คุกมันก็แค่โรงละคร

As If the Prison Were a Play

Written By

เฌอทะเล สุวรรณพานิช | Chertalay Suwanpanich

Translated by

เฌอทะเล สุวรรณพานิช | Chertalay Suwanpanich

ตอนนั้นฉันอายุประมาณสิบแปดสิบเก้า เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่หกหรือเพิ่งจะจบนี่แหละ จำได้ไม่แน่ชัดเท่าไหร่ แต่ที่จำได้ชัดเจนคือตอนนั้นเพิ่งเกิดรัฐประหารปี 57 ใหม่ๆ เด็กมัธยมปลายกำลังจะเข้ามหาวิทยาลัยคนนั้นกระตือรือร้นกับเหตุการณ์บ้านเมืองมากที่สุดเท่าที่เคยเป็นมาและอัศจรรย์ที่เป็นได้ในสังคมห้ามตั้งคำถามเช่นนี้ ฉันหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาอ่านข่าวนักแสดงละคร เจ้าสาวหมาป่า ถูกจับ เห็นหน้ากอล์ฟแบงค์เต็มไทม์ไลน์เฟสบุ๊ค โกรธจนน้ำตาหยุดไหลไม่ได้

หลังจากนั้นสองปีกว่าถึงสามปีเห็นจะได้ ฉันยังเป็นนิสิตมหาวิทยาลัย จำได้ว่าวันที่เห็นข่าวกอล์ฟแบงค์ได้รับการปล่อยตัว ฉันก็อดน้ำตาไหลไม่ได้อีก

ฉันเพิ่งเรียนจบปริญญาตรีเมื่อปลายปีที่แล้วและเมื่อต้นปี 2562 นี้เองเมื่อเห็นกอล์ฟปล่อยหนังสือ มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ ฉันอธิบายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ว่าตื่นเต้นดีใจแค่ไหน ยิ่งเมื่อมีโอกาสเขียนถึงหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว ยิ่งไม่รู้จะอธิบายออกมาเป็นคำพูดอย่างไร เป็นเรื่องยากที่จะเขียนให้ผู้อ่านรู้ว่า มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ เป็นหนังสือที่ทรงพลังและงดงามเพียงใด

การเขียนของเราเป็นภัยต่อความมั่นคงของเรือนจำและอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ พวกเขายินดีให้เราอ่านหนังสือเฉยๆ มากกว่าจะให้จับปากกาเขียนอะไร (มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ, น. 129)1การอ้างอิงถึงหนังสือในโคว้ทต่อจากนี้จะละชื่อหนังสือไว้ในฐานที่เข้าใจ และปรากฏเพียงเลขหน้า

ข้างต้นคือหนึ่งในประโยคจุกอกที่สุดประโยคหนึ่งจากหนังสือของภรณ์ทิพย์ มั่นคง (หรือ ‘กอล์ฟ เจ้าสาวหมาป่า’ นั่นแหละ ขออนุญาตเรียกว่า ‘กอล์ฟ’ ในงานเขียนชิ้นนี้เพราะเป็นชื่อที่เรารู้จักและคุ้นเคยจากข่าว และจากหนังสือของกอล์ฟเองด้วย) ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ (อดีต) นักโทษคดี 112 ผู้ถูกพิพากษาจำคุกเพราะเล่นละครหมิ่นฯ จะถูกมองว่าการเขียนของเธอ ‘เป็นภัยต่อความมั่นคง’ ในสายตาของรัฐ แต่กอล์ฟที่ติดคุกเป็นเวลาสองปีกว่า เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในคุกและเขียนหนังสือออกมาจากประสบการณ์ดังกล่าว เขียนจนไม่เหลือเศษซากอะไรในฐานะภัยต่อความมั่นคง เขียนจนสภาวะความเป็นมนุษย์พวยพุ่งและความเชื่อมั่นต่อระบบยุติธรรมแตกสลายเป็นผุยผง เหลือแต่เพียงคำถามในใจผู้อ่านว่าความยุติธรรมในสังคมไทยหายไปอยู่ในซอกหลืบไหน และเราจะทำใจกับการอยู่ในสังคมที่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์เป็นเช่นนี้ได้อย่างไรกัน

ปีศาจที่เป็นมนุษย์

เรารู้สึกใกล้ชิดกับกอล์ฟ อย่างน้อยก็ใกล้ชิดที่สุดเท่าที่เธออนุญาตผ่านเสี้ยวประสบการณ์ของเธอในหนังสือหนาเตอะยาว 852 หน้า  อาจจะเพราะกอล์ฟเล่าเรื่องราวความเป็นมาของชีวิตให้เราฟัง เล่าเรื่องพ่อแม่ที่เป็นชาวนา เธอในฐานะพี่สาวคนโตที่เฝ้าพะวงถึงความเป็นอยู่ของครอบครัว ถึงน้อง ถึงความรู้สึกของแม่ที่ต้องเห็นเธอติดคุก กอล์ฟเล่าถึงแฟน (และแอบๆ จะนินทา) ที่คอยมาเยี่ยมอยู่เสมอ รายละเอียดชีวิตประจำวัน เสื้อผ้าที่สวมใส่ในคุก น้ำที่อาบ ข้าวที่กิน สภาพอากาศ บทสนทนากับเพื่อนร่วมคุก ความคิดความอ่านและห้วงคำนึงของเธอ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่กอล์ฟเล่าให้ผู้อ่านฟัง หนังสือของเธอทั้งจริงใจและสะเทือนใจ

กอล์ฟเล่าเรื่องโดยใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง ‘เรา’ ซึ่งสื่อถึงการวางสถานะที่เท่าเทียมระหว่างผู้อ่านและผู้เขียน ‘เรา’ เป็นสรรพนามที่มีความใกล้ชิดทางน้ำเสียง ไม่วางอำนาจ ไม่แสดงตัวตนในฐานะที่เป็นทางการกว่าอย่างคำว่า ‘ข้าพเจ้า’ หรือ ‘ฉัน’ สรรพนามที่ใกล้ชิดเช่นนี้ส่งผลให้งานเขียนของกอล์ฟวางสถานะผู้เขียนเป็นปุถุชนคนธรรมดา  แต่กอล์ฟก็ยังให้เหตุผลในการใช้สรรพนาม ‘เรา’ ในคำนำหนังสือ ว่า

…เพราะภายในมโนสำนึกอันพิลึกพิลั่นของข้าพเจ้านั้นไม่ได้มีเพียงข้าพเจ้าที่ดำรงอยู่บนโลกนี้ ข้าพเจ้ายังมีปีศาจเล็กๆ และนกตัวน้อยๆวนเวียนอยู่กับข้าพเจ้าเสมอ จนเมื่อถึงช่วงเวลาที่ข้าพเจ้าจะเล่าให้คุณฟังนี่แหละ เวลาที่นกน้อยถูกพรากไปจากหัวใจของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าติดคุก (น. 7)

เมื่ออ่านแวบแรกก็งงงวย คำพูดของกอล์ฟดูเป็นการเปิดเผยตัวตนที่แปลกประหลาด มนุษย์ที่ไหนกันมาอ้างว่าตนมีทั้งปีศาจเล็กๆและนกตัวน้อยๆวนเวียนอยู่กับตัว ทว่าถ้อยแถลงดังกล่าวมีนัยยะที่ชวนคิดและสร้างเอกลักษณ์ที่มากยิ่งขึ้นให้กับหนังสือ ขณะที่กอล์ฟเล่าเรื่องราวในคุก สิ่งมีชีวิตที่เธอเรียกว่า ‘ปีศาจ’ โผล่มาทักทายผู้อ่านอยู่เป็นระยะ ในตอนหนึ่งของหนังสือ นักโทษในเรือนจำไม่สามารถกินอาหารกลางวันได้เพราะเจ้าหน้าที่สั่งให้เข้าแถวให้เรียบร้อย พี่แว่นเพื่อนนักโทษในคุกคนหนึ่งเล่าให้กอล์ฟฟังว่า:

มันบอกว่าต้องเข้าแถวให้เรียบร้อยก่อน แถวต้องตรง จะไปเอาความแถวตรงมาจากไหนวะ สงสัยแม่งไปสวนสนามมาก ไปติดไวรัสอะไรมามั้ง แม่ง นี่คนติดคุกนะเว้ย ยังไม่มีใครได้กินข้าวเลย ดีนะพอมีขนมปังอยู่บ้าง แต่ก็รู้ใช่ไหมว่าคนที่ต้องทำงานจักร ต้องเย็บจักรตั้งแต่บ่ายโมงถึงสี่โมงเย็นน่ะ จะหิวขนาดไหน (น. 575)

เมื่อรับรู้สถานการณ์ดังกล่าวเจ้าปีศาจก็โผล่มาทักทาย กอล์ฟเล่าว่าสิ่งที่ได้ยินจากเพื่อนนักโทษ ‘ปลุกเจ้าปีศาจจากการนอนกลางวัน’ เธอตัดสินใจเสนอแนะให้เขียนร้องเรียนทางเรือนจำ “เขาไม่ได้เห็นเราเป็นคนไง ถ้าเกิดว่ากอล์ฟเขียนร้องเรียน มีใครเห็นด้วยบ้าง เดี๋ยวจะเขียนเอง” กอล์ฟเสนอแนะนักโทษคนอื่นๆ และกล่าวเพิ่มเติมว่า ‘แล้วเดี๋ยวพวกเรามาลงชื่อกันนะ’ เจ้าปีศาจเสนอมา เพราะไม่อยากรับผิดชอบคนเดียวถ้ามีอะไรเกิดขึ้น (น. 576) เป็นที่น่าสังเกตว่าเจ้าปีศาจโผล่มาในขณะที่เธอมีความคิดและการกระทำที่ต่อต้านอำนาจ ในขณะที่เธอเปิดเผยตัวตนและความคิดเทาๆ ที่ถูกมองว่า ‘ไม่ควรคิด’ และไม่ควรเผยให้ผู้อื่นรับรู้ เจ้าปีศาจของกอล์ฟโผล่มาในลักษณะเช่นนี้ตลอดทั้งเล่ม

ทว่าปีศาจกลับดูเป็นสิ่งมีชีวิตปกติและเป็นมนุษย์เสียเต็มประดา

เจ้าปีศาจมีความย้อนแย้งกับชื่อที่ถูกเรียก หลายคราที่มันโผล่มา เจ้าปีศาจกลับเป็นตัวตนที่จริงใจต่อความเป็นมนุษย์ ไม่ปกปิดตัวตนที่ไม่ได้ไร้ที่ติ ยอมรับความกลัวและความคิดเบื้องลึกที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคม เมื่ออ่านไปอ่านมากลับให้ความรู้สึกว่าเป็นมนุษย์ปุถุชนที่ไม่ได้พยายามสร้างภาพลักษณ์การเป็นคนดีผู้ยิ่งใหญ่ตามอุดมคติของสังคมไทยที่ชอบสร้างวีรบุคคลขึ้นมายกยออย่างไม่ลืมหูลืมตา ตัวตนปีศาจเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์และเป็นปีศาจเพียงแค่ชื่อ แต่เป็นสัญลักษณ์สะท้อนสังคมอันคับแคบมากกว่า “สังคมมองว่าฉันเป็นปีศาจนักใช่ไหม ได้ ฉันจะบอกว่าฉันเป็น แต่เห็นไหมว่าฉันเป็นมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้น?” ดูจะเป็นสารที่สื่อออกมาจากเจ้าปีศาจของกอล์ฟ เพื่อทวงคืนและทลายกำแพงความเป็นปีศาจที่รังสรรค์โดยสังคมอำนาจนิยมที่พยายามยัดความเป็นมนุษย์ไว้ในกล่อง กอล์ฟพลิกกลับความหมายของการเป็นปีศาจในสายตาของสังคมเช่นนี้—ปีศาจของเธอเป็นมนุษย์ และเช่นเดียวกัน กอล์ฟพลิกกลับความหมายของหลายสิ่งหลายอย่างในงานเขียนชิ้นนี้

ผมที่ไม่ได้สระกับความหวังที่แตกสลาย

“ตัวเองสระผมสิ จะได้ดีขึ้น” เวลานั้นเราโศกาเกินกว่าจะมีแก่ใจ ได้แต่สลัดหัว แล้วนอนลงท่าม กลางเสียงโหวกเหวกของฝรั่งในกรงข้างๆที่ตะโกนถึงสิทธิมนุษยชน ตะโกนให้ตำรวจปล่อย ตะโกนว่ามันไม่ผิด อยากบอกพ่อตาน้ำข้าวเหลือเกินว่า “นี่มันประเทศไทย สิทธิมนุษยชนมันมาไม่ถึง” แต่ก็เพลียเกินไป (น. 6-7)
มีหลายคนมาให้กำลังใจว่ากำลังทำเรื่องประกันตัว แต่เรารู้อยู่แก่ใจว่าประกันไม่ได้หรอก ก็รู้กันอยู่ว่า ‘โดยข้อหาแห่งคดีนี้’ ไม่มีทางได้ประกัน และเมื่อประกันไม่ได้ก็ต้องเดินหน้าเข้าคุก คุกน่ะ คุกจริงๆ (โอ๊ย ทำไมเราไม่สระผมเนี่ย รู้อย่างนี้สระมาซะก็ดี หัวเหนียวน่ารำคาญมาก ทำไมไม่เชื่อเพื่อนผู้มีประสบการณ์) (น. 9-10)

เมื่อเริ่มอ่านบทแรกจนเกือบจะจบ ฉันน้ำตาเอ่อ “จะอ่านหนังสือเล่มนี้จบได้ยังไงกัน?” คือสิ่งที่ฉันคิด จนเมื่ออ่านถึงประโยคในวงเล็บข้างต้น ฉันหลุดขำออกมาทั้งน้ำตา กอล์ฟเล่าเรื่องความอยุติธรรมปนอารมณ์ขัน ไม่มีการเสแสร้งเศร้าสำนึกหรือเรียกร้องความสงสารเห็นใจ มีแต่การยืดอกรับความอยุติธรรมแบบที่มันเป็น ที่เมื่อเป็นเช่นนี้และรู้อยู่กับอกว่าระบบยุติธรรมปฏิบัติต่อชีวิตมนุษย์เช่นไร อาจเป็นการดีกว่าหากมองสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยอารมณ์ขัน เพราะในเมื่อระบบยุติธรรมไม่จริงจังต่อชีวิตคน เหตุใดจึงต้องมอง ‘การอำนวยความยุติธรรม’ ที่เกิดขึ้นด้วยความจริงจังเล่า

กินข้าวเสร็จก็กลับมานั่งใต้ถุนอาคารที่เคยนั่งเมื่อคืน แล้วคนเก่าๆก็ลงมาอาบน้ำกินข้าว โหย นี่มันหนังจีนกำลังภายในชัดๆ รวดเร็วปานสายฟ้าแลบ เปิดล็อกเกอร์ เปลี่ยนสุ่ม อาบน้ำ แต่งตัว กินข้าว อยากจัดไตรกีฬาจริงๆ สมาชิกลาดยาวชนะเลิศได้เลยนะนี่ (น. 17)

กอล์ฟเล่าเรื่องในคุกอย่างปะปนไปด้วยอารมณ์ขัน เมื่อแรกถูกขังคุก เธอบรรยายความอลหม่านด้วยสายตาแบบดังกล่าว เราพบเจออารมณ์ขันและความสุขจากสิ่งเล็กน้อยได้ใน มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ และแน่นอนว่านี่ไม่ใช่การลดทอนความอยุติธรรมที่เกิด ความกังวล ความเครียด และความเจ็บปวดก็ฝังตัวอยู่ในหนังสือ แต่นี่คือความเข้มแข็งของมนุษย์ ที่การพรากอิสรภาพทำลายเธอไม่ได้ กอล์ฟเล่าเรื่องชีวิตในคุกไปเรื่อยๆ เราเห็นทั้งการเติบโต การปรับตัว ความคิดของเธอยังโบยบิน คุกกลายเป็นพื้นที่ของการเรียนรู้และวิพากษ์สังคม เรื่องราวในคุกและชีวิตประจำวันที่ดูเหมือนเป็นเรื่องส่วนตัว ได้รับการตอกย้ำตลอดทั้งเล่มว่าการเมืองกับชีวิตประจำวันไม่ได้แยกออกจากกัน และความเชื่อมั่นที่ยังพอหลงเหลือในระบบยุติธรรมไทยก็ถูกถอนรากโถนโคนจนสิ้น

เมื่อเรายังไม่ถูกตัดสินจนคดีถึงที่สุดแล้ว แปลว่าเราจะได้ไปศาล ไปศาลแปลว่าเราจะได้เจอเพื่อนๆ เจอแม่ และได้คุยกับเพื่อนๆ อีก
ครั้งแรกที่ไปศาลเพื่อฝากฝัง มีเหตุติดขัดเพราะหมายมาวันเสาร์ และเราต้องขึ้นศาลวันจันทร์ นั่นเท่ากับว่าจะไม่ได้บอกญาติว่าวันจันทร์เราต้องไปศาล แล้วแบบนี้ใครจะมาเยี่ยมเราได้ ใครจะรู้ล่ะว่าเราจะไปศาล (น. 77)

ตามปกติของสากลโลก ขณะที่คดียังไม่สิ้นสุดการตัดสินไม่ว่าผู้ถูกกล่าวหาจะกระทำผิดหรือไม่ การไปศาลเป็นการต่อรองอำนาจของผู้ถูกกล่าวหาและพิสูจน์ความบริสุทธิ์ สิ่งเหล่านี้เป็นมาตรฐานที่ควรเป็นปกติ พึงกระทำ และควรคาดหวังได้จากระบบยุติธรรม แต่ความคาดหวังของกอล์ฟกลับเป็นการคาดหวังว่าจะไป ‘เจอเพื่อน’ ส่วนความกังวลก็ไม่ใช่การถูกพิพากษาหรือไม่ได้รับความยุติธรรมแต่เป็นการที่ ‘เพื่อนจะไม่มาหา’ ประสบการณ์ต่อระบบยุติธรรมไทยไม่ใช่การเรียกร้องอิสรภาพหรือความยุติธรรม แต่กลับเป็นการไม่คาดหวังและปล่อยเลยตามเลย

และความยุติธรรมแบบคาดหวังไม่ได้ก็ถูกบดขยี้จนไม่เหลือชิ้นดี

ถังแก๊สเปล่า ข้าวเหนียวไก่ย่าง และค่ำคืนที่เดินตากฝน

ใครจะไปคิดอะไรมากมายถึงคนในคุก คุกเป็นสถานที่ปิดลับและคับแคบต่อจินตนาการของเรา สังคมมองคุกเป็นสถานที่แก้ไขหรือไถ่บาปของ ‘ผู้กระทำผิด’ แม้แต่เมื่อกล่าวถึงชีวิตคนในคุก เรามักได้ยินเสียงเรียกร้องความยุติธรรมต่อนักโทษการเมือง แต่ไม่ค่อยได้เสียงกล่าวถึงชีวิตอื่นหลังกำแพงคุก มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ ขยายขอบเขตจินตนาการดังกล่าว รื้อ และสร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับชีวิตคนที่หนทางชีวิตลดเลี้ยวเคียดคดเข้ามาในสถานที่ปิดลับอย่างคุก

แตงกวาติดคุกมาในคดีลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ทรัพย์ที่แตงกวาลักมาคือถังแก๊สเปล่าจากหน้าบ้านอดีตผู้พิพากษาที่ปิดร้าง เอาไปขายได้เงินสามสิบบาทมาซื้อข้าวเหนียวไก่ย่างเลี้ยงลูกสามคน แต่กลับโดนแจ้งความดำเนินคดี ตัดสินโทษสามปี แตงกวาต้องกินยากล่อมประสาทในช่วงแรกๆ แต่ตอนนี้ไม่ต้องกินแล้ว ชีวิตในคุกของแตงกวาน่าสนใจ จากคนประสาทไม่ค่อยดี ค่อยๆขยับฐานะจากลูกไล่มาเป็นแม่ค้าตลาดมืด (น. 637)

เรื่องของแตงกวาในหนังสือ เป็นหนึ่งในเรื่องราวของคนคุกมากมายหลายชีวิตที่กอล์ฟนำมาเล่าสู่กันฟัง เรื่องราวไม่กี่บรรทัดของแตงกวาวิพากษ์ระบบยุติธรรมที่ตัดสินชีวิตคนโดยมองเพียงข้อกฎหมาย แต่ไม่มองชีวิตคนที่มีปัจจัยรายรอบและความจำเป็นมากมายที่ส่งผลให้คน ‘กระทำผิด’

โทษของต้อมยี่สิบห้าปีพี่ ยังมีเวลาให้สอบอีกหลายครั้ง เป็นนักโทษชั้นเลวก็แบบนี้ (น. 711)

กอล์ฟเล่าเรื่องของต้อมให้ผู้อ่านฟัง ต้อมเป็นนักโทษที่ติดคุกมาด้วยคดีค้ายาเสพติดพร้อมกับลูกชายชื่อสตางค์ การสอบที่ต้อมกล่าวถึงคือการสอบเลื่อนชั้นนักโทษ เพื่อเลื่อนจากชั้นเลวเป็นชั้นกลาง จากนั้นจึงเป็นชั้นดี การสอบเลื่อนชั้นให้เป็นนักโทษชั้นดีก็เพื่อให้สามารถรับพระราชทานอภัยโทษได้เมื่อมีการอภัยโทษเกิดขึ้น  ตามจินตนาการของสังคมแค่เมื่อได้ยินคำว่า ‘นักโทษ’ ผู้คนก็เกิดอาการอกสั่นขวัญแขวน และต้อมเป็นถึง ‘นักโทษชั้นเลว’ ที่แค่เมื่อได้ยินคำดังกล่าว สังคมก็มักสาปส่งให้จมดินในฐานะปีศาจร้ายไร้ศีลธรรมที่ควรเน่าหนอนอยู่ในคุก แต่เช่นเดียวกันกับเรื่องราวของแตงกวา เรื่องราวของต้อมพลิกกลับความหมายของศีลธรรมและจินตนาการที่เรามีต่อมนุษย์ในคุก:

ครั้งที่แล้วต้อมติดมาสามปี ยาน้อย ออกจากคุกต้อมก็ไปสมัครงาน ไม่อยากขายยาแล้ว ได้งานล้างจานอยู่ในห้าง แต่ตอนทำงานน่ะพี่ เดือนแรกเราจะยังไม่ได้เงินใช่ไหม เราก็ต้องมีเงินไปทำงาน ตอนเช้าต้อมก็ให้แฟนขี่มอเตอร์ไซต์ไปส่ง แฟนไปทำงานอีกที่ เขาก็แวะส่งต้อมก่อน ต้อมไปทำงานวันแรก ไม่มีเงินเลย ก็อาศัยกินข้าวที่ร้านตอนกลางวัน ตอนเย็นต้อมก็ขอเขาห่อข้าวกลับบ้าน แต่เย็นนั้นฝนมันตกหนักมาก ต้อมไม่มีค่ารถกลับบ้าน แฟนก็ไม่มารับซักที ไม่มีโทรศัพท์ ต้อมเลยหันไปหาเพื่อนร่วมงานที่ทำงานอยู่ด้วยกัน ขอยืมเขายี่สิบบาท แล้วเดี๋ยวพรุ่งนี้ต้อมจะหามาคืน พี่เชื่อไหม ไม่มีใครให้ต้อมเลย คืนนั้นต้องเดินตากฝนถือกับข้าวกลับไปให้ลูกกิน ต้อมเดินร้องไห้กลับบ้านประมาณเจ็ดกิโล (น. 711 -712)

ค่ำคืนที่ต้อมเดินฝ่าฝนร้องไห้เจ็ดกิโลถือกับข้าวกลับไปให้ลูกกิน เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ต้อมตัดสินใจกลับไปขายยา “ต้อมไม่รู้จะทำยังไงพี่ ลูกก็ต้องเลี้ยง ท้องก็หิว” ต้อมเล่าให้กอล์ฟฟังถึงสาเหตุที่กลับมาขายยา ซึ่งท้ายที่สุดทำให้ถูกจำคุกยี่สิบห้าปี มีสถานะเป็น ‘นักโทษชั้นเลว’ เรื่องราวของต้อม แตงกวาและผู้คนที่กระทำผิดกฎหมายอีกหลายคนในคุกที่กอล์ฟเล่า รื้อทำลายมาตรฐานทางศีลธรรมและความดีความชั่วที่ถูกขีดเส้นแบ่งอย่างมักง่าย มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ คว้านไส้ระบบยุติธรรมที่ลงโทษความจน ทำลายภาพปีศาจของคนคุก และฉายแสงให้เห็นเรื่องราวชีวิตคนที่เต็มไปด้วยความอยุติธรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของระบบยุติธรรมไทย

ภาพโดย เฌอทะเล สุวรรณพานิช

พิภพขนาดย่อมของสังคมไทย

มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ ไม่ได้เพียงพาผู้อ่านขยายแค่กำแพงจินตนาการเกี่ยวกับคนในคุก แต่ยังเปิดบทสนทนาในประเด็นที่แทบไม่มีใครสนใจใส่ใจและกล่าวถึงอย่างคุก ชวนคิดว่าแท้ที่จริงแล้วเราส่งคนเข้าคุกไปเพื่ออะไรและคุกทำอะไรกับคน หากกล่าวถึงคุกในประเทศไทย เป้าประสงค์ในการดำรงอยู่ของคุกตามที่สังคมเข้าใจคงแบ่งอย่างคร่าวๆได้เป็นสองกระแสหลัก คือคุกในฐานะสถานที่ดัดสันดานคนและคุกในฐานะสถานที่ลงโทษคน คุกในฐานะแรกแฝงความหมายของการเป็นสถานที่เปลี่ยนแปลงและให้โอกาสคนฟื้นคืนสู่สังคม ความหมายที่สองมองระบบยุติธรรมในลักษณะที่ต้องแก้แค้น (retributive justice) คือคนทำผิดต้องถูกลงโทษโดยการนำไปกักขังไว้ในสถานที่ปิดอย่างคุก หลายครั้งหลายคราทั้งสองความหมายทับซ้อนกัน เรามองคุกเป็นทั้งสถานที่ ‘ดัดสันดาน’ และลงโทษคน แต่สิ่งหนึ่งที่แฝงอยู่ในทั้งสองความหมายคือแนวคิดที่ว่า คนในคุกเป็น ‘คนนอก’ (the Other) ของสังคม ที่ต้องถูกแบ่งแยกออกไป ถูกกักขังเอาไว้ในสถานที่ปิดลับไม่ให้ออกมาปะปนในสังคม

…ก็สรุปได้ว่าสามคนที่เพิ่งเข้ามานี้เป็นเชื้อพระวงศ์ มีนามสกุลที่บ่งบอกสายตระกูลเก่าแก่ เข้ามาในคดีฉ้อโกงประชาชนมูลค่าหลายร้อยหลายพันล้านจากระบบธนาคาร เข้ามาแล้วก็ถูกจัดจำแนกเป็นคนป่วย ได้นอนที่พบ. [เรือนพยาบาล?] โดยไม่ได้มีทีท่าว่าจะป่วยไข้ปางตายเหมือนนักโทษ รายอื่นๆ ซ้ำได้เยี่ยมญาตินานกว่าชาวบ้านชาวช่องในรอบเช้าสุด จนทำให้ญาติที่มารอก่อนต้องตกรอบได้… (น. 517)

นี่คำบอกเล่าถึงนักโทษสามคนที่เข้ามาใหม่ในคุก ซึ่งแทบไม่ต่างอะไรจากสังคมไทยภาพนอกที่เต็มไปด้วยระบบชนชั้นและการใช้เส้นสาย คำบอกเล่าในหนังสือทำให้เห็นว่าคนในคุกที่มีสถานะทางสังคมและมีเงิน แม้เมื่ออยู่ในคุกก็อยู่สบายกว่าคนจน นักโทษสามคนที่มีเส้นสายนี้กล่าวด้วยซ้ำว่าการติดคุกทำให้เรียนรู้ถึง ‘ความสงบ’ แต่ความสงบอย่างว่าเป็นสิ่งเข้าไม่ถึงสำหรับนักโทษคนอื่นๆ

ขัดใจมาก ใช่สิพวกมึงสงบ เพราะว่าพวกมึงได้อยู่สบาย นอนเตียง อาบน้ำฝักบัว มีคนรีดเสื้อผ้า ได้เยี่ยมญาติพิเศษสองรอบ แต่คนอื่นต้องอยู่เหมือนสัตว์ เจ๊อยากยกมือถามพวกมันมากเลย แต่เขาไม่ให้พูดแล้วเนี่ย… (น. 682)

ประโยคข้างต้นพรั่งพรูออกจากปาก ‘น้าซี’ เพื่อนนักโทษของกอล์ฟผู้นำเรื่องราวของนักโทษผู้มีอภิสิทธิ์ทั้งสามมาเล่าให้กอล์ฟฟัง สภาพความเป็นอยู่ของอภิสิทธิ์ชนดังกล่าวแตกต่างราวฟ้ากับเหวเมื่อเทียบกับแม่ลูกติดในคุก คนไม่มีญาติ คนไม่มีเงิน ที่ต่างต้องทำงานในคุก เพื่อหาเงินมาดำรงชีวิตในคุก นักโทษบางคนไม่มีญาติข้างนอกและไม่มีเงิน ก็ต้องทำงานในคุกเพื่อให้เมื่อถึงเวลาออกจากคุกจะได้มีค่าเดินทางกลับบ้าน หรือแม้แต่การที่ในคุกมีพื้นที่แยกให้แม่และเด็ก ก็ไม่ได้รับประกันสวัสดิภาพของเด็กและแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ที่ไม่มีเงิน

“พี่กอฟ หนูขออะไรพี่อย่างหนึ่งได้ไหม หนูจะไม่ขออะไรพี่อีกเลย” สายตาและน้ำเสียงแบบนั้นทำให้เรากังวล ก่อนจะถามกลับไปว่าที่จะขอนั้นคืออะไร
“มันมีแม่ลูกอ่อนคนนึง น้องคนนั้นอ่ะ” พลอยบอกลักษณะแม่ลูกอ่อนคนนั้นโดยที่ตายังมองหน้าเราอยู่ เรามองเลยออกไปเห็นเด็กสาวที่ดูเหมือนจะยังไม่เคยมีลูก อุ้มลูกตัวแดงๆ ที่เพิ่งคลอดไว้ในอก แล้วพยักหน้าสบตาพลอย
“น้องเขาไม่มีญาติ แล้วลูกเขาเหมือนจะอ่อนแอ พี่ช่วยซื้อนมให้น้องเขาด้วยได้ไหม” (น. 324)

นี่คือตัวอย่างหนึ่งของชีวิตคนคุกที่ไร้เงินและไร้ญาติ นมที่มีคุณภาพไม่ได้มีเพียงพอให้เด็กในคุกกิน คนที่มีเงินเท่านั้นจึงจะเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นต่ำที่มนุษย์พึงมีได้ แม้แต่เด็กอ่อนในคุกซึ่งเกิดมาโดยไม่มีความผิดติดตัว ก็เหมือนจะโดนความจนลงโทษไปด้วย ชนชั้นทางเศรษฐกิจลงโทษคนตั้งแต่ลืมตาดูโลก การกักขังคนไว้ในคุกที่ซึ่งเป็นปลายทางของความยุติธรรมไม่สามารถลงโทษคนอย่างเท่าเทียม คุกมีชนชั้น มีระบบอำนาจและความไม่เท่าเทียมที่ไม่ได้แตกต่างจากสังคมภายนอก จึงไม่น่าแปลกใจถ้าค่านิยมในคุก หรือการปฎิบัติต่อมนุษย์ก็คือค่านิยมของสังคมไทย

มนุษย์นั่งอยู่เฉยๆก็ต้องคุยกันเป็นเรื่องปกติ แต่วันนี้วันจันทร์ เป็นวันทำการ เราจะถูกห้ามเดินวุ่นวาย ต้องก้มตัวจนหน้าเกือบติดพื้น หรือคลานเข่าอยู่ตลอดเวลา ‘พี่เลี้ยง’ คือผู้ต้องขังที่เจ้าหน้าที่มอบหมายให้คุมผู้ต้องขังคนอื่นอีกที ‘คนทำงาน’ คือคนที่ช่วยงานต่างๆอยู่ในเรือนนอน คนเหล่านี้จะต้องมอบคลานเข้าไปหาเจ้าหน้าที่… (น. 27)

การหมอบคลานเป็นวิถีปฏิบัติในคุก แม้แต่การที่เจ้าหน้าที่และนักโทษจะนั่งบนเก้าอี้เสมอกันก็เป็นสิ่งแปลกประหลาด แต่ที่น่าแปลกกว่าคงเป็นการปฏิบัติกับคนราวกับไม่ใช่มนุษย์ แต่คาดหวังว่าเมื่อคนออกจากคุกไปแล้วจะหลาบจำและไม่กระทำผิดซ้ำ ในเมื่อนักโทษไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นมนุษย์แต่แรก เหตุใดจึงคาดหวังให้คุกเป็นพื้นที่อำนวยความยุติธรรมและตัดวังวนแห่งการกระทำผิดซ้ำได้

กลับกัน คุกดูจะสานต่อค่านิยมและวิถีปฏิบัติที่สร้างความไม่เท่าเทียมจนเป็นเหตุของอาชญากรรมหลายอย่างแต่ต้น กลับหัวกลับหางราวกับจากผิดเป็นชอบ ความจนยังทำร้ายผู้คน ระบบชนชั้นยังดำเนินการของมัน คุกกลายเป็นสถานที่อันขัดต่อสามัญสำนึกของความยุติธรรมอย่างที่ควรจะเป็น ดังที่กอล์ฟกล่าวไว้ในตอนหนึ่งของหนังสือว่า ‘มันคือสิ่งตอกย้ำความพ่ายแพ้ของผู้คนมากมาย ที่เคยปลอบใจตัวเองว่า “ไม่ว่ารวยล้นฟ้าหรือเป็นมหาราชาที่ไหน ถ้าทำผิด ก็หนีคุกไม่พ้น”‘ (น. 683) และยังทำให้ผู้อ่านนึกถึงคำพูดติดหูที่ว่า ‘เงินทองมีมากตายไปก็เอาไปไม่ได้’ ตายแล้วเอาไปไม่ได้ก็จริง แต่ระหว่างมีชีวิตอยู่สภาพชีวิตคนที่มีกับไม่มีแตกต่างกันราวฟ้ากับเหว ไม่เว้นแม้ในปริมณฑลอย่างคุก ที่สุดท้ายแล้วไม่ได้เป็นอะไรนอกไปจากจักรวาลขนาดย่อมของสังคมไทยที่ไม่เท่าเทียม

คุกคือละครอีกฉาก

การถ่ายทำวันนี้กินเวลาเกือบๆหกชั่วโมง นับจากความรู้สึกและเวลาที่ไม่แน่นอนนัก ผลคือใครสักคนดูเหมือนจะมีอาการตาแดงกลับไป และพวกเขาฝากเงินเข้าบัญชีไว้ให้สองพันบาท ด้วยความเวทนาสงสารหรือคุยถูกคอก็ไม่ทราบได้ (น. 52)

เมื่อทหารและตำรวจเข้ามาพูดคุยกับกอล์ฟในคุก การเปรียบเทียบการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่เสมือนการถ่ายทำละคร หลายครั้งหลายครากอล์ฟเปรียบเปรยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคุกกับละคร บางตอนก็เขียนบทละครแทรกเหตุการณ์ในคุก วรรณศิลป์ที่เปรียบเปรยเหตุการณ์ในคุกกับละครชวนให้คิดอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นถึงบทบาท ความหมายและแม้แต่ประวัติศาสตร์ของคุก จนฉันต้องไปหาหนังสือมาอ่านเพิ่มเติม ก่อนที่จะมีคุกแบบสมัยใหม่ซึ่งมีลักษณะแบบที่เรารับรู้กัน คือการลงโทษคนผิดไปตามความสมเหตุสมผลของการกระทำผิดโดยคิดคำนวณเป็นเวลาที่ต้องถูกกักขังหรือจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ การลงโทษในสมัยก่อนมักเป็นการทำร้ายร่างกายด้วยความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการเฆี่ยน ตัดแขนตัดขา หรือฆ่าแขวนคอ และการลงโทษเช่นนี้มักกระทำต่อหน้าฝูงชน การลงโทษในลักษณะที่กระทำความรุนแรงต่อหน้าฝูงชนเช่นที่กล่าวมาถูกศึกษาโดยนักประวัติศาสตร์มากมาย และนักประวัติศาสตร์หลายคนก็เปรียบเปรยการลงโทษแบบดังกล่าวว่าเป็นเสมือนกับ ‘ละครเวที’ (stage play) ซึ่งมีนักแสดงคือฝูงชนที่มามุงดูการลงโทษและผู้กระทำผิดที่ถูกลงโทษ  ฝูงชนจะต้องสวมบทบาทในการรังเกียจ โห่ไล่ และสำนึกว่าไม่ควรก่อความผิดดังผู้ถูกลงโทษ  ผู้ถูกลงโทษก็จะต้องแสดงบทสำนึกเสียใจที่กระทำผิดและแสดงบทบาทในฐานะอาชญากรที่พ่ายแพ้แก่องค์อธิปัตย์ (The Prison and the American Imagination, 2009) การตีความการลงโทษเป็นศิลปะการแสดงขยายความหมายและมุมมองต่อการลงโทษและกฎหมายแบบที่เรามักเข้าใจกัน คือกฎหมายไม่ได้อาศัยเพียงอำนาจขององค์อธิปัตย์หรืออำนาจที่เขียนอยู่ในหนังสือหรือธรรมนูญใด แต่อาศัยการสร้างความเชื่อ (myth) ผ่านการลงโทษที่มีลักษณะราวกับการแสดงละครเวที เพื่อให้ผู้คนหวาดกลัวและสร้างความเชื่อว่าสิ่งใดถูกผิด ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำ ดังในหนังสือ The Prison and the American Imagination ที่ทำการสำรวจและวิพากษ์จินตนาการที่ผู้คนมีต่อคุก กล่าวถึงการลงโทษในฐานะละครหรือการแสดงเอาไว้ว่า

ละครบนแท่นประหารคือพิธีการที่ถูกออกแบบมาให้ผู้คนตระหนักถึงการดำรงอยู่อย่างไม่มีเงื่อนไขขององค์อธิปัตย์ ผ่านร่างกายของอาชญากร (The Prison and the American Imagination, น. 7)

ละครบนแท่นประหารหรือการลงโทษในที่สาธารณะต่อหน้าฝูงชนในบริบทของยุโรปดำเนินมาเรื่อยจนช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงที่นักประวัติศาสตร์อังกฤษหลายคนบันทึกเอาไว้ว่า การลงโทษในที่สาธารณะไม่ได้สร้างความหวาดกลัวหรือเป็น ‘ละคร’ ที่มีประสิทธิภาพอีกต่อไปในการแสดงอำนาจของรัฐ เพราะนักโทษปฏิเสธที่จะแสดงท่าทีสำนึกผิด กลับกัน นักโทษต่างเผชิญการประหารอย่างไม่กลัวตาย และพฤติกรรมเช่นนี้ทำให้ฝูงชนส่งเสียงเชียร์มากกว่าที่จะประณาม การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการล้อเลียนกฎหมาย และทำให้การลงโทษและอำนาจรัฐเสื่อมถอย หมดความศักดิ์สิทธิ์

ด้วยเหตุนี้และด้วยบริบทแวดล้อมทางสังคมอื่นๆ คุกในฐานะการลงโทษแบบสมัยใหม่จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อแทนที่การลงโทษต่อหน้าสาธารณะชนซึ่งหมดความศักดิ์สิทธิ์ไป และถ้าการลงโทษทางกายต่อหน้าสาธารณะชนเป็นการแสดงอำนาจของกฎหมาย คุกเองก็รับช่วงต่อหน้าที่กำกับละครแห่งอำนาจจากการลงโทษแบบสมัยเก่าเช่นกัน

บทบาทของคุกในฐานะละครแห่งอำนาจชวนให้ย้อนกลับมานึกถึงระบบยุติธรรมในบริบทของรัฐไทย หน้าฉากของระบบกฎหมายและการจับคนขังคุกคือการลงโทษ ‘คนชั่ว’  กีดกันพวกเขาออกไปจากสังคมและขังไว้ในคุก แต่ฉากหลังคือระบบยุติธรรมที่ลงโทษคนจนโดยไม่สนใจความเป็นมาของชีวิตพวกเขา คือการลงโทษความคิดและการแสดงออกในนามของศีลธรรมอันดีงาม ราวกับว่าระบบยุติธรรมเป็นเพียงละครฉากใหญ่ไว้ให้สังคมฝันหวานว่าความยุติธรรมในสังคมนี้เที่ยงตรง และแสดงอำนาจเสือให้ปุถุชนหวาดผวาว่าอย่าริอาจท้าทายอำนาจรัฐ แต่เมื่อมองคุกเป็นเพียงละครฉากหนึ่งที่ใช้เพื่อแสดงอำนาจของรัฐ หาใช่สถานที่ผดุงความยุติธรรมแบบที่เราปรารถนาให้เป็น เราก็แค่แสดงหรือไม่แสดงตามบทบาทที่ถูกกำหนดมาให้ก็ได้และที่สำคัญกว่าคือหากเราปฏิเสธบทบาทที่ถูกกำหนด ความศักดิ์ของอำนาจก็ถูกบ่อนเซาะได้เช่นกัน

‘มันไม่สมควร’ เราไม่ควรยิ้มหลังจากฟังคำพิพากษาจำคุก 2 ปี 6 เดือน แต่เราเก็บความดีใจไว้ไม่ไหวนี่ อย่างน้อยมันก็ไม่ใช่ห้าปี ถือว่าเป็นเวลาที่กำลังดีสำหรับการเรียนรู้สิ่งต่างๆต่อจากนี้ เราหนีไม่ได้ ทำได้แค่เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน (น. 191)

นี่คำบันทึกของกอล์ฟในวันตัดสินคดี เมื่อเธอถูกเจ้าหน้าที่ติติงว่าไม่ควรยิ้มหลังฟังคำพิพากษา สำหรับกอล์ฟแล้ว ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะทำตามบทบาทที่สังคมคาดหวังเพื่อให้ความชอบธรรมกับระบบยุติธรรมเช่นนี้ การปฏิเสธที่จะแสดงตามบทบาทดังกล่าว ไม่ได้เกิดขึ้นแค่วันศาลตัดสิน แต่ดังก้องกัมปนาทอยู่ใน มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ ตลอดทั้งเล่ม แม้แต่เมื่อมีประกาศพระราชทานอภัยโทษให้ออกจากคุกได้ไวกว่ากำหนด กอล์ฟเล่าว่า

แต่สำหรับเรา เราภาวนาอย่าให้มีพระราชทานอภัยโทษเลย เพราะถ้าหากว่ามีก็เท่ากับว่าเราจะต้องกลับบ้านเร็วขึ้น งานหลายชิ้นของเราก่อนหน้านี้ยังค้างอยู่ ยังหาคนเอาออกไปให้ไม่ได้ งานหลายชิ้นที่กำลังสร้างก็ยังไม่เสร็จ ทั้งงานชฎา พระที่เพิ่งลงสี หรืองานวาดที่กำลังขึ้นรูป (น. 804)

ราวกับว่าคุกทำอะไรเธอไม่ได้ กอล์ฟพลิกกลับความหมายของคุก ความคาดหวังของสังคมว่าคนในคุกเป็นได้แค่เหยื่อ ว่าการอยู่ในคุกจะเป็นเพียงช่วงเวลาแห่งการทุกข์ทรมาน เธอยืนยันให้เห็นว่าแม้แต่ในบริบทที่จำกัด มนุษย์มีศักยภาพและมีความสามารถที่จะมีความสุขและเป้าหมายของชีวิตเสมอ จะมีอะไรทรงพลังได้เท่ากับการเมื่อกอล์ฟดำเนินเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษตามที่ ‘ผู้ใหญ่ขอมา’ และถูกถามว่า ‘คิดยังไงกับคำตัดสิน’ เธอตอบเพียงว่า

ถ้าศาลตัดสินว่าผิดก็คือผิดค่ะ และก็ดีใจที่ตัดสินโทษมาเท่านี้ค่ะ (น. 367)

‘ถ้าศาลตัดสินว่าผิดก็คือผิด’ ประโยคนี้ไม่ได้มีความหมายอื่นใดเลยนอกจากเป็นการยืนยันอำนาจของศาล ซึ่งในเมื่ออำนาจที่ว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของละครฉากใหญ่ของรัฐไทย อำนาจดังกล่าวไม่ได้บ่งบอกอะไรถึงมนุษยธรรมหรือความเที่ยงธรรม ‘ถ้าตัดสินว่าผิดก็คือผิด’ ไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่านั้นเลย

‘ยึดอีกเราก็เขียนอีก’

เราไม่ได้ใสซื่อต่อโลกเกินไปจนเชื่อว่าโลกหลังม่านใสบริสุทธิ์ แต่เราก็ชอบนั่งอยู่หน้าเวทีโรงละครที่ปลอบขวัญเราว่าความยุติธรรมดำเนินไปตามครรลองคลองธรรม และเราก็ชมละครจนลืมไปว่าพื้นที่หลังม่านเวทีและชีวิตข้างหลังนั้นกินพื้นที่กว้างขวางกว่าเวทีนัก ฉันเริ่มต้นอ่าน มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ ด้วยความคิดเช่นนั้น ฉันคิดว่าพื้นที่หลังม่านใหญ่กว่าหน้าเวที เตรียมใจอ่านถ้อยคำที่กอล์ฟถักทอและเผื่อใจไว้ให้ความรู้สึกสิ้นไร้ไม้ตอกและไร้ความหวังต่อชีวิตมนุษย์ที่เป็นหมากในเกมของระบบยุติธรรม การยอมรับและอยู่กับความเป็นจริงเช่นนี้เป็นสิ่งเจ็บปวดพอๆกับการคลำหาหนทางที่จะมีชีวิตอยู่

กระนั้นการเผชิญหน้ากับความเป็นจริงก็เป็นความรับผิดชอบทางจริยธรรม มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ เอาประวัติศาสตร์ชีวิตมนุษย์หลังม่านกำแพงมากองตรงหน้าผู้อ่าน แต่กอล์ฟไม่ได้เพียงบอกเล่าความเป็นจริง เธอแสดงให้เห็นถึงการใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะ บอกกับผู้อ่านว่าเราอยู่กับความเป็นจริงที่เจ็บปวดได้โดยไม่ต้องเจ็บปวดขนาดนั้นหรอก หัวเราะใส่มันก็ได้ มองมันด้วยอารมณ์ขันก็ได้ เหมือนกับที่เธอทำ

“พวกเขายินดีให้เราอ่านหนังสือเฉยๆมากกว่าจะให้จับปากกาเขียนอะไร” กอล์ฟเล่า เมื่อไล่เรียงอ่านจนจบเล่มและเขียนบทความฉบับนี้จนจบ ก็ต้องลงความเห็นว่าหากปลายปากกาสามารถสร้างแรงกระเพื่อมได้แม้สักเล็กน้อยเพียงใด งานของกอล์ฟก็สร้างแรงกระเพื่อมนั้น ‘ยึดอีกเราก็เขียนอีก’ กอล์ฟกล่าวขณะที่ถูกคุมขังอยู่ในคุก และถูกยึดหนังสือ กระดาษ เครื่องเขียน แต่อย่างที่กอล์ฟว่า ยึดอีกก็เขียนอีก เขียน และเขียนได้อีก เราพลิกโลกชั่วข้ามคืนไม่ได้ แต่ส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงโลกคือการยอมรับความเป็นจริง การเรียนรู้และเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่กอล์ฟแสดงในหนังสือของเธอ ความเปลี่ยนแปลงไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการเล่าเรื่องอย่างจริงใจ และการท้าทายอำนาจก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าการบอกเล่าเรื่องราวหลังม่านละครเวที ที่ตอนนี้ได้รับการบอกเล่าแล้ว

อ้างอิง

  • ภรณ์ทิพย์ มั่นคง. มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ. กรุงเทพ: สนพ. อ่าน, 2562.
  • Caleb Smith. The Prison and the American Imagination. New Haven: Yale University Press, 2009.

I was around eighteen or nineteen, studying in the final highschool year or freshly graduated? That I do not remember well, but what is still vivid is the freshly-staged 2014 coup d’etat. A highschool girl about to embark on her university life, I was surprisingly keen on politics despite growing up in the land where curiosity kills. I scrolled through my phone and saw the news of Wolf Bride theater activists being jailed, faces of Kolf and Bank filled my Facebook timeline, and so did my tears of rage.

Two to three years later, when I was still a university student, I shed tears once again upon seeing the news of Kolf and Bank being released.

I graduated from university last year, and earlier this year when Kolf published All They Could Do to Us, I couldn’t find the words to describe how excited I was. And, now, with the chance to write about her book, words do not suffice, and admittedly, my attempt to express how remarkable and powerful All They Could Do to Us might fall short from doing the justice it deserves.

My writing is a threat to prison security and maybe to the nation’s. They want me to just read rather than pick up a pen and write. (All They Could Do to Us, p. 129)1Further citations from this book will only include page numbers from now on.

Above is one of the many gut-wrenching sentences from Kolf’s2Kolf’s full name is Prontip Mankhong but she is more known as ‘Kolf, The Wolf Bride’ from all the news about her and how she refers to herself in the book. In this article, I take the liberty to call her Kolf. book. It was not surprising that the writing of the (former) lese majeste prisoner, imprisoned for performing a play, was seen as a ‘threat to security’ in the eyes of the state. But Kolf, who spent two years in prison and wrote a book about it, wrote away the allegations of being a threat to security, wrote to the point where her humanity flourishes, until the faith in the Thai justice system, if any is left, shatters into specks of dust. What remains are the questions pressed upon the heart of any reader: in which nook or cranny has justice slipped away to, and how do we come to terms with living in a society where such is reality?

 

A Demon-Skinned Human

We feel intimate with Kolf, at least as intimate as she permits through bits and pieces of her experience recounted in the 852-page-long book. She tells us about her history, stories of her parents who are farmers, being the eldest daughter who had to constantly look over her shoulder, or to put it more accurately, over the prison walls, for the wellbeing of her family, her concern for her mother’s feelings on seeing one’s daughter put in jail. She recounts (and also gossips about) her boyfriend who paid constant visits, the clothes she wore in prison, the shower, food, weather, conversations with fellow inmates, and wandering thoughts. All of this is what she lays bare. Her book is sincere and heartfelt.

Her story is narrated through the first-person pronoun ‘rao [เรา]’, an informal and intimate first person pronoun in the Thai language, to reflect an equal position between the writer and the reader, as opposed to other first-person pronouns such as ‘kha pa jao [ข้าพเจ้า]’ (a remarkably formal first-person pronoun) or ‘chan [ฉัน]’ (a less informal pronoun but still more formal than ‘rao’). Kolf also puts across the reason why she uses the pronoun rao, which in the Thai language does not only represent an informal ‘I’ but can also mean ‘we’ depending on the context.

…because inside my bizarre conscience, it is not only I who exists in this world. I always have a tiny demon and a small bird wandering around with me, up until the time that I’m about to tell you, when the little bird was taken away from my heart.
I was imprisoned. (p. 7)

Who goes around claiming that they have a tiny demon and a small bird wandering around with them? Though befuddled at the unique revelation of her identity, the statement provokes rumination and builds idiosyncrasy for the book. The creature which Kolf calls  her ‘demon’ peeps in here and there as Kolf tells her story. One instance is when the inmates cannot have lunch because the prison officers tell them to line up in order. A fellow inmate tells her:

We were told to line up in order. The line must be straight. But what straightness? I think they did too much marching and caught some virus from that. Fuck. We’re in jail and no one has eaten anything. Luckily we had some bread left. But, you know, some people have to work at the sewing machines from one till four in the afternoon—can you imagine how starved they must be? (p. 575)

The demon peeps in upon hearing about the incident. The matter, as Kolf recalls, ‘wakes the demon from its afternoon nap.’ She decided to write a complaint to the prison. “They do not recognize us as human beings. If I file a complaint, is anyone with me on this? I will write it myself,” Kolf suggests and adds, “let’s sign a petition”. The demon proposes because it doesn’t want to be the only one responsible if something happens (p. 576). It is worth noting that the demon takes its presence when she thinks and acts against the authority, when she reveals her greyscale thoughts and aspects of herself that ‘shouldn’t be.’ This is the pattern wherein the demon always surfaces.

But her demon is sane and unreservedly human.

The demon is paradoxical to its name. When materialized, the creature is sincere to its humanness. It does not wear a mask to cover its flaws, it admits to fears and unconventional thoughts; it exhibits the behind-the-surface dimensions of a human being as opposed to the symptom of the Thai society, where the hero is often blindly fabricated and put on an elusive pedestal. The demon is only a name for the living part and parcel of a human and rather symbolizes a myopic society. “If the society sees me as a demon then, okay, I will show them that I am. But do you see that I’m only a human being?” The message reverberates from Kolf’s demon to reclaim and head-bump the hierarchical walls of the identity forged and moulded by the authoritarian society that cages humanity in a box. Kolf inverts the monopolized meaning of demon—hers is a human—as  she does so with many things in her writing.

 

Unwashed hair and crumbled hopes

“Wash your hair, and you will feel better.” At the time I was too saddened to have a heart for that. I turned my head and lay down amid the loud noise of the foreigner in the next cell who was whining for human rights, telling the police to release him and that he had done nothing wrong. I so wanted to tell the rice-water eyed that “This is Thailand, human rights do not exist here.” But I was too dead tired. (p. 6-7)
A lot of people sent words of encouragement that the bail was in process. But I knew by heart that I wouldn’t be bailed out. Everybody knew that to be ‘accused of this kind of crime,’ you would never get a bail. And when you can’t, you march straight into prison. Prison. An actual prison. (Ah. Why  didn’t I wash my hair? I should have. Now it’s oily and it’s annoying. Why didn’t I trust my experienced friend?) (p. 9-10)

Upon finishing the first chapter, tears filled my eyes. “How could I finish this book?” was what I thought until I read the above sentence in parenthesis. It was both tears and titter. Kolf approaches injustice with a sense of humour, with no pretension of remorse nor a call for sympathy. She simply takes injustice as it is, knowing too well how the justice system treats human life. Why take what happened seriously? Why look at it through a somber lens? It might be better to equip yourself with some sense of humour when the justice system clearly treats human lives as a joke.

After I finished the meal I went to sit under the same building I sat under last night while the veterans came down to shower and eat. Wow. This is just like a Chinese martial arts film—faster than light—open the locker, change into sarong, take a shower, dress up, have dinner. I really want to host a triathlon. The Ladyao prison members would win the race. (p. 17)

The experience in prison is retold with a sense of humour, and throughout her work, the reader also comes across her sense of cheerfulness in all the little things. As a disclaimer, this is not to reduce the injustice that happened, the anxiety and pain rooted deep in the book, but Kolf illustrates the durability of a human being whose confinement could not cause a detriment to her soul. Along the account of her daily life inside prison, Kolf grew, her thoughts swooped and flew; prison became a space for her to learn and critique society. Her personal accounts prove the personal and political to be inseparable, and root out little faith that still lingers in the Thai justice system.

The case is not final yet. That means I get to go to court, and going to court means I will get to see my friends, my mom, and I will get to talk to my friends.
The first time I went to court and was put in jail, things got messy because the subpoena arrived on Saturday and I had to go to court on Monday. It meant I didn’t get to tell my relatives that I would go to court on Monday. So how could anyone come visit me? Who would know that I had to go to court? (p. 77)

When a case is not final yet, going to court is a process for the accused to negotiate and prove their innocence. This is a bare minimum that one should be able to expect. But Kolf expects to ‘go see her friends’ and her concern is not about the case but about her ‘friends not coming to visit.’ Her experience with the Thai justice system is not about proving one’s innocence nor asking for justice, but to not expect and let things go.

And the not-to-be-expected justice crumbles into fragments.

 

An empty gas tank, sticky rice with grilled chicken, and that night the rain fell

The prison is such a hidden space, kept out of sight and our popular imagination about it is limited. Society sees the prison as a redemptive or corrective space wherein the ‘wrongdoer’ ends up. Even within the conversations about the prison we often hear more of the outcry for political prisoners, but not the other lives behind bars. All They Could Do to Us expands the limits of our imagination we have about prison, deconstructs and reconstructs our understanding of the human lives whose winding pathways of life lead them into society’s forbidden place.

Tangkwa was jailed for burglary. What she stole was an empty gas tank in front of a vacant house that belonged to a former judge. She sold the tank for thirty baht3Thirty Thai baht is equivalent to around 1 USD to buy sticky rice with chicken for her three children. But she was reported to the police and was imprisoned for three years. At first, she had to take sedatives but now she doesn’t have to. Her life in jail is interesting; from being mentally unstable, she gradually climbed up the social ladder to being a stooge and, now, a black market merchant. (p. 637)

Tangkwa’s story is one of the many others that Kolf delineates. In a mere paragraph narrating her story, Kolf shoves it in the face of the justice system that quantifies human life by looking only at the book, but turns a blind eye towards the messy and tangled life histories that mired them into ‘wrongdoing’.

My sentence is twenty five years. I still have many more times to take the test. This is how it is, being a chan lew 4 Lew in Thai means ‘deplorable; wretched; depraved’ and chan means ‘class’. In the Thai correctional system, a chan lew prisoner does not get their sentence reduced when there’s a royal pardon. prisoner. (p. 711)

Above is Thom’s words, another fellow inmate from Kolf’s book. Thom was imprisoned together with her son, Stang, for drug dealing. The test she refers to is the test to level up her prisoner class, from chan lew to the intermediate class. As popular imaginations shape social perception, the mere mentioning of the word ‘prisoner’ triggers hatred, anxiety, and terror. Thom who belongs to the ‘lew’ or ‘wretched’ class prisoners might precisely conjure up the public fantasy of inmates, if not for her life story that Kolf recounts:

Last time I was jailed for three years. It was a small amount of drugs. I didn’t want to sell drugs anymore and I got a job as a dishwasher in a department store. But, you know, you’re not paid for the first month but you still need the money to go to work. In the morning my boyfriend would ride his motorbike to drop me off before he went to his workplace. I didn’t have any money on my first day of work. I ate free lunch at the restaurant and packed a meal from the restaurant to take home. But that evening it was pouring. I didn’t have any money to get home and my boyfriend kept me waiting. I didn’t have a phone. So I turned to the colleagues and asked whether someone could lend me twenty baht and I would return it tomorrow. No one lent me the money, can you believe that? That night I walked under the rain with the packed meal in my hand for my kid. I walked seven kilometers, crying the whole way back home. (p. 711-712)

The night Thom walked under the rain with the packed meal in her hand was her turning point. She got back to drug dealing. “I didn’t know what to do. My stomach was empty and I had to raise my kid,” Thom explained her circumstance which eventually landed her a twenty-five-year sentence and being classified as a chan lew prisoner. The life stories of the lawbreakers recounted in Kolf’s work deconstruct the normative moral boundary carelessly marked by the rigid legal system. The book disembowels the Thai justice system that criminalizes poverty, repaints the imagery of the evil prisoner, and sheds light onto the pathways of inequality that is part and parcel of the criminal justice system

Photo by Chertalay Suwanpanich

Microcosm of the Thai society

All They Could Do to Us extends not only the reader’s imagination about the prisoner but also the prison space and its existence in and of itself. The book drizzles onto the blaze of modern means of punishment, posing a question into the meaning and validity of the prison. In Thailand, just like other places with the prison as the modern form of punishment, there are two principal perceptions toward the prison: the prison as a restorative and a retributive space. The former aims to transform, restore and give chances to prisoners while the latter aims to punish those who have ‘wronged’ and put them in a confined space. At times, both meanings overlap, but what is inlaid is the perception of the prisoner as ‘the Other’ that must be put away, not to be contaminated with ‘normal’ people. The book subverts that notion and reveals prison to be a space no different from society at large.

…to conclude, the three new prisoners are royals, their surnames are telling of their aristocratic lineage. The three are imprisoned for fraudulence worth hundreds and thousands of millions baht from the banking system. They are classified as patients so they get to sleep in the nursing room without showing any signs of illness, unlike other prisoners. They also get to spend longer time with their visitors in the morning round, so long that other earlier visitors are eliminated from their slot… (p. 517)

What Kolf tells the reader here is no different from the Thai society outside the carceral space; both operate on hierarchy and nepotism. Social status and money makes one more comfortable in prison, much more than those without it. The three aristocratic prisoners even say that being in prison makes them learn about ‘peace’, even though the peace is unaffordable by most of the population in confinement.

I’m very frustrated. Sure, you feel peaceful cause you fuckin’ get to live comfortably, sleep on a proper bed, get a proper shower, someone who irons for you and two rounds of visitors while others live like animals. I wanna raise my hand and ask them but they won’t let me speak anymore… (p. 682)

Words pour out of ‘Aunty C’, Kolf’s fellow inmate who recounts the story of the three privileged prisoners whose quality of life in prison differs, as summer and freezing winter, from poor mothers with children, those without relatives and without money, all who have to work in prison to be able to afford life in prison. Some prisoners even have to work in order to have enough money for their transportation fare back home once they get out of prison.

“Kolf, can I ask you something? And I won’t ask for anything from you again”. Those eyes and voice worry me before I turn to ask what she wants.
“There is a mother with an infant. That one”. Ploy describes the mother with her eyes still fixed on me. I look over her and see a girl who seems like she’s never had a baby before, carrying a red newborn in her arms. I nod and meet with Ploy’s eyes.
“She doesn’t have anyone and it seems like her baby’s weak. Can you also buy milk for her?” (p. 324)

Such is an instance of life in prison of the underprivileged. Even quality milk is not provided for babies whose economic caste punishes the minute they enter this world. In prison, only those with money have access to basic necessities a human being is entitled to have. Confinement as the endgame of justice penalizes unevenly, the prison is classist and hierarchical, no different from society at large. Unsurprisingly, norms in prison are the norms of the Thai society.

People shoot the breeze when they’re just sitting still. This is normal. But today is Monday. A workday. We’re told not to walk around and lay down with our faces almost on the ground, or to grovel on our knees all the time. ‘Nannies’ are the prisoners whom the officers assigned to monitor other prisoners. ‘Workers’ are those who help in prison cells, these are the people that must crawl on their knees to the officers … (p. 27)

Grovelling is a normal practice in prison, even sitting on a chair at the same level as the officer is  out of the ordinary. What is even more out of this world is the expectation that the prisoner will ‘learn’ and not reoffend once they get out of prison, as the slogan ‘return good people to society’ Thai prisons often promote. When inmates are not treated as human beings in the first place, why assume the prison to be a space for justice and terminal of the vicious loop of reoffense?

Inversely, as from head to toe and black to white, the prison perpetuates norms and practices that are the roots of inequality and crime. Poverty still inflicts scars and the class system operates in full steam. The prison becomes an a space antithetical to justice, as Kolf states in her book: ‘It underscores the defeat of lots of people who comfort themselves by saying “no matter how rich you are or even if you’re the king of kings, if you commit something wrong, you can’t escape”‘ (p. 683). This conjures up a fallacy that ‘no matter how rich you are, you cannot take money with you when you’re dead.’ Truly, you cannot take money with you when you’re dead, but while living, conditions of life of the haves and haves-not are like heaven and abyss. The prison realm remains a microcosm of the drastically lopsided Thai society.

 

Dramatic Arts of the Prison

Today’s shooting took almost six hours, this is counted from my feelings and inexact time. The outcome was that someone got home with pink eyes and they deposited two thousand baht in my account. I don’t know whether it was out of pity or because we clicked. (p. 52)

Kolf describes the situation when soldiers and police officers came to talk to her in prison as a ‘shooting’. Upon a few instances in her book, she refers to some incidents in prison as drama and inserts drama scripts as part of her storytelling. The analogy between the prison and drama motivates me to look into the link between the two. Before the inception of the modern prison as we know it—the quantifiable punishment which calculates time or fine in proportion to the level of crime committed—punishment was corporeal. It was whipping, decapitation or hanging, often done in front of the crowd. Such physical punishments are studied by historians, some of whom compare the punishment with ‘stage play,’ whereby the crowd played the role of denouncing the punished and of realizing the severity of the crime, while the punished play the role of the repentant criminal who is defeated by the sovereign (The Prison and the American Imagination, 2009). The comparison of the pre-modern punishment as a stage play extends the meaning of punishment and law as we often see it. The power of the law does not only rely on the written text but also on the myth, through punishment as dramatic arts, reproducing fear and perception of right and wrong. The Prison and the American Imagination, a book that explores the history of imagination about American prison, discusses punishment as a stage play as follows:

The spectacle of the scaffold was a ceremonial designed to make everyone aware, through the body of the criminal, of the unrestrained presence of the sovereign. (The Prison and the American Imagination, p. 7)

The spectacle of the scaffold or public punishment continued in Europe up until the 18th century when many English historians recorded that the spectacle no longer functioned to create fear. It was no longer an efficient ‘stage play’ for the sovereign to assert power since the prisoner did not play according to their role. They did not show regret but encountered the execution without fear, and the crowd began to cheer rather than condemn the prisoner.

This is a pathway to the modern punishment—the prison—to replace the spectacle of the scaffold whose meaning no longer stood its ground. The prison thus carries on the role of the punishment before the crowd as a ‘spectacle of power’.

Such a dramatic history of prison asks for an inspection of the prison scene in the Thai context. On stage, the justice system is the prison that excludes and confines ‘criminals,’ but behind the scenes is the system that criminalizes the poor without taking into account their life histories. All as if the justice system is a blockbuster film for this society to fantasize that justice exists and to scare off those who might challenge the state authority. But once the prison is seen as a spectacle for that state to assert its power, not a tool for maintaining justice, and if one only defies to act the assigned role, the power of the state is then subverted.

“It’s not appropriate”. I shouldn’t have smiled after I heard my two-year sixth-month sentence. But I couldn’t help it. At least it’s not five years, it’s a decent amount of time to learn things from now on. I can’t escape and can only learn to live with it. (p. 191)

Kolf was scolded by an officer, saying that she shouldn’t smile after she heard her sentence. But for her there was no need to act the supposed role of repentance, to be in line with the script of the legal system. Her defiance to act reverberates, not only in the excerpt, but throughout her book. Even when there was a royal pardon for convicts, this is what she writes:

But for me, I wish there wouldn’t be a royal pardon. Because if there is, it means I have to go home sooner. Many of my works are still here and I can’t find someone to bring them out for me. Some of my works are unfinished, the Thai headdresses, the buddha images and paintings that I’ve only just started. (p. 804)

As if prison were only a play, she subverts its meaning and the presumption that confines her to a mere victim tormented during her time in prison. Rather, Kolf asserts that even in confinement she can learn and flourish. Nothing is more powerful than when she proceeds with the royal pardon because she ‘was asked to’, and when someone questions what she ‘thinks of the sentence’, she only says:

If the court says it’s wrong then it’s wrong. I’m glad with the sentence I got. (p. 367)

“If the court says it’s wrong then it’s wrong”. The sentence means nothing more than  the assertion of the court’s authority, which is part and parcel of the spectacle of the Thai state, emptied of humanity nor legitimacy. ‘If the court says it’s wrong then it’s wrong’ simply means nothing more than that.

 

‘Take them away and I’ll write again’

I believe that we, as a society, are not too naive to think that integrity is always upheld behind the curtain, but we would like a large stage reassuring us that justice is virtually carried out and we are wired to forget that the space and lives behind the curtain are much larger than the stage itself. I started off reading All They Could Do to Us with that in mind — that the space behind was much larger and I was prepared to thread through the woven words and, once again, to feel helpless and hopeless about human beings who are cogs for the theatre machine to run on. To look at and accept this reality is dispiriting, at times it feels like grappling a way to survive.

But confronting and living with the reality of injustice is an ethical burden one must take. All They Could Do to Us piles up histories of lives behind the stage, but it does not only barge in with truthfulness, Kolf also shows an artistic way to live, telling us that we can live with this reality, smirk and laugh at it, and waddle through it with a good sense of humour.

“They want me to just read rather than pick up a pen and write,” Kolf writes. Upon finishing this book and this article, I am certain that if a pen can create even a ripple in the ocean or a breeze in the universe, just as this book does so. “Take them away again and I’ll write again,” Kolf recalls when her stationery was confiscated in prison, and like she says, she would write again, and again, and again. The world does not turn upside down overnight, but accepting reality, learning and unlearning, as Kolf demonstrates throughout her book, is integral to change. And change is nothing but genuine storytelling; challenge to power is none other than the act of telling untold stories.

References

  • Mankhong, Prontip. มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ [All They Could Do to Us]. Bangkok: Read Publishing, 2019.
  • Smith, Caleb. The Prison and the American Imagination. New Haven: Yale University Press, 2009.

เฌอทะเล สุวรรณพานิช |
Chertalay Suwanpanich

เฌอทะเลเรียนมาด้านภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ขณะนี้ทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยเรื่องคนไร้บ้านอยู่ที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฌอทะเลสนใจศึกษาวรรณกรรมหลังยุคอาณานิยมและการเมืองเรื่องเพศ ช่วงนี้เริ่มหันมาสนใจประวัติศาสตร์การลงโทษ งานอดิเรกของเธอคือการแต่งกลอน ติดต่อเฌอทะเลได้ที่ [email protected] อ่านกลอนของเธอที่ https://www.facebook.com/floweypoems

Chertalay is an English Language and English Literature graduate. She now works as a research assistant focusing on homelessness at the Social Research Institute, Chulalongkorn University. She has passions for postcolonial literature, gender studies, and lately for history of punishment. Poetry writing is her pastime. Contact her at [email protected] Read her poems at https://www.facebook.com/floweypoems

เฌอทะเลเรียนมาด้านภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ขณะนี้ทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยเรื่องคนไร้บ้านอยู่ที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฌอทะเลสนใจศึกษาวรรณกรรมหลังยุคอาณานิยมและการเมืองเรื่องเพศ ช่วงนี้เริ่มหันมาสนใจประวัติศาสตร์การลงโทษ งานอดิเรกของเธอคือการแต่งกลอน ติดต่อเฌอทะเลได้ที่ [email protected] อ่านกลอนของเธอที่ https://www.facebook.com/floweypoems

Chertalay is an English Language and English Literature graduate. She now works as a research assistant focusing on homelessness at the Social Research Institute, Chulalongkorn University. She has passions for postcolonial literature, gender studies, and lately for history of punishment. Poetry writing is her pastime. Contact her at [email protected] Read her poems at https://www.facebook.com/floweypoems