作品交出去。久而久之,译者会做出别的选择,甚至不再从事文学翻译。另一方面,某些出版单位急于推荐和引进,不得不将一些很好的作品交给价格要价更低、产速更快、经验却不足的译者,这就导致一些好的作品被糟蹋。所以,就像我在第一个问题所描述的那样,若连出版社都不怎么在乎译作的质量了,那么在日后文学翻译只会越来越不受尊重,书店里只会摆出越来越多的垃圾。然而,这种情况的出现,并不能全盘怪罪出版社没有良心,他们也很不容易。在中国国内日益严峻的审核机制下,书号大量缩减,印量也受到制约。出版人的求生欲激增,开启了严厉的“自我审查”时代。这些事件或许在国内外早就不是新闻了,若用很多年前,在中国网络上流行的一句话来简单总结我发表的观点,那就是“你懂的”。第二,我想中国读者对泰国的了解还不够,大部分人对它的印象可能都来自旅游中的回忆。他们能记住当地的寺庙和佛像,留意过当地的酒店和度假村。部分人可能很喜欢泰国的电影和电视剧,知道一些泰国的影星,但对泰国的社会或许从不了解,对他们曾遭受的历史创伤也无从得知,于是,对泰国的文学作品或许更没兴趣了。
综上所述,我觉得泰国文学若选择在中国出版,一开始或许会面对“无人问津”的压力。因为它的“冷门”和“陌生”,出版社考虑到市场销量或审查机制等多重原因,可能会轻易将泰国文学的选题否定掉,转而将紧缺的书号腾给别的选题。其次,因为泰国文学在上世纪80年代在中国销声匿迹了,中间隔着20多年的“断层”,这次重新开启它,我个人认为可以首先译介一部意义丰富的作品,它不仅有作者自己的立场,较之80年代那些老一辈作者的作品,能有所创新和突破,能够反映出泰国社会当前的状况,能够表达泰国年轻人的情绪、思考以及成长环境的作品,我想这样的作品能引起中国读者的共鸣。最后,希望泰国官方或民间都能重视文学的推广,能适时开展译者的工作坊,或能借鉴一些别国的经验,用不同的形式,帮助译者完成任务。当然这一切只是我个人的期待。
3
3. How would you politicise your role as a translator?
While translation theory likes to suggest that ‘the translator is invisible’, I think this is true only at the textual level. In my opinion, translators actually have a lot of voice. Since the work cannot speak for itself in its original language, the translator, as a qualified reader, is someone who can recommend it to others. In this way the work’s potential to be published depends largely on the translator’s vision and sensitivity. I also believe that translators must have a firm stand; they must choose to work with publishers who take their translation seriously, someone they can trust to decide the fate of the work.
3. 你认为译者这个身份除了介绍作品之外,还有怎样的意义或角色?
答:虽然翻译理论很喜欢说“译者是隐匿的”,但我想这只是基于文字转换的层面。在我看来,译者其实有很大的话语权。因为作品本身不会说话,译者先会是一个合格的读者,因为喜欢才会向别人或出版界推荐。这样一来,作品在译者的国家能否得到出版和认可,很大程度上依赖于译者的眼光和审美能力。另外,基于对第二个问题的思考,我觉得译者也要有坚定的立场,选择认真对待自己译作的出版社合作,这也会关乎到一部作品的命运。
4
4. What metaphor would you use to describe your approach to translation?
In my opinion, the first priority is ‘loyalty’ to or respect for the original text. I think translation is a kind of ‘performance’, but this performance is limited. It is more like the author presents a performance in front of you and, after you’ve watched it, you can reproduce it in your own way. Every expression and movement you act out can never be exactly the same as the original work. When the translator is ‘performing’, the appearance of the work has already morphed with their interpretation of the work. In the entire process, the most important thing for a translator is to be ‘invested’ in trying to imagine the author’s emotions, to understand the characters in the novel, and be sensitive to the language, etc. All of this comes from the author, and the translator cannot speak over it with their own voice.
I personally rely heavily on sensibility. When I read an author I like very much, I will definitely find a way to travel where they grew up, find the streets they like, read the books they recommend, and even learn about their creative habits. These actions seem to have nothing to do with the translation process, but they are very important to me. I will try my best to feel the author’s presence, so that I can walk into their works more smoothly, as if I could be one step closer to his characters. In a way, the relationship between the author and translator is more like a game of hide-and-seek. The translator will collect clues for a long time, find the whereabouts of the original author, imitate their writing style, and simulate another life in the worlds of his works. The translator may quickly find traces of the author, or not at all.
4. 你会如何形容你自己的翻译风格?
答:在这个问题上,我并不想过多地讨论翻译的方法论。在我看来,“忠诚”是放在首位的,这也是对原文的尊重。我觉得翻译是一种“表演”。但是这个表演是受限的,更像是作者在你面前呈现了一场演出,你在观看之后,再用自己的方式复刻下来。这样一来,原著中的每个表情和动作肢体永远无法一模一样。当译者在“表演”的时候,呈现出来的样子已经加入了自己对作品的理解和诠释。但是,整个过程里,最重要的就是“投入”——译者对作者情绪的想象,对小说人物的理解,以及对语言的辨识等等。这一切都来源于作者,译者不能够只顾着发出自己的声音。
另外,我个人高度依赖感受力。在读到一个很喜欢的作者时,我一定会想办法去他成长的地方旅行,会去找到他喜欢的街道走走,会阅读他推荐的书,甚至会了解一下他的创作习惯等等。这些行为看似都和翻译过程没有关系,但对我来说非常重要,我会尽量去感受作者的存在,这样我会更加顺利地走进他的作品里,仿佛我才能够离人物更进一步。
如此一来,作者和译者之间的关系更像是捉迷藏,译者会长期收集蛛丝马迹,找到原作者的下落,模仿他的文字的风格,在他的小说世界里模拟另一种生活。译者可能很快找到了作者,译者也可能永远找不到作者。
5
5. How do your other interests or practices influence your translation work?
After graduating from my master’s degree, I started working in a technology company. My daily task is to connect with Thai customers and solve their equipment problems through remote operation. Occasionally, I send emails to Thai customers or translate product manuals for them. While my time to read has been greatly reduced, I also enjoy going to work. For example, I take advantage of my break time to sit down in the company coffee shop to read. I return to my office an hour later, and I would continue to speculate about the plot that I haven’t read yet. After occasionally receiving a call from a Thai customer, I immediately return to my fantasies about the novel. Sometimes I forget about the plot I had just speculated, so I immediately start to imagine something entirely different. I think this is also a process of getting close to the author, as if I am writing a book with him (laughing). This somewhat “divided state” makes me cherish the time I spend alone after getting off work. My efficiency in reading and translation has been greatly improved, because I know that time is precious.
In addition, I occasionally communicate with different creators. These friends may not all be engaged in the literary area; some of them make movies, and some make music in their spare time. But no matter what fields we are engaged in, I think we all share the process of digging out our feelings and revising our works. I remember that during a screening for a documentary film Breakfast Room, in order to capture the dialects, the director compared the “Dialect-Mandarin” words in the film, and explained that the more earthy and vulgar the language, the closer it is to the bodily experience. This immediately reminds me of the dialogues between the characters in Lao Khamhom’s works: the naked depictions of body organs, the strong appetite and sexual desire. These are crude poetry. Therefore, I used some dialects from my hometown of Sichuan China to match the dialects spoken by farmers in Isan. The reason why the two can correspond is because I have found a common “primitive passion” in both languages.
5. 在日常生活中有没有别的事物,或者其他领域的工作影响着你对翻译的思考?
答:我非常喜欢这个问题,借这个问题可以分享一下我目前的状态。硕士毕业之后,我在一家科技公司上班,每天的工作任务是对接泰国客户,通过远程操作的方式解决他们的设备问题。偶尔也会给泰国客户发发邮件,或者翻译一份产品说明书。虽然我阅读小说的时间大大缩减,但我在上班的过程里也找到很多乐趣。比如我趁休息时间,拿一个出来悄悄跑到公司的咖啡厅看书。我在一个小时后回到自己的办公室,会不断揣测后面还没读到的情节,偶尔接到一个泰国客户的电话后,又马上回到对小说的遐想里,或许我刚才揣测过的情节已经完全想不起来,我马上又开始另一种想象。我想这也是贴近作者的过程吧,仿佛我和他一起写了一本书(笑)。也是这种有些“分裂”的状态,让我格外珍惜自己下班后独处的时间。我现在阅读和做翻译的效率都已经大大提高,因为深知时间宝贵。
另外,我偶尔也会和不同的创作者交流。这些朋友不一定都从事文字工作,他们有的拍电影,有的在业余时间做音乐。但不管从事什么领域,我想我们都有挖掘感受的过程,都有修改一个作品的体会。我尤其记得在一部纪录片《早餐室》的观影会上,导演为了表现方言,在片中穿插了一段“方言-普通话”的词汇对照,并解释说越是土、俗、粗鄙的语言,越是接近于人类原初的身体经验,这立刻让我想到了佬·堪宏小说中那些人物的对话,那些赤裸描写身体器官,描写强烈的食欲和性欲的画面,这些都是粗粝的诗意。于是,我用自己家乡四川的一些方言,对上了佬·堪宏笔下东北农民口中的方言,两者之所以能呼应,是因为找到了共同的“原初的激情”。
6
6. Can you name a book(s) that you always revisit or author(s) you have learned a lot from as a writer/translator?
My favorite writer is Yan Ge. Because of her, I also had the dream of becoming a novelist when I was young. Authors of the same generation as her are called the ‘post-80s’ writers by the Chinese media. Most young people, especially the ‘post-90s’ generation like me, have their own ‘literary Idols’ and think that writing is a cool thing. However, with the changes in social and political climate, traditional paper media has gradually lost its influence. Newer and more spectacular forms, such as rap, games and vlogs are attracting the attention of younger people. Some ‘literary idols’ have let go of their original intentions to become a novelist and switched to making movies or writing screen plays. Although they have shown their talents in these new fields, only a few of them have made extraordinary achievements.
Yan Ge is one of the few who still insists on writing novels, and she is still breaking through the barriers of form and language. Her works always have something new that surprises you. I will always remember the amazing feeling when I first read her early short stories in middle school. She wrote about the death of a desperate screenwriter, the beekeeper and his lover, a pessimistic veterinarian, and a city that is gradually collapsing, where people’s nightmares turn into black balloons… At the time, it ‘shocked’ me to see how a novel could be written like this.
If her early works show the original talent and amazing imagination of a writer, then since <May Queen>, she began to consciously explore the depth of the novel, and wrote about her (our) hometown, Sichuan, through vulgarism. This was another breakthrough for her. She began to subconsciously restrain lyricism and, instead, used vivid language to construct her hometown from her memory. Her writing style has made several young and up-and-coming writers follow suit. What is even more surprising is that she moved to Ireland in 2015 and began to try to write stories in English. Naturally, her achievements are inseparable from her life experience. But I think what is more important is that she was persistent and hardworking. If possible, I would really like to recommend her work to Thai readers.
A young translator who has greatly influenced me is Lin Weiyun (Wei-Yun Lin-Górecka), a Taiwanese translator of Polish literature. I really admire her life experiences, her attitude towards translation and her dual identity of ‘writer and translator’. In her early years, she fell in love with Poland and Bruno Schultz because of a movie poster, and she was out of control since then. In my eyes, she is the best Chinese translator who translated Schultz. I collected her other works frantically. Surprisingly, she also writes essays and poems. Poets are most sensitive to language. A question that is often asked is: how can an editor identify good translation when they do not understand the language? In my opinion, if a translator is a writer themselves, then their translation is never bad.
Others who have influenced me are Jin Wei and Wu Yan. They are teachers of Japanese literature at my undergraduate university. Their best translation is “Man’yo Luster”. Both of them believe that the largest collection of Japanese songs were produced during the Nara period, and the aesthetics of Japanese songs at that time were simple and full of masculine beauty. Therefore, it cannot be translated in an overly elegant way, especially not in the form of Chinese traditional metrical poetry. In addition, Mr. Jin Wei has been conducting research on the entries and correcting the errors in other translations during the ten years ever since he finished his translation. Such an attitude is really rare today. It should be noted that Mr. Jin Wei is also a poet.
6. 作为一名译者,你对哪些作家/译者的作品有深刻印象?可否推荐一些你反复阅读的书目?
答:我最喜欢的作家是颜歌。因为她,我也曾有过做小说家的梦想。她和她同一代的作者被中国媒体形象地称作“80后”作家,她成长的时代里,中国的大部分年轻人,尤其是像我一样的“90后”一代,都还有自己的“文学偶像”,都认为写作是一件很酷的事情。然而,随着社会和政治风气的变化,传统纸媒逐渐丧失了影响力,越来越多新兴的事物在吸引年轻人的目光——说唱、游戏、短视频……这些形式比文字更有感官上的冲击力。有的“文学偶像”已放下了自己的初衷,转去拍电影或者做编剧。他们在这些领域虽然照样可以施展才华,但却离自己的初衷很远了。在新的领域里,他们中鲜有人做出非凡卓越的成就。颜歌是为数不多还在坚持小说创作的,并且她还在不断突破形式和语言的禁锢,几乎每个阶段、每本新作里都能看到新的面貌。我始终记得中学时,读到她早期短篇作品时的那种惊艳之感。她书写落魄的剧作家之死,写养蜂人和他的情人,写厌世的兽医,写一个日渐塌陷的城市里,人的噩梦会变成黑色气球……那时的我,仿佛眼前一亮,如醍醐灌顶——小说原来还可以这样写。如果说她早期的作品,展现了一个写作者原初的天赋和惊人的想象力,那自《五月女王》之后,她开始有意识地探索小说语言的纵深,写起了家乡和方言。这是她的另一次突破,她开始下意识地克制抒情,用活色生香的叙事语言,构筑记忆中的故乡。她这种写法,让好几个后起的年轻作者竞相效仿。更让人惊喜的是,她在2015年移居爱尔兰,开始尝试用英语写作。她的成就自然和她的人生经历分不开,和她出道时的时代分不开。但我觉得,更重要的是她的坚持和勤奋。如果有可能,我非常想把她的作品推荐给泰国的读者。
此外,在华语世界里也有几个我非常尊重的译者,但因为篇幅有限,我想说一个我非常尊敬、对我影响也极大的青年译者,她就是翻译波兰文学的林蔚昀。她的生活经历、对待翻译的态度和“又写又译”的双重身份,都是我非常欣赏和羡慕的。早年她因为一副电影海报爱上了波兰和布鲁诺·舒尔茨,从此一发不可收拾。在我眼中,她是把舒尔茨翻译得最好的华语译者,随后我疯狂地收集她的其他作品。令人惊喜的是,她自己还是一个写作者,她会写散文和诗,而诗人对语言是最敏感的。这里顺便回答一个常被问到的话题,在编辑不懂文本原文的情况下,如何鉴定一个译者或一份译文的好坏?我认为如果一个译者他/她自己也在写作,那么他/她的译文一定不坏。
对我有过影响的人还有金伟和吴彦夫妇,他们是我本科大学里教授日本文学的老师,两人的代表译作是《万叶集》。俩人都认为,作为一部产生于日本奈良时代,迄今为止日本最大的和歌集,彼时的和歌美学特征是质朴的、且充满阳刚之美。因此,它不适合使用过于典雅的语言去翻译,更不适合用中国格律诗的形式去翻译。另外,金伟先生在译完《万叶集》的十年里,一直在对里面的词条进行考证,纠正其他译本中的错误,这样的态度在当今实在太难得了。值得注意的是,金伟先生也是诗人。
ซอย สควอด |
soi squad
ซอย | soi or ‘soi squad’ accounts the practices of writing, translating, and publishing for its transformative power in giving an access to knowledge. This stance has driven us to explore these practices through multiple facets.
ซอย | soi or ‘soi squad’ accounts the practices of writing, translating, and publishing for its transformative power in giving an access to knowledge. This stance has driven us to explore these practices through multiple facets.