บทสัมภาษณ์ 6x6
กับ โช ฟุกุโตมิ

6x6 interview with Sho Fukutomi (福冨渉)

Written By

ซอย สควอด | soi squad

Translated by

ซอย สควอด | soi squad

[*สำนวนไทยเขียนโดย โช ฟุกุโตมิ]

โช ฟุกุโตมิ (福冨渉) เคยเป็น Research Fellow ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปี 2556-2557) และเป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย Kagoshima University ปัจจุบันโชได้ลาออกจากการเป็นอาจารย์ประจำมาทำงานตำแหน่งบรรณาธิการให้กับสำนักพิมพ์ Genron รวมถึงทำงานแปลวรรณกรรมและเขียนบทความให้กับสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ โชเล่าถึงการต่อรองกับประเด็น ‘การอ่านรู้เรื่อง’ หรือ readability ของผลงานแปลระหว่างภาษาไทยและญี่ปุ่น ไต่ถามถึงกำแพงที่ปิดกั้นไม่ให้วรรณกรรมไทยไปสู่ผู้อ่านญี่ปุ่น จนถึงประเด็นต่างๆ ที่คนรุ่นใหม่ในสองวัฒนธรรมมีร่วมกัน

ตัวอย่างผลงานแปลที่ผ่านมาของโช ได้แก่ ตื่นบนเตียงอื่น เขียนโดย ปราบดา หยุ่น, ร่างของปรารถนา เขียนโดย อุทิศ เหมะมูล, อีกวันแสนสุขในปี 2527 เขียนโดยวิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา, ตอง เขียนโดย นฆ ปักษนาวินน ฯลฯ นอกจากนี้ เขาเป็นคนแปลซับไตเติ้ลให้อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ในภาพยนต์เรื่อง Cemetery of Splendour ไปจนถึงเพลง ประเทศกูมี และ ปฏิรูป ของ Rap Against Dictatorship จากภาษาไทยไปเป็นภาษาญี่ปุ่น

1

1. การอ่านและแปลวรรณกรรมไทยหล่อหลอมจินตนาการทางวรรณกรรมของคุณอย่างไรบ้าง? มีอะไรบ้างในวรรณกรรมไทยร่วมสมัยที่คุณคิดว่าสามารถสร้างบทสนทนาใหม่ๆ ในบริบทที่คุณทำงานอยู่ได้?

ศักยภาพและฟังก์ชั่นสำคัญอย่างหนึ่งของวรรณกรรมคือเก็บตกเสียงเล่าเล็กๆ ของผู้คนที่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์กระแสหลักที่เขียนขึ้นโดยผู้มีอำนาจและผู้มีเสียงเล่าใหญ่กว่า อ่านและแปลวรรณกรรมไทยทีไร กระตุ้นให้ผมทบทวนและไตร่ตรองศักยภาพที่ว่านี้ทุกที และมันเป็นสิ่งที่คนเราควรหันไปสนใจและให้คุณค่าอย่างจริงจังในยุคสมัยที่ผู้คนค่อยๆ หมดศรัทธากับศิลปวัฒนธรรม และ ‘ผู้ชนะ’ กับ ‘ผู้พ่ายแพ้’ จะถูกตัดสินอย่างเบ็ดเสร็จและง่ายดายด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ

ถ้าถามว่าผมตามความเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ให้ทันและแปลทั้งบทสัมภาษณ์และเนื้อเพลงอย่างรวดเร็วอย่างไร ก็ต้องตอบว่าผมแค่ติดโซเซียลเท่านั้น 55 พูดเล่น แต่ที่ชัดเจนคือถ้ามีอะไรน่าสนใจและคิดว่าควรจะแปลให้คนญี่ปุ่นรู้จัก ผมจะแปลและติดต่อกับเจ้าตัวผ่านอีเมลหรือโซเซียลไปเลยครับ ผมไม่ได้ทำงานกับเอเจนซี่ใดๆ เลย อย่างเช่นที่ผมแปล lyric ของ Rap Against Dictatorship ครั้งแรกคือตอนเพลง ประเทศกูมี ตอนนั้นผมดูเอ็มวีจบก็ตัดสินทันทีว่าผมต้องแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น และลงมือทำเลย พอแปลเสร็จก็ส่งเนื้อเพลงภาษาญี่ปุ่นให้กับ RAD ทางเฟซฯ ทั้งๆ ที่ผมไม่เคยรู้จักกับเจ้าตัวมาก่อน คิดไปเลยว่าหากทาง RAD จะไม่เอาเนื้อเพลงที่ผมแปลก็ไม่มีอะไรเสียหาย

2

2. เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องแปลชุดความคิดหรือคำหนึ่งในภาษาไทยซึ่ง ‘แปลไม่ได้’ คุณจัดการให้ผู้อ่านภาษาญี่ปุ่นสามารถเข้าใจมันได้อย่างไร? อะไรคือสิ่งที่คุณคิดว่าสามารถรอมชอมได้ และมีอะไรที่รอมชอมไม่ได้บ้าง?

เวลาแปลภาษาไทยเป็นภาษาญี่ปุ่นก็มีหลายวิธีที่เติมความกระจ่างชัดให้กับคำหรือประโยคที่แปลออกมา อย่างแรกคือเชิงอรรถ แต่ผมหลีกเลี่ยงที่จะใช้เชิงอรรถเท่าที่ทำได้ เพราะเชิงอรรถอาจจะรบกวนสมาธิของผู้อ่านก็ได้ และทำให้ตัวบทดู ‘ห่างไกล’ จากผู้อ่าน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือบางทีเชิงอรรถจะเพิ่มความเป็น exotic ให้กับตัวบทเกินความจำเป็น ยิ่งวรรณกรรมเอเชีย ผู้แปลคงต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย

นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษรคันจิหรือตัวอักษรจีนซึ่งตัวอักษรโดยตัวมันเองจะแสดงความหมายได้ และผสานกันประกอบสร้างคำใหม่ๆ ได้ และยังมีฟุริงานะหรือ ruby characters ซึ่งเป็นตัวอักษรตัวเล็กๆ ที่ใช้แสดงคำอ่านของตัวอักษรคันจิ ผมก็ใช้ตัวอักษรคันจิและฟุริงานะให้มีประสิทธิภาพในการสื่อความหมายของตัวบทในบางกรณี (อย่างใน เบสเมนต์ มูน ที่ผมกำลังแปลอยู่ ผมใช้วิธีนี้บ่อย)

แต่ผมคิดว่าความ ‘อ่านยาก’ ของตัวบทเดิม ไม่จำเป็นต้องถูกคลี่คลายออกให้อ่านง่ายขึ้นทุกครั้ง แน่นอนว่า Readability เป็นปัจจัยสำคัญของการแปลทั้งในแง่ของความเข้าใจและการขาย แต่การแปรความซับซ้อนและความกำกวมที่ตัวบทมีอยู่ให้กลายเป็นความชัดเจนนั้น อาจจะลดทอนคุณค่าของวรรณกรรมไปก็ได้ ผมคิดว่าผู้แปลต้องตั้งคำถามกับตัวเองตลอดว่า การกระทำของตนกำลังจะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพของวรรณกรรมหรือลดทอนมันอยู่

3

3. คุณมองงานวิชาการเกี่ยวกับการแปลอย่างไรบ้าง? มีทฤษฤีหรือ approach แบบไหนที่คุณยึดถือบ้างไหม หรือไม่มีเลย?

ไม่ถึงขั้นยึดถือ แต่ผมอาจได้รับอิทธิพลจากงานวิชาการเกี่ยวกับการแปลที่เน้นเรื่องการสร้างสรรค์พื้นที่ ภาษา และตัวบทใหม่ๆ ระหว่างสองภาษาที่การแปลเกิดขึ้นอย่าง Walter Benjamin (“The Task of the Translator”) หรือ Emily Apter (“The Translation Zone”) ฯลฯ จริงๆ มันเป็นเรื่องปกติธรรมดามาก การแปลตัวบทของภาษาหนึ่งสู่อีกภาษาหนึ่ง ย่อมมีตัวบทใหม่และภาษาใหม่เกิดขึ้น และมันจะส่งผลกลับต่อตัวผลงานกับบริบทรอบๆ รวมทั้งภาษาที่ใช้ในตัวบททั้งสอง เรียกได้ว่าการแปลเป็นกระบวนการขยายพื้นที่และศักยภาพของผลงานชิ้นนั้นๆ 

หากพูดถึง approach ผมพยายามทำตัวเป็นคนนอกตลอด หมายถึงว่าผมไม่ใช่ตัวแทนของตัวบทเดิม นักเขียน และผู้อ่านของอีกภาษาหนึ่งแต่อย่างใด และไม่ควรจะอวดอ้างว่าตนเป็นผู้ที่รอบรู้ทุกสิ่งอย่าง เพราะมันอาจกักขังตัวบทอยู่ในกรอบความคิดและทัศนคติอันคับแคบของตน และทำให้ตัวบทหายใจไม่ออก แลกเปลี่ยนกับบริบทอื่นๆ ไม่ได้

4

4. คุณจะเปรียบเปรยวิธีการแปลของคุณด้วยอะไร?

อาจจะซ้ำกับข้อ 3 แต่ผมใช้คำว่า medium/ตัวกลาง หรือ catalyst/ตัวเร่งปฏิกิริยา ละกัน ผมปูทางให้ผลงานที่ได้รับการแปลไปสู่โลกใหม่หรือไปเจอความเป็นไปได้ใหม่ๆ ไม่ได้เป็นคนที่นำเข้าหรือส่งออกหรือโฆษกส่วนตัวของผลงานชิ้นนั้น

ส่วนด้านเทคนิคการแปล ผมทำตัวเป็นเมโทรนอม หมายถึงว่าผมพยายามถ่ายทอดจังหวะที่ตัวบทเดิมมีอยู่ไปสู่อีกภาษาหนึ่ง เวลาผมแปลภาษาไทยเป็นภาษาญี่ปุ่น ผมจะอ่านออกเสียงตัวบททั้งสองภาษา จะได้เปรียบเทียบว่าจังหวะที่ตัวบทเดิมมีอยู่นั้นรักษาไว้อย่างดีหรือไม่ ตอนที่แปล ร่างของปรารถนา ผมโฟกัสกับจุดนี้มาก ทำอย่างไรเพื่อไม่ให้การแปลของผมขัดจังหวะของตัวบทภาษาไทย และทำยังอย่างไรเพื่อถ่ายทอดเปลวไฟของความปรารถนาที่กำลังลุกโชติช่วงและเต้นระบำอยู่ ไปสู่ผู้อ่านคนญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ

5

5. คุณคิดว่าอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคในการที่วรรณกรรมไทยร่วมสมัยจะถูกเผยแพร่ไปสู่สายตาผู้อ่านที่ญี่ปุ่น? 

มีอยู่หลายอย่าง วรรณกรรมแปลเป็นอะไรที่ถูกเผยแพร่ยากอยู่แล้ว แต่หลักๆ คือน่าจะเป็นภาพลักษณ์ที่มีต่อไทยและเอเชียของคนญี่ปุ่น ซึ่งอาจไม่ได้รับอัพเดดอย่างที่ควรเป็นตั้งแต่ยุค 80-90 เป็นต้นไป ประมาณว่าเป็นประเทศและภูมิภาคที่ล้าหลัง ระบอบเผด็จการเรื้อรัง เศรษฐกิจยังต้องพึ่งพาการส่งออก ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้อาจพูดถูกในบางส่วน (ขออภัย) แต่ที่ถูกมองข้ามมาตลอดคือวิถีคิดและเสียงเล่าของผู้คน ปรากฏการณ์ทางศิลปวัฒนธรรม และคอนเทนท์ต่างๆ สิ่งเหล่านั้นได้เปลี่ยนแปลงและพัฒนามาอย่างไร แทบไ่ม่เคยมีใครสนใจหรือวิเคราะห์อย่างจริงๆ จังๆ จุดนี้เป็นจุดที่คนที่ทำงานในด้านนี้อย่างผมก็ต้องพยายามนำเสนอต่อไป

จริงๆ สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่เปลี่ยนแปลงอะไรก็ช้ามากตลอด ติดโรคกลัวความเปลี่ยนแปลงทั้งประเทศ เป็นสังคมที่ให้คุณค่ากับการเรียนรู้และการตั้งคำถามน้อยมาก ฝึกแต่จะเชื่องอย่างเดียว ตัดสินหรือประเมินบางสิ่งไปสักครั้งก็ยึดถือมันตลอด ไม่ยอมปล่อยมือ ถ้า self-estimate ไปว่าตนเป็นประเทศที่พัฒนาและก้าวหน้าแล้ว ดูถูกประเทศอื่นๆ ในเอเชียว่าด้อยพัฒนาและป่าเถื่อน ก็ไม่ยอมปรับวิสัยทัศน์ ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงนั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิง อุปสรรคใหญ่ๆ น่าจะมีอยู่ตรงนี้มากกว่า

6

6. คุณอยากเห็นการเคลื่อนไหวอะไรเกิดขึ้นในแวดวงการแปลวรรณกรรมไทย-ญี่ปุ่นในอนาคต?

อันดับแรกคืออยากให้มีคนรุ่นใหม่ๆ ที่ทำงานด้านนี้มากขึ้น นักแปลวรรณกรรมไทยในญี่ปุ่นก็มีอยู่แค่ 5-6 คน และส่วนใหญ่เป็นคนที่อายุมากกว่าผม หรืออาจารย์รุ่นใหญ่ๆ แถมส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย พูดง่ายๆ คือผมอยากมีเพื่อน 555 ที่ผ่านมาแทบไม่เคยมีโอกาสคุยกับใครในญี่ปุ่นว่าผมอ่านหนังสือเล่มไหน มันน่าสนใจตรงไหน มันมีความหมายอย่างไรต่อสังคมและยุคสมัยนี้ ฯลฯ แต่กระนั้นก็ไม่อยากสร้างกลุ่มเพื่อนๆ ที่มีความเป็นเอกพันธ์ (homogeneity) สูง ปิดกั้นและไม่ยอมรับคนนอก สำคัญตนผิดว่าพวกตนเป็นบรรทัดฐานที่ตัดสินคุณค่าของวรรณกรรมไทยที่นำเข้ามา ไรงี้ ต้องมีความหลากหลายมากกว่านี้

ผมก็เข้าใจว่านี่เป็นเรื่องยากโข ในยุคสมัยเศรษฐกิจกำลังหดตัวลง คนรุ่นใหม่ๆ มักเลือกเส้นทางชีวิตที่มั่นคงกว่าและปลอดภัยกว่า สังคม ครอบครัว และสถาบันการศึกษาก็ไม่เอื้อเฟื้อวิชาการที่ดู “หากินลำบาก” ใครเล่าที่อุตส่าห์หันมาสนใจด้านนี้

ตอนนี้ซีรีย์วายและนิยายวายกำลังมาแรงในญี่ปุ่นเช่นในไทย ดูเหมือนแฟนๆ ซีรีย์ตั้งใจเรียนรู้ทั้งเรื่องสังคมไทยและภาษาไทย อาจจะมีนักแปลรุ่นใหม่ๆ เติบโตขึ้นมาจากตรงนี้ก็ได้ แต่คงใช้เวลานานเหมือนกัน

แต่ผมคิดว่าการที่ผลงานจากภาษาที่มีคนเรียนน้อยจะได้รับการแปลเรื่อยๆ นั้นคือเครื่องวัดสุขภาพของสังคม ไม่อยากให้มันตายซากไป

ส่วนประเด็นและเนื้อหาหนังสือที่สร้างบทสนทนาและการแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นนั้นคงมีหลายอย่าง แต่หลักๆ น่าจะเป็นประเด็นของความ ‘อยู่ไม่เป็น’ ของสังคม รวมไปถึงประเด็นของ sisterhood (ภคินีภาพ) เท่าที่ผมเห็นคนรุ่นใหม่ๆ ทั้งสองประเทศก็ตื่นตัวกับประเด็นเหล่านี้อย่างมาก คงมีหลายประเด็นในนี้ที่สร้างบทสนสนากันได้

และอีกประเด็นหนึ่งที่ผมสนใจ แต่รู้สึกว่ายังไม่ค่อยมีผลงานเชิงเปรียบเทียบที่เป็นชิ้นเป็นอันทั้งในงานวิชาการและงานสร้างสรรค์ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียกับสหรัฐ หลังสงครามโลกครั้งที่สองทั้งไทยและญี่ปุ่น (และน่าจะต้องรวมถึงเกาหลี) ก็ได้รับอิทธิพลจากสหรัฐมาเป็นอย่างมาก อิทธิฤทธิ์ของสหรัฐกลายไปเป็นฐานของวัฒนธรรมหลังยุค 50 จนถึงปัจจุบันก็ว่าได้ โครงสร้างทางสังคม ค่านิยมและวิถีชีวิต และภูมิทัศน์ทางการเมืองล้วนได้รบผลกระทบ การที่เราจะสร้างบทสนทนาในประเด็นนี้ คงมีค่าและส่งผลต่อโลกทัศน์ สำนึกทางประวัติศาสตร์ และวิธีคิดของผู้คนในยุคนี้

ตอบจริงจังไปหน่อย แค่นี้ครับ

[*English translation by Palin Ansusinha]

A former research fellow of the Faculty of Liberal Arts, Thammasat University (2013-2014) and professor at Kagoshima University, Sho Fukutomi works as an editor at Genron Publishing House while he continues to translate literature and write articles for various media. In this interview, Sho talks us through questions of readability in the process of translating between Thai and Japanese, the barrier for Thai literature among Japanese readers, as well as the issues shared by the younger generation of Thailand and Japan.

Sho’s past translations include Prabda Yoon’s Waking up on another bed, Uthis Haemamool’s The Sillouette of Desire, Wiwat Lertwiwatwongsa Another Happy Day in the Year 1984, Nok Paksanawin’s Tong and many others. He also translated the subtitles for Apichatpong Weerasethakul’s film Cemetery of Splendour and the lyrics to Rap Against Dictatorship’s Pratet Ku mee and Reform into Japanese. 

1

1. How has reading and translating Thai literature contributed to your literary imagination, and what potential that you see in contemporary Thai literature in initiating new conversations in your context?

One of literature’s important potentials and functions is to gather the unrecorded voices of people who have been unrecognised by mainstream History’s louder, more powerful authors. Reading and translating Thai literature have always incited reflection on this potential as something we should always be taking seriously, especially in an age where people may have lost faith in the arts and culture, and when the narrative of ‘victors’ vs. ‘victims’ have been oversimplified through economic and political factors, etc. 

I have been able to keep up with the youth movement, to translate interviews and song lyrics that arise from it, thanks to my social media addiction. 55 I’m joking. I do feel the need to communicate and translate something I feel is important and interesting to Japanese readers. Since I don’t work with any agencies, I usually contact the owner of that information directly via email or social media. For example, I first translated the lyrics of Rap Against Dictatorship’s Pratet Ku Mee into Japanese and sent it to them through Facebook before I knew them personally. At the time, I just thought that I had nothing to lose if they rejected it.

2

2. When translating ‘untranslatable’ Thai concepts or words into Japanese, or vice versa, how do you deal with questions of readability? What would or wouldn’t you compromise?

There are many ways to give clarity to words or phrases translated from Thai to Japanese. Footnoting is one of them, which I try to avoid as much as possible because it can distract and ‘distance’ the reader away from the text. In other words, I think footnotes do have that tendency to exoticise the text, often unnecessarily. This is something translators must take into consideration, especially translators of Asian literature. 

Japanese is made up of Kanji or Chinese characters: both character types can signify meaning on its own or create new meanings when combined together. There are also ‘ruby characters’: smaller alphabets that signify the pronunciation of Kanji characters. I sometimes manipulate both Kanji and ruby characters to create specific meanings for certain texts (for example, I use this technique quite a lot in Basement Moon that I’m currently translating). 

But I think the ‘difficulty’ of the original text doesn’t necessarily have to be resolved for it to be readable. While readability is important for selling the text, attempting to resolve its complexity and ambiguity can detract from its literary value. I think translators must constantly ask themselves this question: whether your decisions enrich or reduce the literary potential of your work.

3

3. How do you envision scholarly work in translation to be? Are there any translation theories or approaches that you identify with, or even prescribe to?

I would say that I’m more influenced by — rather than prescribed to — scholarly works that talks about how translation between different languages carves new spaces, creates new languages and texts, such as Walter Benjamin’s “The Task of the Translator” or Emily Apter “The Translation Zone”. I’m stating the obvious here, that translating from one language to another gives rise to new texts and languages; it changes the texts as well as its contextual surroundings, including the languages in both contexts. Translation widens the space for the text to branch out into other spaces. 

My approach is to always try and position myself as an outsider, which means that I do not speak for the original text, the author or the readers in the original language. It’s not my place to be claiming my expertise on everything that I assume that the text contains, since it would be like suffocating it with my very narrow frame of thinking and restraining it from interacting with other possible contexts.

4

4. What metaphor would you use to describe your approach to translation?

My answer may sound similar to that of the previous question, but instead of the translator acting as a salesperson or a spokesperson for the text, I would consider the translator as a ‘medium’ or ‘catalyst’ who paves more possible ways for the text to travel across contexts and worlds. 

Technically speaking, I’d like to think of myself as a metronome attempting to translate the rhythms of one language to another. When I translate from Thai to Japanese, I try to read the text aloud in both languages to ensure that the rhythms are preserved. This is something I heavily focused on when translating Uthis Haemamool’s The Silhouette of Desire. How can I translate the rhythms without interrupting them? How can I effectively recreate the flames of desire in the text that dances to these rhythms for Japanese readers?

5

5. What do you think are the obstacles for contemporary Thai literature in reaching the readers living in your context?

Though there are many barriers to translated literature in general, the biggest barrier for Thai and Southeast Asian literature is arguably the outdated impression of them among Japanese readers. These impressions of a developing nation or region plagued by the persistent symptoms of military dictatorship, where the economy is heavily dependent on export, etc., are trapped in the 1980s and 1990s. They may be accurate in some aspects (no offence), but what has been overlooked are the thinking and narrative voices of the people, arts and cultural phenomena and content that arises from the drastic changes that these places have experienced. Not many people have paid enough critical attention to seriously analyse them, so this is what people in my field must continue to work on.

In fact, Japanese society has always been resistant to change. The entire country’s afraid of change: it places very little value on education and criticality, and only encourages obedience. It firmly clings to certain judgements of things and rarely reassesses them. There’s little hope for a society that self-estimates its  more developed and progressive status while regarding other Asian countries as underdeveloped and barbaric. In fact, the reality is completely opposite. This, I think, is the main obstacle for Thai literature.

6

6. What movements do you wish to see in the Thai-Japanese translation industry in the future?

Firstly, I wish to see a new generation of translators. There are only around 5-6 translators of Thai literature in Japan, and the majority of them are either older than me or established professors who are mostly male. Simply put, I want more friends 555. All these years, I rarely got a chance to talk to anyone in Japan about what books I’m reading, what I find interesting about them, and what they mean for society in this day and age, and so on. Having said this, I wouldn’t want to form a clique of people who constantly make sanctimonious judgements about what should be translated and what shouldn’t. No, we must always make room for diversity. 

Nevertheless, I’m aware that this is an incredibly difficult thing to do when the economy is plummeting. The younger generation might be more attracted to more stable and secure career paths, especially when society, families and educational institutions discourage you from learning the subjects that don’t ‘feed’ you. So, I don’t blame them if they choose to turn away from translation. 

Yaoi series and Yaoi novels are currently gaining popularity in Japan as they are in Thailand, and it seems like fans of these series are keen to learn about Thai society and language. Perhaps a new generation of translators might emerge from this circle. Still, it takes time. 

But I think that one of the indicators of a healthy society is when works written in a less popular language are being translated, so that it doesn’t die out. 

There are many issues that could initiate conversations and exchanges between the Thai and Japanese contexts. One of them is the idea of ‘yoo mai pen’ in society (translated into English as an unabiding way of existing in society), and the other is sisterhood. These issues are being constantly posed by the new generations of these two countries, which, in my view, have many things in common. 

Despite the lack of any substantial comparative work in academia and creative work, the relationship between the countries in Asia and the United States is another issue that I’m interested in. After the Second World War, both Thailand and Japan (including Korea) have been greatly influenced by the States. American influences solidified into the cultural foundation for these countries after the 50s to this present day, into our societal structures, values, ways of lives and political landscapes. Cross-contextual conversations about this particular issue would be very valuable to unpack the world views, historical consciousness and thinking of people in this day and age. 

I’ll end it on this slightly serious answer.

ซอย สควอด |
soi squad

ซอย | soi or ‘soi squad’ accounts the practices of writing, translating, and publishing for its transformative power in giving an access to knowledge. This stance has driven us to explore these practices through multiple facets.

ซอย | soi or ‘soi squad’ accounts the practices of writing, translating, and publishing for its transformative power in giving an access to knowledge. This stance has driven us to explore these practices through multiple facets.