มหรสพความสงสารที่ถูกฟังจากมุมสูง

Vertical Empathy in HUMANIMAL

Written By

เผ่าภูมิ ชีวารักษ์ | Paopoom Chiwarak

Translated by

ปาลิน อังศุสิงห์ | Palin Ansusinha

สัตว์   ประเสริฐ

   ประดิษฐ์

   ประหลาด.

สัตว์   มนุษย์.

1

‘สัตว์ประเสริฐ’

สัตว์มนุษย์2การแสดงชุดนี้เกิดขึ้นที่ 100 ต้นสน แกลเลอรี่ ในปี 2019 อันเป็นส่วนหนึ่งของงานนิทรรศการ ประเทศเล็กที่สมบูรณ์ ของ ประทีป สุธาทองไทย โดยการแสดง สัตว์มนุษย์ พัฒนาจากนวนิยายในชื่อเดียวกันที่เขียนโดยลิขิต วัฒนปกรณ์ ซึ่งเป็นปู่ของดุจดาว โดยหนังสือเล่มนี้ได้แสดงความรุนแรงของมนุษย์ในช่วงยุคแรกเริ่มของการพัฒนาระบบทุนนิมในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย เป็นผลงานการแสดงเชิงประสบการณ์ (Experiential Performance) กำกับโดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์ ศิลปินผู้มีภูมิหลังเป็นนักจิตบำบัดการเคลื่อนไหว (Dance and Movement Psychotherapist) ที่ออกแบบการแสดงเพื่อทดลอง ‘มนุษย์’ จำนวน 16 คน จัดแสดงรอบละหนึ่งคนในตู้กระจกใส เรียกร้องให้คนที่อยู่ด้านในเดินทางไปสู่สภาวะที่เรียกว่า ปลดอาวุธ (Disarmed)

21-03-2019 อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์
31-03-2019 วีรพร นิติประภา
20-04-2019 ดุจดาว วัฒนปกรณ์

ภาพโดย เผ่าภูมิ ชีวารักษ์

เราเดินเข้ามาในเขตแดนที่เส้นแบ่งของการทดลองและการแสดงระเหยไป เก้าอี้คนดูถูกจัดวางติดผนังอยู่สองฝั่งตรงกันข้ามตามแนวด้านยาวของห้อง ผนังด้านในสุดเป็นตู้กระจก ฝั่งตรงข้ามมีกล้องวิดีโอตั้งเกือบชิดผนังทางเข้าพร้อมกับเก้าอี้ของผู้ทดลอง คนในชุดแล็บสีขาวเดินไปมาจัดการเตรียมความพร้อมทางเทคนิคของเสียงและไฟ ความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่นั้นก่อตัวใหม่ในกระบวนการที่ศิลปินถูกรับเชิญมาเป็นผู้เข้าร่วมการทดลอง ผู้กำกับยังคงกุมอำนาจให้เห็นหน้าม่านเพื่อปฏิบัติการในฐานะผู้ทดลอง และผู้ชมอย่างเราที่นั่งหันข้างให้กับตู้แล็บก็เข้าไปในพื้นที่นั้นในฐานะประจักษ์พยาน

การทดลองทั้งหมดดำเนินไปด้วยชุดของคำถาม เหมือนเราได้ร่วมสังเกตกระบวนการจิตบำบัดที่เป็นเครื่องมือหลักทั้งในการทดลองและการแสดง ถึงตอนนี้เราเริ่มรู้สึกตัวว่ากำลังยืนอยู่กลางสี่แยกวัดใจที่ไม่เห็นไฟจราจร บทบาทที่ทับซ้อนเข้ามาเพิ่มในคู่ความสัมพันธ์ระหว่างคนทดลองที่กำลังจะทำหน้าที่บำบัด กับคนที่ถูกทดลองที่มาเข้ารับการบำบัด แต่ก็อาจไม่ได้เป็นปัญหาที่ต้องทบทวนก่อนทุกอย่างจะเริ่ม ตราบที่ขั้วอำนาจแสนกำกวมในพื้นที่ที่ก้ำกึ่งยังคงสถานะเดิมไว้แบบนี้ และเรายังเป็นเราต่อไป มาเฝ้าสังเกตในฐานะประจักษ์พยานในพื้นที่ที่ไฟจราจรทำงานไม่ปกติ

ผู้ทดลองเริ่มดำเนินการ ผู้ถูกทดลองทยอยตอบคำถามไปเรื่อยๆ น่าเสียดายที่เราจำคำถามปลีกไม่ได้ทั้งหมด แต่ยังพอจำลำดับของเงื่อนไขหลักที่ถูกวางในการตอบได้ประมาณว่า

“ให้ตอบตามความรู้สึกที่จริงใจที่สุด”

“ให้ตอบตรงกันข้ามกับความรู้สึกของตัวเอง รู้สึกใช่ ให้ตอบไม่ รู้สึกซ้าย ให้ตอบขวา”

“ให้ตอบคำถามด้วยการประดิษฐ์ประดอยที่สุด”

“ให้ตอบคำถามด้วยความรู้สึกที่ไวและจริงใจมากที่สุด หากกระพริบตาจะถือว่าข้ามไปสู่คำถามถัดไป”

“ให้ค่อยๆ ลดอาวุธลง แล้วอนุญาตให้สัตว์ในตัวคุณได้ออกมาตอบคำถาม”

ทว่าเราไม่อาจรับรู้ความเป็นไปในตู้แล็บได้อย่างปกติ เมื่อเราทำมากสุดได้แค่เห็น แต่ไม่อาจได้ยินเสียงที่เกิดขึ้นภายในจากปากของคนในตู้โดยพฤติกรรมพื้นฐานที่เราคุ้นชินในการฟัง ขณะเดียวกัน ผู้ทดลอง นอกจากจะคอยสรุปความเป็นไปจากคนในตู้ ก็กำกับกล้องด้วยตัวเอง บันทึกสดการตอบสนองทางกายภาพของผู้ถูกทดลองเป็นภาพเคลื่อนไหวฉายขึ้นจอเหนือตู้กระจก

แม้จะได้ยินเสียงทดแทนจากผู้ทดลองที่สะท้อนความเป็นไปในตู้ แต่ประสิทธิภาพการรับรู้ของเราได้แหว่งหายไปกับเสียงของคนในตู้แล้ว เหมือนโดนบังคับให้ดูทีวีที่ถูกปิดเสียง เราพยายามอ่านปากว่าผู้ถูกทดลองพูดหรือตอบอะไร คำถามทำให้เราอยากรู้เรื่องราวของคนในตู้ อ่านทันบ้าง ไม่ทันบ้าง รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง แต่แล้วสายตาก็ต้องทำงานหนักขึ้น เมื่อต้องคอยสลับมาจับจ้องภาพวิดีโอบันทึกสด ที่เคลื่อนไปเก็บตามตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายคนในตู้ เพื่อเน้นย้ำการตอบสนองในระดับสัญชาติญาณ ให้เราได้ฟัง ‘เสียงอื่น’ ที่เรียกร้องการได้ยินมากกว่าวัจนภาษา

“คุณยกมือขึ้นมากอดที่อก”

“ตอนนี้คุณเปลี่ยนมานั่งไขว่ห้าง”

“คุณถอนหายใจ”

บทสนทนาระหว่างผู้ทดลองและผู้ถูกทดลอง พาเราไปสู่บทสนทนาระหว่างเรากับพื้นที่ว่างของเสียงที่สาบสูญ ผัสสะของเราก็ถูกกระตุ้น เราได้กินอาหารรสจืด ที่เข้าถึงรสชาติในแบบที่มันเป็นโดยไม่อาศัยรสจัดจ้านเพื่อให้กลืนลง ท่าทางที่ไร้การปรุงรสได้เผยตัวมันเองออกมาท่ามกลางการหายไปของเสียง แต่จะพูดแบบนั้นก็คงไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะบางทีท่าทางและร่างกายอาจไม่เคยโกหก แค่มีอยู่ของมันเช่นนั้นมาโดยตลอด เฝ้ารอความละเอียดอ่อนเพื่อที่จะรับรู้ถึงความอ่อนไหว

“ช่วยเล่าถึงตัวเองตอนอายุ 17 ให้ฟังหน่อย”

ผัสสะที่ถูกสะกิดให้อ่อนไหวทำให้เราดื่มด่ำกับรสจืด ความธรรมดาสามัญของความเป็นคนบรรจงถ่ายทอดประสบการณ์ ชีวิตทั้งหมดของมนุษย์คนหนึ่งในตู้กระจกคายเรื่องราวตัวมันเองออกมาผ่านท่าทางและร่างกายที่ถักทอความรู้สึกและความทรงจำเหลือเพียงอารมณ์พื้นฐาน ความสุข ความเศร้า ความเหงา ความผิดหวัง ความรัก ความอิจฉา ความโกรธ และอีกไม่รู้กี่ความรู้สึก ที่ทับซ้อนกันอยู่ภายใต้กรอบทางศีลธรรมก็ปรากฏตัวอย่างตรงไปตรงมา เราได้เงี่ยหูฟังเสียงที่จมหายไปในพื้นที่ว่างปริศนา พาเราไปสำรวจดินแดนที่ซ่อนเร้น

 

2

‘สัตว์ประดิษฐ์’

ในช่วงหลังจากเงื่อนไขการประดิษฐ์ประดอยคำตอบ ผู้ถูกทดลองได้รับอนุญาตให้อยู่ในอิริยาบถที่ตนถนัดสบาย สามารถทานข้าว ดื่มน้ำที่ถูกเตรียมไว้ในตู้กระจกได้ตามอัธยาศัย และสามารถหยิบจับอุปกรณ์หรือของใช้ส่วนตัวที่มอบความสบายใจเมื่อต้องการ (ตุ๊กตา, บับเบิ้ล, ฯลฯ)

“คุณเคยนอกใจแฟนมั้ยคะ?”

หนึ่งคำถามปลีกที่เราพอจำได้ในช่วงที่ต้องตอบให้ไวและจริงใจที่สุดกับคำตอบ ความเร็วและจังหวะในการถามตอบที่ไวขึ้น ทำให้คนในตู้เหมือนถูกยิงด้วยกระสุนคำถาม เพื่อที่จะรับให้ทัน ปากต้องรีบงับคำให้ไว และทันทีที่ตอบเสร็จ ต้องรีบเคลียร์ตัวเองเพื่อรอรับกระสุนเม็ดใหม่ เหมือนว่าปากของเขาได้พูดก่อนที่จะทันได้คิด มีเพียงช่วงเวลาอันสั้นก่อนผู้ทดลองจะลั่นไกให้ทันได้กระพริบตา ผู้ถูกทดลองไม่มีเวลาทบทวนประมวลความรู้สึกก่อนตอบ เช่นเดียวกันกับที่ไม่มีเวลามานึกเสียใจถึงสิ่งที่เพิ่งได้พูดไป

“คุณเคยเกลียดใครจนอยากให้เขาตายมั้ย?”

การได้เห็นใครตอบคำถามแบบนี้คงไม่รบกวนใจ หากนั่นคือพื้นที่ของการบำบัดเพียงอย่างเดียว อรรถรสที่เพิ่งได้อร่อยกับความจืดตอนนี้เริ่มขืนกับความขม เราอยากควานหารีโมตกดเปลี่ยนช่อง สงสัยว่านี่เราไม่ได้บังเอิญดูรายการ Reality ที่กำลังจะเริ่มประจานคนให้อับอายอยู่หรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจะมีประโยชน์อะไรที่ต้องเผยความเปราะบางของผู้เข้าร่วมการทดลองภายใต้หน้ากากของการบำบัด แต่ในเมื่อต่อมรับรสมันกำลังอ่อนไหว ก็อยากรู้เหมือนกันว่าเราจะไหวไปได้อีกกี่น้ำ

แต่แล้ว เสียงที่ไม่อาจได้ยินจากคนในตู้กลับถูกแทนที่ด้วยคำตอบของเราในระดับปัจเจก ถึงอย่างนั้นเราก็ไม่ใช่คนที่ถูกถามซะทีเดียว เมื่อเรายังเห็นว่าใครในตู้ที่กำลังถูกถาม ขณะเดียวกัน เสียงที่ไม่ได้ยินก็ยิ่งดังและกังวาลอยู่ในหัวด้วยคำตอบของเรา นี่เป็นจุดที่การทดลองในการแสดงเชิงประสบการณ์ได้พาให้เราร่วมเดินทางไปเปิดประสบการณ์พร้อมกัน ในตอนนั้นเอง เราเริ่มไม่แน่ใจว่าเราเป็นอะไรในพื้นที่แห่งนี้

3

ก่อนจะเข้าสู่ช่วงสุดท้าย ที่ผู้ถูกทดลองจะถูกเรียกร้องให้ค่อยๆ ปลดอาวุธแล้วอนุญาตให้สัตว์ออกได้มาตอบคำถาม เราเพิ่งสังเกตถึงความผิดปกติบางอย่างของปฏิกิริยาร่างกายตัวเองที่ตอบสนองต่อประสบการณ์เมื่อครู่ หายใจไม่ทั่วท้อง ความดันต่ำ เสียงที่ไม่รู้ว่าเป็นเสียงหัวใจหรือชีพจรที่เต้นถี่ของตัวเองดังกว่าเสียงแอร์ในห้อง มือที่สั่นพยายามควานหายาดมในกระเป๋า เราไม่รู้ว่าต้องรู้สึกอะไร แต่รับรู้ได้ว่าคนในตู้หมดเรี่ยวแรงที่ไม่รู้ว่าเหนื่อยจากการรับกระสุนหรือเพิ่งรู้สึกกับสิ่งที่ได้ตอบไป  และเดาว่าคงไม่ต่างอะไรมากจากคนนอกตู้

“อะไรคือบาดแผลในชีวิตของคุณคะ”

“ความรัก”, วีรพร นิติประภา

หนึ่งในไม่กี่คำตอบที่เราอ่านปากได้จากรอบของพี่แหม่ม​ (วีรพร นิติประภา) เสียงที่ถูกเหยียบไว้และอาวุธที่ปลดเปลื้องสัตว์ที่มากกว่าหนึ่งผลัดกันออกมาตอบคำถาม เราไม่รู้ว่าตัวไหนเป็นอะไร แต่ละตัวถือกำเนิดจากความเปราะบาง (Vulnerability) ร่วมชีวิตกับผู้หญิงคนหนึ่งตั้งแต่เธอได้เริ่มรู้สึก โอบอุ้มและประคองเธอก้าวข้ามผ่านทุกช่วงเวลาและการเปลี่ยนแปลงในทุกบทบาท ลูกสาว ภรรยา แม่ นักเขียน ฯลฯ ‘ความรัก’ เป็นบาดแผลที่ยืนยันว่าเธอเจ็บ และเธอเจ็บเพราะรู้สึก เราเห็นแม่ลูกทะเลาะกันด้วยความคาดหวัง หนุ่มสาวที่เปี่ยมไปด้วยความหวังว่าอนาคตจะสดใส สามีภรรยาที่ประคับประคองครอบครัวในวันที่ความสัมพันธ์ล้มเหลว แม่ที่ไม่อยากเห็นลูกซ้ำรอยกับความผิดหวัง และเราเห็นแม่ตัวเองอยู่ตรงนั้น สัตว์ของเราก็เช่นกัน รวมถึงของประจักษ์พยานคนอื่น…ที่ออกมาตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้

4

ทันทีที่สัตว์ของคนในตู้ได้ตอบคำถามสุดท้าย ผู้ทดลองให้เวลาสามนาทีในการบรรจงพาสัตว์กลับไปสถิตย์ยังที่ที่มันเคยอยู่ ร่องรอยของการปล่อยสัตว์เมื่อครู่ยังคงทิ้งให้มวลบรรยากาศไม่ลื่นไหล และเราไม่แน่ใจว่าอาวุธที่เราร่วมปลด เราสวมมันคืนหรือยัง

LIFE BETRAYS US !

ประโยคสรุปประสบการณ์การเดินทางในกระบวนการปลดอาวุธของพี่แหม่ม ถูกลงน้ำหนักผ่านปลายปากกาจากอีกฝั่งของตู้แล็ป กระจกใสแผ่นนี้เองที่กั้นเราอยู่ และเคยมอบความรู้สึกที่เรายังปลอดภัยผ่านสถานะการประจักษ์พยาน สถานะของคนนอกโดยสมบูรณ์ที่ได้อภิสิทธิ์มาร่วมชมงานเฉลิมฉลองให้กับเปราะบางของมนุษย์

ผู้ทดลองจางหายไปกับกระจกค่อยๆ ขุ่นลง กระทั่งไม่มีใครสามารถมองเห็นด้านในได้อีกต่อไป เสียงผู้ทดลองที่มักบรรยายสะท้อนความเป็นไปในตู้ก็แทรกขึ้นมาอีกครั้ง

“คุณก้มหน้า…จับโทรศัพท์…เหม่อลอย…สะอื้น…”

เราทันได้สบสายตากับผู้ทดลองแวบหนึ่ง ก่อนสายตาคู่นั้นจะเลื่อนผ่านไปสู่ประจักษ์พยานคนอื่น

5

‘สัตว์ประหลาด’

แว่บแรกที่รู้สึกตัว ว่าได้ยืนหลงอยู่กลางสี่แยกที่ก้ำกึ่งระหว่างการทดลองและการบำบัด มองไม่เห็นแน่ชัดว่าเรายืนอยู่ตรงไหนของพื้นที่นี้ จากหมอกกำกวมที่การแสดงเชิงประสบการณ์ปกคลุมให้สายตาพร่ามัว และเราไม่กล้าเดิน กระทั่งหมอกประหลาดระเหยไปพร้อมกับพี่แหม่มที่เพิ่งหมดสถานะผู้ถูกทดลอง และเรากลับมามองเห็นและระบุตำแหน่งตัวเองได้อีกครั้ง

“ไม่ปลอดภัยเลย”

‘ชีวิตที่หักหลังเราทุกคน’ อาจไม่ได้มีอานุภาพมากพอที่จะเขย่าความปลอดภัยของเรา เมื่อเทียบกับคำถามที่ว่า เสียงของชีวิตที่เคลือบด้วยจอกระจกใส จะถูกฟังอย่างไร ไม่ให้เป็นเพียงมหรสพประจานความเจ็บ?

6

“ประเทศที่คุณอยู่ตอนนี้ เป็นแบบไหนคะ?”

หนึ่งในคำถามที่อาจเป็นสะพานเชื่อมประสบการณ์ความเจ็บปวดของเราเข้ากับคนในตู้ ชวนให้นึกถึงเวลาเราขึ้นแท็กซี่แล้วจะชอบหงุดหงิดเวลาโดนปฏิเสธบ้าง อยากด่าเวลาโดนอ้างว่าส่งรถ โมโหที่เขาบ่นเรื่องเส้นทางที่จะไปส่งก็บ่อย ปลอมตัวเป็นชาวต่างชาติก็มี เราพยายามถ่ายรูปป้ายทะเบียนไปร้องเรียนแล้วไม่เห็นผล ด่าคนขับอย่างไม่เห็นเขาเป็นคน เพราะเรารู้สึกว่าไม่ชอบธรรม เราเป็นลูกค้านะ เงินก็จ่าย ไม่ได้เอาเปรียบ เพราะอย่างนี้ไงถึงเป็นได้แค่คนขับแท็กซี่…ฯลฯ สุดท้ายก็ไม่มีใครเห็นคนเป็นคน เราโกรธแท็กซี่จอมมักง่ายด้วยสายตามุมกด ที่ประเมินความเจ็บปวดด้วยระนาบสายตาของเราเอง และความเจ็บปวดของเราที่จะไม่ได้กลับบ้าน ก็ของจริงมากพอที่จะไม่ใส่ใจว่าจะให้เขาทำมาหากินยังไงในประเทศที่จรรยาบรรณอาชีพไม่ได้รับรองคุณภาพชีวิตแรงงาน ด้วยราคาแท็กซี่เริ่มต้นที่ 35 บาท กับรถติดเป็นชั่วโมง เราร่ำลาพี่คนขับทุกครั้งด้วยการปิดประตูเสียงดัง ชูนิ้วกลางใส่ไล่หลัง หวังว่าพี่เขาจะมองทันก่อนขับออกไป เช่นเดียวกันกับพี่แท็กซี่ที่ก็เหยียบคันเร่งหวังรมควันสาปส่งให้เราสำลักความชัง แต่อย่างน้อยมันก็เป็นความสัมพันธ์ที่เราไม่เคยต้องพยายามวางตัวแบบผู้มีอารยะใส่กัน

สัตว์ประเสริฐมอบความด้านชาให้เราทนทานต่อความเจ็บปวด ยอมรับการฝืนกลืนขม เพียงเพราะหวังว่ามันจะเป็นยาบำรุงกำลัง จะพาเราไปถึงภาพอุดมคติแสนสมบูรณ์ในทุกบทบาทที่เราเป็นได้อย่างเต็มภาคภูมิ และบ่อยครั้งที่ภาพในอุดมคติไม่อนุญาตให้เราได้อ่อนไหว ความรับผิดชอบในทุกบทบาทที่ทับซ้อนกันอยู่ตามทุกซอกอณูชีวิตคอยตอกย้ำให้เราเข้มแข็ง เราจะพลาดไม่ได้ เราเริ่มป้องกันความอ่อนไหวด้วยการซ่อนความอ่อนแอ ปกคลุมร่างกายที่ไม่ได้ดั่งใจ ด้วยอาภรณ์ที่จะสั่งหุบปากไม่ให้สัตว์ในร่างกายตะโกนโทษฟ้าดินว่าเราแค่เกิดผิดมดลูก มดลูกที่ไม่ได้มอบใบหน้าฐานะที่เราอยากได้ มอบแขน คอ ขาที่ไม่ได้เรียวระหงตามแต้มบุญบารมีที่น้อยนิด และบ่อยครั้งที่เราในร่างประหลาดวิ่งสาวโอกาสในชีวิตไม่ทันเท่าใครอื่น เรายอมประดิษฐ์เสริมเติมแต่งเพื่อปกปิดสัดส่วนน่าอับอาย (Shame) วิ่งหนีจากร่างอัปยศไปสู่ร่างประเสริฐสมบูรณ์ ที่เราจะภูมิใจกว่า

เสียงของความเจ็บปวดที่ซุกซ่อนตามร่างกาย ถูกห่อหุ้มด้วยอาวุธที่จะไม่ทำให้เราอับอาย ความเก่งกาจ ภูมิฐาน ดูดี มีมูลค่า มีรสนิยม ที่ทับซ้อนกันกับ    ศีลธรรม จริยธรรม กฏหมาย ที่ผู้มีอารยธรรมจะเคาะคำพิพากษาให้เราได้แค่ดำกับขาว สัตว์มนุษย์อาจอยากเรียกร้องให้ปลดถอดอาวุธที่กัดกินตัวคนใส่ ถอดอาภรณ์แสนฉาบฉวยแล้วประจันหน้าความหวั่นเกรง ให้รอยเว้าแหว่งแตกตำหนิตามร่างกายมีที่ทางของมันได้อย่างที่มันเป็น

เสียงจากปากของพี่แหม่มจะถูกเคลือบใต้จอกระจกใส แม้จะถูกฉายให้เหลือเพียงภาพความเจ็บปวดสองมิติ แต่นั่นไม่อาจกั้นเราจากการได้ยินเสียงชีวิตทั้งหมดของพี่แหม่มที่แน่นอนว่าเราไม่มีทางได้ร่วมใช้ แต่เราได้ร่วมรู้สึก และเราประหลาดใจว่ารอบของพี่แหม่มเป็นเพียงรอบเดียวที่มอบประสบการณ์แบบนี้ให้ เมื่อเทียบกับรอบของพี่กอล์ฟ (อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์) และ พี่ดาว (ดุจดาว วัฒนปกรณ์) ที่มอบประสบการณ์ให้เราได้ยืนมองความเจ็บ ด้วยความสงสาร จากมุมสายตาที่เราไม่อาจเข้าใจความรู้สึกในระนาบเดียวกัน

และนั่นเป็นเรื่องน่าเศร้า หากความเจ็บปวดของใครก็ตาม จะถูกบีบให้สงสารด้วยสายเฝ้ามองจากมุมสูง

7

มหรสพความสงสารที่ถูกฟังจากมุมสูง

เราไม่มีปัญหากับการมองมุมสูงเพื่อให้เห็นภาพรวม นอกจากว่าการใช้สายตานั้นจะย่อมแลกมาด้วยเงื่อนไขที่อาจต้องละเลยมิติความละเอียดอ่อนที่ถูกทับซ้อนกันอยู่ในแนวตั้ง เพราะนั่นเป็นการมองความทุกข์จากยอดพีระมิด ที่ฟาโรห์จะไม่เข้าใจความเหนื่อย ความหนัก ความอันตรายที่ชนชั้นแรงงานจะต้องเสี่ยงชีวิตในแต่ละวัน บางทีก็อาจปรากฏในรูปของนโยบายบัตรคนจน ที่แม้จะยอมรับว่าความยากจนเป็นปัญหา แต่การพิจารณาปัญหาจากมุมสูง ก็ไม่แปลกที่ผู้ออกนโยบายจะมองว่าการแจกเงินคือทางออก ไม่เห็นจุดบอดที่ซ่อนอยู่ในมิติที่แยบคาย และบ่อยครั้งที่การพูดถึงความเจ็บปวดจากมุมกด จะลดทอนมิติความละเอียดอ่อนที่ทับซ้อนและเกี่ยวโยงกับปัจจัยอื่น ให้เหลือเพียงภาพแบนฉายขึ้นจอ (และเราอาจทำได้เพียงสงสารที่พจมานต้องถูกคุณหญิงแม่กลั่นแกล้ง หรือโกรธแทนว่าทำไมพจมานไม่สู้คน ถ้าเป็นฉันคงลุกขึ้นถีบยอดหน้า ฯลฯ)

ซอนแท็กสงสัยว่ามันจะมีทางเลือกต่อความเจ็บปวดของผู้อื่นหรือไม่ สิ่งที่จะให้ประสบการณ์อันแตกต่างไปจากสื่อปัจจุบันที่ดูราวกับว่ามันแค่แปรรูปความเจ็บปวดให้กลายเป็นความตื่นตาและความช็อค

บทความ ‘Regarding the Pain of Others in Susan Sontag and Alfredo Jaar’ โดย โซฟี เบอร์เรบี (Sophie Berrebi)

ข้อเสนอจากซูซาน ซอนแท็กที่มองหาทางเลือกอื่นในการพูดถึงความเจ็บปวดของคนอื่นไม่ให้ถูกลดทอนเหลือเพียงความน่าตื่นตาตื่นใจหรือกระตุ้นให้ตกใจจนต้องมองแบบพาดหัวข่าวได้พาเราไปสู่ข้อสังเกตว่า สัตว์มนุษย์ถูกออกแบบมาให้ทำงานอย่างไรกับประจักษ์พยาน บทบาทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ได้ยินเสียงคำตอบตามจรรยาบรรณการบำบัดที่ต้องรักษาเนื้อหาส่วนตัว ที่ยืนยันสถานะ ‘คนนอก’ ไม่อาจเข้าไปร่วมพัวผันในคู่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถามกับผู้ตอบ และไม่อาจร่วมปลดอาวุธสำหรับการแสดงการทดลองนี้

แต่เรามีสิทธิ์ในการร่วมรู้สึกกับความเจ็บปวดที่ไม่ใช่ของเราได้ขนาดไหน ในเมื่อเราได้รับอนุญาตให้เข้าสู่พื้นที่นี้ด้วยบทบาทที่สามารถเข้าถึงได้มากสุดเพียงการรับรู้ภาพของมนุษย์ในฐานะสารตั้งต้นของการทดลองที่ไม่อาจเข้าถึงเนื้อหาที่เรียงร้อยประสบการณ์

หากเสียงในตู้ที่จมหายไปในสัตว์มนุษย์ได้มอบประสบการณ์ให้เราอร่อยกับรสจืดของอาหาร สารที่อยู่ในตู้ทดลองจะคายความอร่อยแบบออร์แกนิคได้นั่นเพราะมันผูกโยงรสชาติที่พิเศษที่ไม่ได้มาจากการประดิษฐ์ปรุงชูรสแต่ผ่านกระบวนการปลูก บำรุง รดน้ำ รับแดด รักษาอุณหภูมิ นี่คือเนื้อหาที่มอบความอร่อยให้กับสารที่ไม่ใช่แค่ตั้งต้นโดยไม่ต้องปรุงจัดจ้านผ่านเสียง ในทางกลับกัน รสจืดของสารจะถูกรับรสอย่างไร เมื่อปราศจากเนื้อหาที่ทำให้ความจืดออร์แกนิคอร่อย เพราะเนื้อหาคือข้อมูลของชีวิตเป็นประสบการณ์ที่ไหลผ่านแม่น้ำกี่สายไม่รู้ ก่อนจะมาบรรจบกันในพื้นที่ของปัจจุบันขณะ การเฝ้ามองภาพมนุษย์คนหนึ่งเพียงในฐานะสารตั้งต้นที่ไม่อาจเข้าถึงห้วงตะกอน ขอนเขื่อน ตามแหล่งน้ำในแต่ละจุด จึงไม่อาจทำให้เราแสวงความอร่อยในรสจืดได้ตั้งแต่ต้น

บทบาทของประจักษ์พยานจึงมอบการเฝ้ามองความเจ็บปวดอย่างเป็นสารตั้งต้นที่ปราศจากเนื้อหา และอาจเป็นเหตุให้การชมความงามในสภาวะที่มนุษย์สั่นสะเทือนด้วยความไม่ปลอดภัย ไม่อาจถอยห่างตัวเองออกมาจาก มหรสพประจานความเจ็บ การเปิดผัสสะเพื่อร่วมเปิดประสบการณ์ต่างหาก ที่พาเราเคลื่อนโคจรการรับรู้ไปทำความเข้าใจเนื้อหาของความเจ็บปวดคนอื่นในระนาบที่ใกล้เคียง ได้เฝ้าฟังเสียงของชีวิตที่อาจถูกเคลือบการรับรู้ภายใต้จอกระจก และเราอาจได้เข้าถึงความงามของความเจ็บผ่านความเห็นอกเห็นใจเข้าใจในความรู้สึก (Empathy) ที่เอื้อมไปแตะแม่น้ำทุกสายที่อยู่หลังจอ

แต่เพื่อเข้าถึงความเห็นใจที่เราต้องเดินยอมออกมาจากบทบาทประจักษ์พยานเพื่อไปร่วมเปิดประสบการณ์ และอาจพาเราไปอยู่ในจุดเสี่ยงที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของศิลปินตั้งแต่ต้น ชวนให้เราสงสัยว่าการปลดอาวุธทำงาน อย่างไรกับบทบาทประจักษ์พยานกันแน่? เพราะเรารู้สึกว่าประจักษ์พยานก็ถูกทดลองเมื่อพิจารณาจากตอนท้ายของกระบวนการที่ถูกร่วม Reflect

เราจึงควรร่วมพิจารณากันในประเด็นความยินยอม ด้วยเงื่อนไขนี้ไม่ปรากฏมาตั้งแต่ต้น และประจักษ์พยานสมควรต้องได้รับความชัดเจน ว่าการร่วมเปิดประสบการณ์อยู่ในความรับผิดชอบของศิลปิน หรือผู้ชม เพื่อไม่ให้ประจักษ์พยานถูกผลักไปอยู่ในจุดเสี่ยงที่อยู่นอกเหนือพื้นที่การเฝ้าระวัง

นี่คืออีกเสียงที่อาจถูกมองข้าม จมหายไปในพื้นที่ที่การทดลอง การบำบัด และการแสดง ก้ำกึ่งกันอยู่ ถึงอย่างนั้นมันก็สำคัญที่เราต้องร่วมถกเถียง เพราะเจตนาดีไม่สมควรถูกเข้าใจผิดว่ามาดร้ายเพียงเพราะท้าทายความรู้สึก และก็ไม่อาจเป็นความชอบธรรมของความรุนแรงด้วยเช่นกัน ความกำกวมก็คงไม่เป็นปัญหาในแง่ของศิลปะร่วมสมัย และประสบการณ์ไม่น่าพิสมัยก็ไม่มีวันเป็นตัวชี้วัดคุณค่าในงานศิลปะเชิงทดลอง การแสดงเชิงประสบการณ์จะยังคงสามารถทำหน้าที่ของมันในแบบที่มันเป็นได้ ตราบเท่าที่เราร่วมกันตั้งข้อสังเกตเพื่อให้สิ่งที่อยากพูดได้ดังออกมาโดยยังเคารพและให้เกียรติมนุษย์กันเอง เช่นเดียวกันกับที่ สัตว์มนุษย์ อยากเสนอให้มนุษย์ยอมรับความเปราะบาง เพื่อโอบรับด้วยความเห็นใจ จุดเริ่มต้นที่มนุษย์จะไม่เหยียดหยามกันเอง

Noble Animal

Feigned Animal

Monstrous Animal

HUMANIMAL

1

Noble Animal (S̄ạtw̒ pras̄eriṭ̄h)

Humanimal1Performed at Bangkok’s 100 Tonson Gallery in 2019 as a part of Prateep Suthathongthai’s (ประธีป สุธาทองไท) Contemporary Art Exhibition: A Little Rich Country. Humanimal (สัตว์มนุษย์), is based on the novel of the same name, written by Likit Vadhanapakorn, Dujdao’s grandfather. This book depicts the violence of human nature against the backdrop of the early development of Capitalism in the rural areas of Thailand. is a performance by Dujdao Vadhanapakorn (a dance and movement psychotherapist) devised into an interview-based experiment with 16 guest artists who individually performed as experiment subjects in the laboratory. The experiment required the subject to disarm and uncage their so-called ‘animal’ within.

21-03-2019 Ornanong Thaisriwong2Ornanong Thaisriwong (อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์), a theatre artist and one of the B-Floor Theatre Group members. Her renowned performances include Bang La Merd (บางละเมิด), 2015 and Sawan Arcade (สวรรค์อาเขต), 2018.
31-03-2019 Veeraporn Nitiprapha3Veeraporn Nitiprapha (วีรพร นิติประภา), a double S.E.A Write award-winning novelist from Blind Earthworms in a Labyrinth (ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต), 2015 and The Dusk of Buddhist Era and Memory of Black Rose Cat (พุทธศักราชอัสดงกับทรงจําของทรงจําของแมวกุหลาบดํา), 2018.
20-04-2019 Dujdao Vadhanapakorn 4Dujdao Vadhanapakorn (ดุจดาว วัฒนปกรณ์), a dance and movement psychotherapist, one of the B-Floor Theatre Group members, and the director of Humanimal herself. Her previous performances include Secret Keeper, 2015 and Blissfully Blind, 2017. There were two of all the sessions in Humanimal that Dujao performed as the experiment’s subject and invited an art therapist, Prachayaporn Vorananta (ปรัชญพร วรนันท์) to perform the role of experimenter.

Photo by Paopoom Chiwarak

I set my foot into an ambiguous terrain where the boundary between experimentation and performance evaporated.                        A transparent laboratory was located on the inside of the room, between two main aisles of seats aligned against both sides of the wall. A videography unit was stationed near the entrance where the director performed another role as the experimenter. A few lab assistants in white cloaks were on standby for sound and light check. An empty space remained in the middle, anticipating some kind of event that would reconfigure the relations between every single person present. And I, as well as other audiences, entered this particular space as one of the experiment’s witnesses.

The whole experiment was structured around a set of questions, a quintessential psychotherapeutic method used throughout the duration of this experiment-cum-performance art. But in terms of the human experiments, I wondered whether this ambiguous scenario could possibly have any risks?

Suddenly, I felt dislocated, as if standing in the middle of an intersection without any traffic lights. Every single person in the room performed overlapping roles; the experimenter was about to therapize her subject (or patient?). Perhaps such a precursory scene to the performance is not so problematic, as long as this very unusual power dynamic is suspended within this liminal space, as long as I keep assuming the role of the witness who happened to find himself standing amid this dysfunctional intersection.

Then the performance began when the experimenter started throwing questions to the subject. Unfortunately, I could not memorize them all accurately, but I still recall the main set and order of instructions given to the subject:

“Answer with the most sincerity”
“Answer the total opposite of what you feel. If it’s ‘yes’, answer ‘no’. If it’s ‘left’, answer ‘right'”.
“Answer with the most exaggerated version of the story”.
“Answer with the fastest speed and the most honesty. If you blink, it means pass and you have to move on to the next question”.
“Slowly disarm and allow the animal within you answer the question”.

According to the ethics of psychotherapy whereby the exchange between the therapist and her subject is confidential, my role as a witness thus prevented me from hearing the subject’s answers. I could only see but hear nothing on the other side of that glass wall. Meanwhile, I was only let in on what could have been the subject’s answers by way of the experimenter, who summarized their gestures out loud and directed the camera that live recorded the subjects physical reaction as projected onto the screen.

Despite being given these substitutes for the subject’s audible reply, part of my sensorial perception was deprived just as how the voice of the subject was dismembered. It was like watching a muted TV show and trying to understand what the speaker was saying. I focused all my attention to reading the subject’s lips as it moved in response to each question. At times it was decipherable, other times not. A few moments later, I could feel my eyes getting drained from shifting its focus back and forth from the lab to the screen. The live video also revealed how the subject’s body was also put on interrogation, and so I started to acknowledge and learn to listen to these other kinds of voices, an instinctive bodily vocabulary speaking in tandem with the louder-speaking mouth.

“You are crossing your arms…”
“Now you’re changing your sitting position and crossing your legs…”
“You just sighed…”

The conversation between the experimenter and her subject gave rise to another dialogue between me and the soundless space. My senses were getting activated, like the tongue appreciating the organic taste of food which did not seem to need any spices or flavour enhancer to make it taste better or more spectacular.

I was impressed by how physical reactions could speak volumes in spite of the disappearance of sound. But perhaps it is not right to say so, because this silent organism never hides or lies, but always exists and awaits to be acknowledged by the sensitivity of mind…

“Can you tell me what it was like when you were 17?”

Only by being sensitive to these non-artificial, organic tastes that I was disclosed with one human being’s experiences; the feelings and memories buried within became discernible through the body like the visible tip of the iceberg. Basic emotions were laid bare: happiness, sadness, loneliness, disappointment, despair, love, jealousy and anger superimposed by the conducts of morality and sociopolitical norms. That was the first time I lent my ears to the many languages spoken within the muted terrain.

2

FEIGNED ANIMAL5Feigned Animal or S̄ạtw̒ pradis̄ʹṭ̄h̒ (สัตว์ประดิษฐ์), a term used in Humanimal referring to the idea of cultivating and refining oneself for the sake of appearing civilised and noble. The act of feigning not only insinuates the level of pretentiousness involved in the process, but also the underlying desire to become perfectly clean, noble and civilised and the unwillingness to accept and confront the complexity of human nature.
(S̄ạtw̒ pradis̄ʹṭ̄h̒)

After the session where the subjects were required to give the most exaggerated version of their answers, they were finally allowed to be at ease. They could eat, drink, touch their comfort object (teddy bear, bubble wrap, etc.) as they pleased.

“Have you ever cheated on your partner?”

Above was one of the questions from the rapid fire session where the subject was obliged to answer with utmost sincerity. It was like receiving a chain of bullets. The mouth had to speak before the mind and, before they knew it, the next question was already shot. The subject never had a chance to contemplate or prepare their answers; there was no time to regret the words that might have slipped away in the blink of an eye.

“Have you ever hated anyone so much that you wish them dead?”

Observing this process wouldn’t have bothered me if it had taken place in a strictly therapeutic space. That was obviously not the case here. The organic taste I had appreciated earlier now turned bitter, and I began to wonder if I was accidentally watching a reality TV show that treated people’s personal humiliations as entertainment. I wish I could just grab the remote control and change the channel. What could possibly be generative in extorting someone’s vulnerability for display, especially when this excruciating process was legitimised under the guise of therapy? Still, I wanted to push my limits to challenge how far I could stand this.

Then again, the subject’s inaudible answers were substituted with the answers I had projected for them. Although it obviously was not my role to directly respond, so long as the person behind the glass wall was visible, I couldn’t help hearing my own answers ringing in my head. That was the point where the experience of the subject and I were bound to each other and, at that point, I was no longer sure what exactly my ‘role’ was.

3

Prior to the last session, the subject was required to gradually uncage their inner ‘animal’ into the space sedimented with the energy from the previous sessions. I noticed the unusual changes occurring in my body: shortness of breath, low blood pressure, and the difficulty of identifying whether the sound of my heart beating was louder than the humming of the air conditioner or not. While my shaking hand searched for my inhaler, I could also sense exhaustion from the other witnesses in the space, either from receiving the bullets shot in the rapid fire round or from the answers they elicited. Perhaps, most of us were no different from the subject behind the glass wall.

“What is the wound in your life?”
“Love”, said Veeraporn Nitiprapha

One of the answers I could clearly read from her mouth. The fragile animal was uncaged, a creature with many faces, born out of the condition of vulnerability that has been part of one woman’s life ever since she could initially feel. The animal held and carried her through every transitional phase of life: from being a daughter, a wife, to a writer, etc. ‘Love’ is the wound that marked her pain; it confirmed to her that what she felt was real. In her answer, I saw the pain that kept accumulating with each relationship one had formed in life: through a parent and child’s argument over expectations; a young lovers’ hope for a brighter future; a husband and wife’s attempt to maintain the perfect family while their relationship was crumbling; a mother’s desire to never let her child walk the same path of disappointment she previously took. And I saw my own mother there, my animal, including the animals of other witnesses that broke out of the shaky contours of their witnessing bodies.

4

Once the disarming session was finished, the experimenter gave her subject a few minutes to cool down, to mindfully return that fragile animal back to where it dwelled. The phenomenon left its heavy residue in the air, and I still wondered whether I had left any of the shields or weapons I had previously disarmed behind.

LIFE BETRAYS US !

Veeraporn’s journey concluded at the tip of her pen which inscribed all her weight and more onto the lab’s transparent wall. The wall that separated the subject and the witness, thus provided a sense of security to the detached observer endowed with privilege to witness the celebration of human vulnerability.

Veeraporn gradually faded out of the lab until she was no longer seen through the glass wall. Suddenly, the voice of the experimenter started reflecting once again:

“You look down… touch your phone… absent-minded… sobbing”.

I glanced at the subject and made eye contact with her, before her gaze slipped away from mine and onto other witnesses.

5

MONSTROUS ANIMAL6Monstrous Animal or S̄ạtw̒ prah̄lād (สัตว์ประหลาด), a general term used in Humanimal to depict the frightening or ugly appearance of the antithetical being to the Noble Animal. In the eyes of those who desire to become noble, the Monstrous Animal is associated with the unknown, abnormal and the ‘Other’ who are defined by their inability to control their savage and violent instincts. This term also appears as the title of Tropical Malady (สัตว์ประหลาด) by Apichatpong Weerasethakul, a Jury Prize awarded film from Official Selection in The 57th Cannes Film Festival in 2004.
(S̄ạtw̒ prah̄lād)

I initially felt betrayed; I felt even more disoriented in this crossroad between experiment and therapy, unable to see through the fog that this performance had generated. It clouded my perception to the point where I didn’t dare to move. It was not until Veeraporn finished her role as the experimental subject that the fog evaporated, and I finally found a way to locate myself once again.

“So insecure”.

‘LIFE BETRAYS US !’ might not be the question to unsettle our sense of comfort and security as much as the following: How could the voice of the muted be heard but not spectacularised?

6

“What kind of country are you living in?”

Above was one of the questions that bridged my personal experience to the subject. It reminded me of the unpleasant situation I often had with taxi drivers. There were times that I wanted to curse the driver to hell when my ride got rejected and when their excuse was they had to return the rental car to the station. There were plenty of times I was enraged about the route the driver had chosen to take. Sometimes, I had to pretend to be a foreigner so that they would accept me as a passenger. I even tried to take a picture of their license plates to file a report, but many taxi-behaviour reports seem to be unsolved. It felt so unfair and unjust. Never have I begged for a free ride and I always pay for the service, so why is it so hard to get a fair treatment? I always curse at them in my mind, ‘This is exactly why you will rot driving a taxi for the rest of your life’.

So, in the end, we don’t always treat each other like human beings. My rage elevates me so I could look down at those taxi drivers and project my own pain of mere inconvenience onto them. I felt that my pain was real enough for me to ignore the fact that this living hell of a career might have been taken not out of choice but of necessity, in this country where the taxi metre starts at 35 baht and where the traffic jams are excruciating. Still, I furiously slammed the taxi door and paid my due respect to the taxi drivers with my middle finger, hoping that they would catch a subtle glimpse of it before the car smoke-farts me with ‘you’re welcome, sir’. Well, at least this was one of those non-pretentious moments of human relations in which we are freed from the protocols of behaving like noble animals.

Being noble prescribes us with painkillers so that we can swallow the bitterness of life and hope that one day we would be immune to pain. It would take us to an ideal state of nobility in every aspect of our lives. Sometimes, that ideal state of being noble doesn’t allow us to be sensitive and vulnerable, since it also comes with the pounding responsibility to be perfect and unwavering while performing the many roles in life we are assigned to. We cannot fail, so we anesthesise ourselves by hiding our flaws, by shrouding the bodies that we’re not satisfied with, instead of letting that animal inside us curse the skies aloud for damning us to be born from the wrong womb; the womb that neither gave us the face nor the social status we wish we had; the womb that shortened our legs and arms, and deprived us of the opportunities we think we deserve. We hate this ignoble body so much because it makes us a loser-monster. How could we run faster or jump higher with this ignoble and cumbersome body? Covering it up, cutting it off, decorating it and modifying it would be much preferable. We hide this monstrous body that exposes what we are ashamed of: our vulnerable selves. So we flee towards the noble body we think we deserve.

After getting armoured up, that pain manifests its grief through the body even though we keep them silent by looking smart, educated, stylish and tasteful. Grief won’t stop grieving underneath that unwieldy armour, an armour that also carries the weight of morality, ethics, the law and prejudices enacted by those who claim themselves to be ‘civilised’, by those with the power to delineate our existence as either good or evil, black or white. . . Humanimal simply want us to remove that armour corroding into our skin and confront the flaws that mark our shame, waiting to be embraced.

Even though the sound of Veeraporn’s grief was sealed behind that glass wall and could only be projected as a two-dimensional picture of pain, it did not stop me from hearing, sharing and experiencing her bitterness. Of course, that bitterness was not my own. But I could feel it. I was even more amazed by how the other subjects gave me totally different experiences of the performance (Ornanong and Dujdao herself), where I felt that I could only witness their pain from a detached perspective. I regarded their pain with sympathy but I was unable to empathise at all…

Which can be unfortunate when someone’s life can only be regarded vertically from a bird’s eye view.

7

The Theatre of Vertical Empathy

Adopting a vertical (Bird’s) eye view so as to see the overall picture would not be problematic unless it blinds us from discerning the intricate layers of experiences on the horizontal plane. It rather resembles the point of view from the top of the pyramid where the pharaoh could never encounter the same struggles nor could he understand the suffering of the laborers who risked their lives constructing the security for those elites up above. Sometimes this vertical perspective manifests in the form of a State Welfare Card7State Welfare Card (บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ), a policy run by the current military government spearheaded by Prayut Chan-o-cha. in Thailand, confirming that such a perspective was adopted by policy makers who viewed poverty as a problem that can be simply resolved by distributing more money. This demonstrates how infrastructural issues would persist as long as the complexity within the horizontal dimension remains flattened. Oftentimes the struggles and pains of others are viewed from above and rendered into mere spectacle as projected onto some form of screen. As a result, a typical Thai TV melodrama character such Pojjaman8Pojjaman Sawangwong (พจมาน สว่างวงศ์), a famous character from a 1950 Thai novel and later adapted into many versions of TV melodrama Baan Sai Thong (บ้านทรายทอง), originally written by Ko Surangkhanang (ก.สุรางคนางค์ or กัณหา เคียงศิริ). who is abused by another can only be sympathised while the audience can only get angry and annoyed at her for not standing her ground.

Sontag wonders if there could be an alternative to regard the pain of others, which would offer a different experience than the current media that seem to merely transform pain into spectacle and shock.

‘Regarding the Pain of Others, Susan Sontag and Alfredo Jaar’ by Sophie Berrebi

Susan Sontag’s observation brought me to notice how Humanimal deemed the role of the audience as witness to the experiment. The audience was given the specific status of an observer who, according to the ethics of confidentiality between the therapist and her patient, is not allowed to participate in the process of disarming.

But how much are we allowed to share feelings and experiences that are not our own? How much can an image—the tip of the iceberg—reveal the fleshly and full-bodied life experiences that lie underneath? I was wondering if this method could potentially encourage the audience to see the subject beyond the initial substance without knowing about their contexts. Hopefully, that’s not the farthest we can go with the role of the witness.

We might have appreciated the organic taste because it was heightened by the soundless response behind the glass wall. Yet, the organic taste is capable of retaining its deliciousness, not because of any artificial flavour enhancer, but because it was drawn from the experiences that nourished one human being (seeding, planting, photosynthesis, watering, maintaining the temperature, etc.). These are the ingredients that provide the organic taste without any other fancy spices, hence the organic body can articulate itself without any audible means of storytelling.

On the other hand, I wonder how we can appreciate this organic taste of one’s life without being given any information about the context of their experiences? Experiences flow across numerous rivers before they all end up in the ocean of now. Simply regarding an image that was taken out of the continuous reel of one human being’s life is like glancing at a book cover without going through the texts. In that case, would the plain taste still remain tasty?

If this performance allowed us to witness pain, but only as dismembered from the larger body of experiences, only for the purpose of aestheticising human vulnerability, then I’m afraid that Humanimal might not surpass the limits of spectacular pain. Isn’t it the sharing of sensorial experiences that could potentially allow us to feel the horizontal pain of others? To hear and to see the same currents, on the same eye’s level and, therefore, to empathise with one another?

To empathise, I wonder whether we have to step out of our role as witnesses in order to have mutual experiences. And we might feel as if we are put in a risky position, because the process of disarming can potentially occur beyond those whom the artist/experimenter claimed to be responsible for in the beginning. I was curious about how disarming actually works with the witness, since I felt like I was also being experimented on, especially in the end where the experimenter made us all reflect on the experience.

At this point, what needs to be discussed is the audience’s consensual participation. It should have been made clear in the first place whether it was the artist’s or the audience’s responsibility to be aware of the potential risks of participation.

This was probably another muted voice in the liminal space where the experimental and therapeutic process intersects in performance. Good intentions should not be mistaken as  an excuse to inflict innocent violence. Ambiguity is never a problem in Contemporary Art and disturbing experiences should never be used to measure the quality or value of any experimental forms. Still, this experiment-performance would still be able to function the way it does as long as we can articulate the blindspots to collectively question and discuss them further with respect to each other’s humanity. Just like how HUMANIMAL wants humans to embrace their imperfections and vulnerability to empathise with each other.

เผ่าภูมิ ชีวารักษ์ |
Paopoom Chiwarak

ก่อนสำเร็จการศึกษาทางด้านภาพยนตร์ในปี 2019 จากมหาลัยนายทุนใกล้มิตรทาวน์ที่ไม่ค่อยเป็นมิตรกับชุมชน เผ่าภูมิเคยสนใจการเต้นอย่างเป็นแค่มหรสพ ภายหลังสนใจร่างกายและอิริยาบถในฐานะที่เป็นผลผลิตและภาพแสดงของโครงสร้างที่ใหญ่กว่า หรือในฐานะร่างประจักษ์ที่ภาษาคว้านไม่ถึงห้วงประจุภายใน เผ่าภูมิง่วนสำรวจและศึกษาเพิ่มเติมอย่างจริงจังผ่านการทำงานในสังเวียนนาฏกรรม แต่ไม่เชี่ยวชาญ และไม่ได้สนใจจะชำนาญ ความกำกวมนี้มักทำให้ยืนอยู่นอกแวดวง แต่ก็ขยายสนามการทำงานไปทับซ้อนกันในระหว่างภาพเคลื่อนไหวและร่างกายเคลื่อนที่อยู่เนือง ๆ หลังประสบวิกฤตระบุตัวตนมาโดยตลอด จากข้อสงสัยว่าทำไมศิลปะจึงยังจำเป็น ปัจจุบันสนใจมองหาคำตอบในสนามอื่น แต่จะทำเมื่อมีให้ทำ หลังประเมินให้แน่ใจจนรู้สึกว่าต้องทำ และหากต้องอธิบายว่าประกอบอาชีพอะไร เผ่าภูมิจะบอกไปก่อนว่าว่างงาน

Paopoom used to be interested in dancing just as an entertainment until he graduated in film from an unfriendly, capitalist university near Mitrtown in 2019. Later he showed interest in bodies and postures as the product and the visualisation of a bigger structure, or as an apparent figure which no language could dig into. Paopoom studies and explores this topic more deeply by working in the dramatic field, though he is neither an expert nor interested in being one. This ambiguity usually pushes him outside of the circle but also expands his field of work to overlap animation and moving bodies. After he was faced with a constant self-identity crisis, his search for the answer of why art is still necessary moved on to other fields, which he would try to look for the answers only when it is available to do and when he feels that he needs to do. If asked about his job, he’d rather say he’s unemployed.

ก่อนสำเร็จการศึกษาทางด้านภาพยนตร์ในปี 2019 จากมหาลัยนายทุนใกล้มิตรทาวน์ที่ไม่ค่อยเป็นมิตรกับชุมชน เผ่าภูมิเคยสนใจการเต้นอย่างเป็นแค่มหรสพ ภายหลังสนใจร่างกายและอิริยาบถในฐานะที่เป็นผลผลิตและภาพแสดงของโครงสร้างที่ใหญ่กว่า หรือในฐานะร่างประจักษ์ที่ภาษาคว้านไม่ถึงห้วงประจุภายใน เผ่าภูมิง่วนสำรวจและศึกษาเพิ่มเติมอย่างจริงจังผ่านการทำงานในสังเวียนนาฏกรรม แต่ไม่เชี่ยวชาญ และไม่ได้สนใจจะชำนาญ ความกำกวมนี้มักทำให้ยืนอยู่นอกแวดวง แต่ก็ขยายสนามการทำงานไปทับซ้อนกันในระหว่างภาพเคลื่อนไหวและร่างกายเคลื่อนที่อยู่เนือง ๆ หลังประสบวิกฤตระบุตัวตนมาโดยตลอด จากข้อสงสัยว่าทำไมศิลปะจึงยังจำเป็น ปัจจุบันสนใจมองหาคำตอบในสนามอื่น แต่จะทำเมื่อมีให้ทำ หลังประเมินให้แน่ใจจนรู้สึกว่าต้องทำ และหากต้องอธิบายว่าประกอบอาชีพอะไร เผ่าภูมิจะบอกไปก่อนว่าว่างงาน

Paopoom used to be interested in dancing just as an entertainment until he graduated in film from an unfriendly, capitalist university near Mitrtown in 2019. Later he showed interest in bodies and postures as the product and the visualisation of a bigger structure, or as an apparent figure which no language could dig into. Paopoom studies and explores this topic more deeply by working in the dramatic field, though he is neither an expert nor interested in being one. This ambiguity usually pushes him outside of the circle but also expands his field of work to overlap animation and moving bodies. After he was faced with a constant self-identity crisis, his search for the answer of why art is still necessary moved on to other fields, which he would try to look for the answers only when it is available to do and when he feels that he needs to do. If asked about his job, he’d rather say he’s unemployed.